ประเมินผลกระทบต่อการก่อสร้างรถไฟทางคู่ของประเทศไทย
by สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประเมินผลกระทบต่อการก่อสร้างรถไฟทางคู่ของประเทศไทย | |
Impact Assessment Project for Double Track Railway of Thailand | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2015 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การศึกษาวิจัยเรื่องโครงการประเมินผลกระทบต่อการก่อสร้างรถไฟทางคู่ของประเทศไทย เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อวิเคราะห์และสร้างความเข้าใจร่วมกันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างทางรถไฟฯ ในพื้นที่สี่จังหวัดที่มีสถานีรถไฟ ได้แก่ จังหวัดหนองคาย นครราชสีมา สระบุรี และระยอง ทั้งนี้การวิเคราะห์ในลักษณะสหวิทยาการทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจะนำไปสู่ผลการศึกษาวิจัยที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ครอบคลุมทุกมิติที่เกิดขึ้นกับพื้นที่เป้าหมายของการศึกษา โดยรูปแบบการศึกษาจะใช้วิธีการศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมและการสารวจพื้นที่จริง (Survey) การศึกษาได้กำหนดกรอบการประเมินฯ 3 มิติด้วยกัน ซึ่งประกอบไปด้วย 1) การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ 2) การประเมินผลกระทบทางสังคมและ 3) การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ผลการประเมินทั้ง 3 มิติ สามารถประมวลได้ ดังนี้ การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เป็นด้านตัวเงิน พบว่า ก่อให้เกิดความประหยัดในด้านการเดินทาง เมื่อเทียบกับการเดินทางรูปแบบอื่น ๆ และยังช่วยลดการสูญเสียที่เกิดจากสินค้าตกค้างในคลังสินค้าอีกด้วย ส่วนผลกระทบที่ไม่ใช่ตัวเงิน พบว่า ต้องมีการวางผังเมืองในแต่ละจังหวัดโดยเฉพาะตามจุดที่เป็นสถานีรถไฟ การบูรณาการด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขนส่งหรือกระจายสินค้า การประเมินผลกระทบทางสังคม พบว่า จะมีการเคลื่อนที่ของกลุ่มประชากรเพื่อเข้าไปทำงานหรือดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ความต้องการในด้านปัจจัยขั้นพื้นฐานที่เพิ่มมากขึ้น ความเป็นไปได้ในการเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคน การขยายตัวของชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรและปัญหาที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และความต้องการทางด้านสวัสดิการทางสังคมจากภาครัฐที่เพิ่มขึ้น และสุดท้ายการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม พบว่า การรับรู้หรือเชื่อมโยงของข้อมูลระหว่างภาครัฐกับชุมชนยังต้องทำเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ผู้นำชุมชนสามารถวางมาตรการ เพื่อรองรับการเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงของชุมชน ทั้งทางสิ่งแวดล้อม ด้านกายภาพและด้านชีวภาพ เช่น การใช้พื้นที่เดิมทางการเกษตร เพื่อพัฒนามาใช้กับการขยายตัวทางรถไฟ การเกิดมลภาวะทางด้านการจราจร เสียง และอากาศ ในส่วนสุดท้ายของการศึกษา คือ ข้อเสนอแนะทางด้านนโยบาย ซึ่งมีข้อเสนอเกี่ยวกับภาพรวมในบทบัญญัติกฎหมาย ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศต่อไป |
|
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
ผลกระทบทางสังคม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รถไฟทางคู่ economic impact social impact environmental impact Double Track Railway |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/458 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|