ประเมินผลการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลนำร่องในปีงบประมาณ 2557
by ประไพพิศ มุทิตาเจริญ
ประเมินผลการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลนำร่องในปีงบประมาณ 2557 | |
Evaluation of District Community Justice Center Performance | |
ประไพพิศ มุทิตาเจริญ | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2015 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การวิจัยเรื่องการประเมินผลการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลนำร่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อประเมินคุณภาพของการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรม ชุมชนตำบลนำร่องที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2557 จำนวน 312 ศูนย์ ในจังหวดนำร่องทั้งหมด 18 จังหวัด โดยดำเนินการศึกษาปัญหาและข้อจำกัดของกระบวนการจัดตั้งศูนย์ฯ และนำผลการประเมินดังกล่าวมาจัดทำเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการขยายผลการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศต่อไป ตามแผนการดาเนินงาน วิธีการที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ผู้บริหารระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการดำเนินงานวิจัยดังกล่าว ได้ปรากฏเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงคุณภาพของศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะด้านกระบวนการจัดตั้งศูนย์ฯ
กระบวนการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบล คือ ขั้นตอนแรกในการริเริ่มการบริหารงานศูนย์ยุติธรรมชุมชน หากการจัดตั้งมีคุณภาพตามเป้าหมายที่ ได้กำหนดไว้ หมายความว่า เป็นการเริ่มต้นที่มี คุณภาพ เปรียบเสมือนกับกระบวนการบริหารงานที่เริ่มต้นด้วยการให้ความสำคัญกับปัจจัยนำเข้า (Input) หากปัจจัยนำเข้ามีคุณภาพดี ย่อมส่งผลต่อกระบวนการดำเนินงานหรือการบริหารงาน (Process) ให้ดีและมีคุณภาพตามไปด้วย
ในกรณีนี้ปัจจัยนำเข้าที่สำคัญของการจัดตั้งศูนย์ฯ ได้แก่ ทรัพยากรทางการบริหาร เช่น โครงสร้างบุคลากร (เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการ) งบประมาณ วัสดุอปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการปฏบัติงาน สถานที่ปฏิบัติงาน เป็นต้น และจากข้อมูลที่คณะนักวิจัยรวบรวมมานั้น ปรากฏข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ มากมายต่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบล ดังต่อไปนี้ การสรรหา คัดเลือกคณะกรรมการศูนย์ฯ และการประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ ให้เป็นที่รู้จักของประชาชนในชุมชน 2. ข้อเสนอแนะด้านการดำเนินงาน ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลนำร่อง จัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนใน ชุมชนที่มักจะไม่มีโอกาสในการเข้าถึงความยุติธรรมในยามที่เกิดปัญหาที่เป็นคดีความ โดยยึดถือกรอบภารกิจ5 ด้าน เป็นแนวทางในการดำเนินงานของศูนย์ฯ ผ่านการดำเนินงานโครงการและการจัดกิจกรรมตามภารกิจ ซึ่งสำนักงานยุติธรรมจังหวัดได้จัดสรรงบประมาณให้กับศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลนำร่องศูนย์ละ 25,000 บาท ซึ่งผลการดำเนินงานของศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลนำร่องที่ผ่านมา คณะนักวิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ผล จนกระทั่งได้ข้อเสนอแนะในด้านการดำเนินงานของศูนย์ฯ ดังนี้ เสริมสร้างการมีส่วนร่วม เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านกฎหมายให้กับคณะกรรมการศูนย์ฯ เป็นต้น ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะในการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลที่เป็นผลมาจากการดำเนินการวิจัยในโครงการนี้ ทางกระทรวงยุติธรรมจะสามารถนาไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาและขยายผลการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลให้มีคุณภาพต่อไป |
|
ประเมินผล
จัดตั้งศูนย์ยุติธรรม |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/344 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|