Browsing โครงการวิจัย by Submit Date
Now showing items 41-60 of 89
-
ประเมินผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไมซ์ไทยจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
การวิเคราะห์ผลกระทบของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ต่ออุตสาหกรรมไมซ์มีความสำคัญเนื่องจากความตกลง AEC เป็นความตกลงที่มีเงื่อนไขของการเปิดเสรีที่กว้างขวางกว่าความตกลงเปิดเสรีทางการค้า กล่าวคือ มีเนื้อหาสาระครอบคลุมไม่เพียงแต่การเปิดให้สินค้าสามารถเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนได้โดยมีอุปสรรคน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย แต่เปิดให้มีการค้าบริการได้อย่างเสรีมากขึ้น มีการเคลื่อนย้ายของเงินทุนระหว่างประเทศสะดวกขึ้น และเปิดเสรีทางด้านการลงทุนมากขึ้นด้วย ประกอบกับการที่อุตสาหกรรมไมซ์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจากเดิมที่เคยเป ... -
ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น Integrity and Transparency Assessment ( ITA ) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ จังหวัดร้อยเอ็ด
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
โครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด (Integrity Transparency Assessment) ประจำปีงบประมาณ 2558 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป 2) เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง/พัฒนาคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของ ... -
ประเมินผลการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลนำร่องในปีงบประมาณ 2557
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
การวิจัยเรื่องการประเมินผลการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลนำร่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อประเมินคุณภาพของการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรม ชุมชนตำบลนำร่องที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2557 จำนวน 312 ศูนย์ ในจังหวดนำร่องทั้งหมด 18 จังหวัด โดยดำเนินการศึกษาปัญหาและข้อจำกัดของกระบวนการจัดตั้งศูนย์ฯ และนำผลการประเมินดังกล่าวมาจัดทำเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการขยายผลการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศต่อไป ตามแผนการดาเนินงาน วิธีการที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้บร ... -
การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) และการจัดทำคู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม รวมทั้งรายการตรวจสอบ (Checklist) ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการโรงแรม
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
หลักการตรวจสอบและประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence-HRDD) ได้รับการระบุไว้ในหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) หลักการชี้แนะเป็นกรอบสำหรับรัฐ เพื่อควบคุมให้ภาคเอกชนเคารพสิทธิมนุษยชนด้วยการจัดทำ ‘พิมพ์เขียว’ สำหรับบริษัทต่างๆ เพื่อเป็นมาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเสนอแนวทางในการจัดการความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจ และประชาสังคมเช่นเดียวกับจากรัฐต่างๆ โดยมีหลักการวางอยู่บนหลัก 3 ประการ คือ 1) การคุ้มครอ ... -
การวิเคราะห์โครงสร้างสารอินทรีย์ด้วยเทคนิคสเปกโตรสโกปี/สเปกโตรเมตตรี
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
การตรวจสอบโครงสร้างของสารอินทรีย์ทำให้งานวิจัยทางด้านเคมีสามารถพัฒนาไปได้อย่างก้าวกระโดด สเปคโตรสโคปีเป็นเครื่องมือที่สาคัญและมีประโยชน์การวิเคราะห์ตั้งแต่ระดับอะตอม โมเลกุล รวมถึงหมู่ฟังก์ชันในโมเลกุลได้ เทคนิค High performance liquid chromatography-mass spectrometry (HPLC-MS) เป็นหนึ่งในเทคนิคที่ถูกใช้มากเพื่อการตรวจสอบโครงสร้างสารอินทรีย์ เนื่องจากเทคนิคดังกล่าวช่วยให้สามารถตรวจสอบมวลโมเลกุลของสารตัวอย่างได้ จุดประสงค์หลักของโครงการนี้คือการวิเคราะห์โครงสร้างสารอินทรีย์ด้วยเทคนิค HPLC-MS จำนวน 40 ตัวอย่าง -
เสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คุณค่าอาหารของไทย (Thailand Food Forward) ปี 2557 กิจกรรม สำรวจและประเมินผลการดำเนินงานของร้านอาหารไทย (กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)
กิจกรรมสำรวจและประเมินผลการดำเนินงานของร้านอาหารไทย ภายใต้โครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คุณค่าอาหารของไทย (Thailand Food Forward) โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันอาหาร และสถาบันวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารไทยในประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย เพื่อผลักดันการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ทั้งนี้ขอบเขตของการศึกษาครอบคลุมเฉพาะประเทศสวีเดนและเดนมาร์ก ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพต่อการส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารไทยให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยคณะวิจัยได ... -
การประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียกองทุนกีฬามวย
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
การประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียกองทุนกีฬามวยนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลในวันที่ 1-30 กันยายน 2559 จากผู้มีส่วนได้เสีย อันประกอบไปด้วยนักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน ผู้จัดการนักมวย หัวหน้าค่ายมวย นายสนามมวย ผู้จัดรายการแข่งขันมวย อดีตบุคคลในวงการมวย และผู้ร่วมชมร่วมเชียร์กีฬามวย จำนวน 537 คน ผลการสำรวจ พบว่า ผู้มีส่วนได้เสียมีความพึงพอใจต่อภาพรวมของกองทุนกีฬามวยในระดับมาก (3.92) และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ผู้มีส่วนได้เสียก็มีความพึงพอใจต่อกองทุนกีฬามวยในระดับมากทุกด้านด้วย เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1. ด้านการมีส่วนร่วมชมร่วมเชียร์ของผู้ชม (4.09) ... -
กิจกรรม ติดตามและประเมินผลโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ประจำปีงบประมาณ 2559
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล (Enhancing Thai Halal Food) ประจำปีงบประมาณ 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตสินค้าอาหารฮาลาลให้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสอดคล้องตามหลักการศาสนา และสนับสนุนด้านการตลาดโดยการให้เครื่องหมายรับรอง ฮาลาล โดยให้เครื่องหมายรัลนองเป็นที่ยอมรับและเพิ่มความน่าเชื่อถือในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฮาลาลสำหรับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้โครงการฯ แบ่งกิจกรรมออกเป็นกิจกรรมย่อยภายใต้การดำเนินโครงการทั้งสิ้น 11 กิจกรรม (ไม่รวมกิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ) โดยรายงานฉบับนี้เป็นผลการ ... -
กิจกรรมสำรวจและประเมินการดำเนินงานของร้านอาหารไทย งานวิจัยเรื่องการศึกษาคุณค่าตราสินค้า (Brand equity) ร้านอาหารไทยในญี่ปุ่น และการวัดความภักดี ในตราสินค้า (Brand loyalty) ต่อการใช้บริการร้านอาหารไทยแบบบริการเต็มรูปแบบ ภายใต้โครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คุณค่าอาหารของไทย (Thailand Food Forward)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
โครงการการศึกษาคุณค่าตราสินค้า ร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นและการวัดความภักดีในตราสินค้าต่อการใช้บริการร้านอาหารไทยแบบบริการเต็มรูปแบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดคุณค่าตราสินค้าร้านอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่นศึกษาการรับรู้ทัศนคติ และปัจจัยส่วนบุคลของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นที่มีผลต่อการใช้บริการร้านอาหารไทย และเสนอแนะกลยุทธ์การส่งเสริมร้านอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงแนวทางการปรับปรุงการให้บริการของร้านอาหารไทย โดยมีขอบเขตงานวิจัย คือ พื้นที่เมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด โดยมีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากการเก็บแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพ จากการศึกษา พบว่า ประเทศญี่ปุ่นมี ... -
ติดตามประเมินผลโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำปีงบประมาณ 2560
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อประเมินผลโครงการเด็กแรกเกิดใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) พัฒนาการสมวัยตามเกณฑ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย 2) ความสอดคล้องของการตรวจสอบความถูกต้องของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับเงินอุดหนุนกับคุณสมบัติที่กำหนด และ 3) เพื่อประเมินผลกระทบจากการจ่ายเงินผ่านระบบ e-payment ระเบียบวิธีการศึกษา เป็นการศึกษาผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ศึกษารวมทั้งสิ้น 19,362 คน การเก็บข้อมูล 4 ภาค 66 จังหวัด ผลการประเมินพบว่า กลุ่มตัวอย่างเข้าใจว่าวัตถุประสงค์โครงการฯ เพื่อช่วยเหลือครอบครัวยากจน และสร้างสวัสดิการพื้นฐานเด็ก ... -
ประเมินและติดตามผลการดำเนินงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ปีพ.ศ.2560 (พื้นที่ภาคใต้)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ จำนวน 8 ชุมชน ใน 4 จังหวัดของภาคใต้ ได้แก่ 1) ชุมชนลีเล็ด จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ชุมชนคลองยัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) ชุมชนทับคริสต์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี4) ชุมชนทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 5) ชุมชนบ้านควน จังหวัดยะลา 6) ชุมชนปิยะมิตร 3 จังหวัดยะลา 7) ชุมชนท่าด่าน จังหวัดปัตตานี และ 8) ชุมชนปะกาฮารัง จังหวัดปัตตานี โดยทำงานร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ -
เก็บแบบสอบถามจากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ได้ทำการพิจารณาคัดเลือกโครงการฐานข้อมูลวัฎจักรชีวิตและการประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นโครงการจัดทำ “ฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Inventory Database; LCI Database) ของวัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศไทย” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมไทยตลอดห่วงโซ่การผลิต ให้เป็นโครงการสำหรับนำร่อง ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข เบื้องต้นของ สวทช. ทั้งในด้านการดำเนินโครงการที่มีขนาดใหญ่และมีระยะเวลาดำเนินงานภายหลังรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2560 ฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตเป็นฐา ... -
ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2560 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
โครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2560 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนติดตามและส่วนประเมินผลโครงการตามกรอบ Logic Model โดยติดตามโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจำนวน 41 โครงการจาก 3 แผนงาน คือ แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ แผนงานบูรณาการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และแผนงานบูรณาการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง โดยจากผลการติดตามโครงการพบว่า 40 โครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสามารถสร้างผลผลิตได้ตามเป้าหมายของแต่ละโครงการ และบางโครงการสร้างผลผลิตได้มากกว่าจำนวนที่กำหนด และ 1 ... -
ประเมินผลกระทบต่อการก่อสร้างรถไฟทางคู่ของประเทศไทย
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
การศึกษาวิจัยเรื่องโครงการประเมินผลกระทบต่อการก่อสร้างรถไฟทางคู่ของประเทศไทย เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อวิเคราะห์และสร้างความเข้าใจร่วมกันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างทางรถไฟฯ ในพื้นที่สี่จังหวัดที่มีสถานีรถไฟ ได้แก่ จังหวัดหนองคาย นครราชสีมา สระบุรี และระยอง ทั้งนี้การวิเคราะห์ในลักษณะสหวิทยาการทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจะนำไปสู่ผลการศึกษาวิจัยที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ครอบคลุมทุกมิติที่เกิดขึ้นกับพื้นที่เป้าหมายของการศึกษา โดยรูปแบบการศึกษาจะใช้วิธีการศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ... -
จ้างเหมาบริการวิเคราะห์ข้อมูลตัวชี้วัด วิธีการจัดเก็บข้อมูล และกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัด
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ในการติดตามประเมินผลในการดำเนินงาน ข้อมูลจากตัวชี้วัดสามารถวิเคราะห์ถึงการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายกำหนด ตัวชี้วัดที่ดีจะเป็นข้อมูลสำคัญให้กับผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจวางแผนนโยบายและบริหารงานพัฒนาสามารถคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาหรือวางแผนปฏิบัติงานในอนาคต เพื่อให้การปฏิบัติงานต่อไปประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในรายงานวิจัยนี้จึงพยายามที่จะสะท้อนประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมอาญาไทยผ่านตัวชี้วัดซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการในระดับชาติกำหนดไว้มี ... -
การออกแบบระบบการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม สำหรับโครงการนวัตกรรมด้านสังคม
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. เพื่อออกแบบระบบประเมินผลลัพธ์ทำงสังคม (social impact assessment: SIA) และดัชนีชี้วัดที่เหมาะสมสำหรับโครงการนวัตกรรม ด้านสังคม ที่ สนช. ให้การสนับสนุน ตามยุทธศาสตร์นวัตกรรมสังคมของ สนช. 2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม และวิธีการเก็บข้อมูลเพื่อระบุตัวชี้วัดของผลลัพธ์ทางสังคมแก่โครงการนวัตกรรม ด้านสังคม ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สนช. และ 3. เพื่อเผยแพร่ความรู้ และนำการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแก่ทีมงานของสนช. และภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการตัดสินใจสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม ... -
ศึกษาวิสัยทัศน์ ศักยภาพ และบทบาทการพัฒนาย่านนวัตกรรม (Innovation District) ในระดับภูมิภาค (กรุงเทพมหานครและภาคตะวันออก)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
Innovator)” ร่วมรังสรรค์นวัตกรรมให้ตรงความต้องการของคนภายในย่าน สร้างมูลค่าเพิ่ม จัดสรรทรัพยากร และการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดคุณค่าต่อประเทศชาติและประชาชน โดยย่านนวัตกรรมอาจเปรียบได้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองที่มุ่งสนับสนุนบุคคลากร ธุรกิจ กลุ่มคลัสเตอร์ และสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพในพื้นที่ เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) โดยการพัฒนาสินทรัพย์ 3 ประเภท ได้แก่ สินทรัพย์ทางกายภาพ (Physical Assets) สินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ (Economic Assets) และสินทรัพย์ทางเครือข่าย (Networking ... -
ศึกษาทิศทางการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่เหมาะสมกับประเทศไทย
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018) -
ประเมินผลยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ (คนไร้บ้าน ผู้ป่วยข้างถนน)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ (คนไร้บ้าน ผู้ป่วยข้างถนน) พ.ศ. 2558-2560 กำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงานผ่าน 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ 1) การเสริมศักยภาพแกนนำและการสร้างพลังเครือข่ายผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ 2) การพัฒนาองค์ความรู้และรูปแบบการดำเนินงานที่หลากหลายสอดคล้องกับบริบท 3) การส่งเสริมและสนับสนุนการบูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ สถาบันและองค์กรในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ 4) การสื่อสารสังคมเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายและการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน และ 5) การผลักดันและขับเคลื่อนนโยบาย ในการประเมินผลครั้งนี้ ... -
ประเมินและติดตามผลการดำเนินงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ปี พ.ศ. 2561 (พื้นที่ภาคใต้)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ จำนวน7 ชุมชน ใน 4 จังหวัดของภาคใต้ ได้แก่ 1) ชุมชนคลองยัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ชุมชนลีเล็ด จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) ชุมชนทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 4) ชุมชนบ้านควน จังหวัดยะลา 5) ชุมชนปิยะมิตร 3 จังหวัดยะลา 6) ชุมชนท่าด่าน จังหวัดปัตตานี และ 7) ชุมชนปะกาฮารัง จังหวัด ปัตตานี โดยทำงานร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)