กิจกรรม ติดตามและประเมินผลโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ประจำปีงบประมาณ 2559
by พีระ เจริญพร
กิจกรรม ติดตามและประเมินผลโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ประจำปีงบประมาณ 2559 | |
Monitoring and Evaluation Activity for Project Promotion and Development of the Halal Food Industry 2016 | |
พีระ เจริญพร | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2016 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล (Enhancing Thai Halal Food) ประจำปีงบประมาณ 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตสินค้าอาหารฮาลาลให้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสอดคล้องตามหลักการศาสนา และสนับสนุนด้านการตลาดโดยการให้เครื่องหมายรับรอง ฮาลาล โดยให้เครื่องหมายรัลนองเป็นที่ยอมรับและเพิ่มความน่าเชื่อถือในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฮาลาลสำหรับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้โครงการฯ แบ่งกิจกรรมออกเป็นกิจกรรมย่อยภายใต้การดำเนินโครงการทั้งสิ้น 11 กิจกรรม (ไม่รวมกิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ) โดยรายงานฉบับนี้เป็นผลการดำเนินงานของกิจกรรมที่ 12 ซึ่งเป็นการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกิจกรรมที่ 1 – 11 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2559 พบว่าการดำเนินงานของกิจกรรมทั้งหมดได้ดำเนินการเสร็จสิ้นตามแผนการดำเนินการเรียบร้อย โดยมีผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของโครงการ คือ 1) ผู้ประกอบการด้านอาหารฮาลาลทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 280 ผลการติดตามพบว่ามีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 329 ราย 2) ผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลใหม่ที่ได้รับการวิจัยและพัฒนา ไม่น้อยกว่า 35 ผลิตภัณฑ์ ผลการติดตามพบว่ามีผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งสิ้น 37 ผลิตภัณฑ์ 3) บุคลากรได้รับการพัฒนา ยกระดับองค์ความรู้ ไม่น้อยกว่า 1,200 ราย ผลการติดตามพบว่ามีบุคลากรในอุตสาหกรรมอาหารได้รับการอบรมจำนวน 1,359 ราย 4) พาผู้ประกอบการที่ร่วมแสดงอัตลักษณ์อาหารฮาลาลไทยระดับนานาชาติหรือ Business Matching ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ผลการติดตามพบว่ามีการพาผู้ประกอบการไปร่วมแสดงอัตลักษณ์อาหารไทยระดับนานาชาติ จำนวน 4 ครั้ง การติดตามและประเมินผลกิจกรรมภายใต้โครงการทั้ง 11 กิจกรรม พบว่า ทุกกิจกรรมสามารถดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่กำหนดได้ อย่างไรก็ตามการดำเนินกิจกรรมยังพบปัญหาบางประการได้แก่ - การกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนรวมถึงการดกำหนดผลลัพธ์ (Outcome) ของแต่ละกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายในโครงการ - ปัญหาความพร้อมและข้อจำกัดเฉพาะตัวของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมีความหลากหลายค่อนข้างสูง บางสถานประกอบการอาจจะเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กถึงเล็กมาก อาจทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมหรือทำตามกิจกรรมที่เข้าร่วมได้อย่างเต็มที่ - การให้คำปรึกษาตามตัวชี้วัด ซึ่งหน่วยร่วมผู้รับผิดชอบโครงการหรือที่ปรึกษาโครงการส่วนใหญ่มาจากสถาบันการศึกษา และมักจะเป็นผู้ที่มีภาระในการดูแลผู้เข้าร่วมโครงการรวมถึงงานส่วนตัวอื่นๆ ทำให้ที่ปรึกษาโครงการมีเวลาหรือให้ความเอาใจใส่แก่ผู้เข้าร่วมโครงการได้อย่างจำกัด - การบริหารจัดการองค์ความรู้ของบุคลากรสถาบันอาหาร เนื่องจากการให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการเป็นการสรรหาจากบุคคลภายนอก ทำให้ผู้ดูแลโครงการได้รับประสบการณ์และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการน้อยกว่าที่ปรึกษา เมื่อต้องประเมินผลการดำเนินงานก็จะไม่สามารถทำได้อย่างแม่นยำหรือเข้มงวดเท่าที่ควร จากปัญหาและอุปสรรคที่กล่าวมาข้างต้น สถาบันอาหารจึงควรมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาพร้อมทั้งทบทวนทิศทางและเป้าประสงค์ของโครงการ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของโครงการให้ดีขึ้นในปีต่อๆ ไป |
|
พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
Enhancing Thai Halal Food |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/393 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|