ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2560 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
by พาณุวงศ์ คัมภิรารักษ์; คมน์ พันธรักษ์
ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2560 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม | |
Monitoring and Evaluation of Department of Industrial Promotion Project (Budget year 2017) | |
พาณุวงศ์ คัมภิรารักษ์
คมน์ พันธรักษ์ |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2017 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
โครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2560 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนติดตามและส่วนประเมินผลโครงการตามกรอบ Logic Model โดยติดตามโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจำนวน 41 โครงการจาก 3 แผนงาน คือ แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ แผนงานบูรณาการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และแผนงานบูรณาการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง โดยจากผลการติดตามโครงการพบว่า 40 โครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสามารถสร้างผลผลิตได้ตามเป้าหมายของแต่ละโครงการ และบางโครงการสร้างผลผลิตได้มากกว่าจำนวนที่กำหนด และ 1 โครงการไม่สามารถสร้างผลผลิตได้ตามเป้าหมายภายในกรอบระยะเวลา ในขณะที่การประเมินผลโครงการพบว่า สามารถจำแนกโครงการตามผลการประเมินได้เป็น 4 ประเภท คือ 1. โครงการที่มีระดับความพึงพอใจตั้งแต่ร้อยละ 85 ขึ้นไป และสามารถบรรลุผลตามตัวชี้วัดโครงการได้ครบถ้วน 2. โครงการที่สามารถบรรลุผลตามตัวชี้วัดโครงการ แต่ระดับความพึงพอใจน้อยกว่าร้อยละ 85 3. โครงการที่มีระดับความพึงพอใจตั้งแต่ร้อยละ 85 ขึ้นไป แต่ไม่สามารถบรรลุผลตามตัวชี้วัดโครงการได้ครบถ้วน 4. โครงการที่ไม่สามารถบรรลุผลตามตัวชี้วัดโครงการได้ครบถ้วน และมีระดับความพึงพอใจ น้อยกว่าร้อยละ 85 ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในปีงบประมาณต่อไปเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ตรงตามตัวชี้วัดและช่วยพัฒนาวิสาหกิจมากยิ่งขึ้น ที่ปรึกษาฯ จึงได้เสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 6 ด้าน ได้แก่ การกำหนดบทบาทของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ชัดเจน การเข้าถึงลูกค้ารายใหม่ มีเข้าใจความต้องการระดับพื้นที่ คุณภาพและคุณสมบัติของที่ปรึกษา การกำกับติดตามโครงการอย่างแข็งขัน การมีส่วนร่วมที่แท้จริง และข้อเสนอแนะต่อการกำกับและดำเนินโครงการ 4 ด้าน คือ การพัฒนา TOR การบริหารโครงการของหน่วยบริหารและหน่วยปฏิบัติ การกำหนดคุณสมบัติของผู้รับบริการ การกำกับกระบวนการทำงานของที่ปรึกษา และการพัฒนาตัวชี้วัดโครงการ |
|
ติดตามและประเมินผล
ระดับความพึงพอใจ |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/447 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|