ประเมินผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไมซ์ไทยจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
by ประภัสสร์ เทพชาตรี
ประเมินผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไมซ์ไทยจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) | |
ASEAN Economic Community's Impacts on Thailand's Mice Industry | |
ประภัสสร์ เทพชาตรี | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2016 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การวิเคราะห์ผลกระทบของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ต่ออุตสาหกรรมไมซ์มีความสำคัญเนื่องจากความตกลง AEC เป็นความตกลงที่มีเงื่อนไขของการเปิดเสรีที่กว้างขวางกว่าความตกลงเปิดเสรีทางการค้า กล่าวคือ มีเนื้อหาสาระครอบคลุมไม่เพียงแต่การเปิดให้สินค้าสามารถเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนได้โดยมีอุปสรรคน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย แต่เปิดให้มีการค้าบริการได้อย่างเสรีมากขึ้น มีการเคลื่อนย้ายของเงินทุนระหว่างประเทศสะดวกขึ้น และเปิดเสรีทางด้านการลงทุนมากขึ้นด้วย ประกอบกับการที่อุตสาหกรรมไมซ์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจากเดิมที่เคยเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศพัฒนาแล้วให้ความสำคัญเพราะเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก มีผลประโยชน์ที่กระจายไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เชื่อมโยง และเกี่ยวข้องได้กว้างขวาง รวมทั้งการที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงเป็นสารสนเทศ (information) ที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการวางแผนและขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไมซ์ไทย การศึกษานี้ ได้ชี้ให้เห็นว่า ความตกลง AEC เป็นความตกลงที่เป็นประโยชน์และสนับสนุนการพัฒนาของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยโดยการเพิ่มอุปสงค์ของอุตสาหกรรมไมซ์ระหว่างภูมิภาค (Inter-regional demand) และอุปสงค์ภายในภูมิภาค (intra-regional demand) การเพิ่มการแข่งขันของอุตสาหกรรมไมซ์ในภูมิภาคจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญให้อาเซียนซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์สูงสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมไมซ์ได้ (Regional MICE Hub) นอกจากนี้ AEC ยังส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมไมซ์ไปสู่ภาคส่วนอื่นของประเทศที่สามารถพัฒนาเพื่อสนับสนุนการกระจายผลประโยชน์จากอุตสาหกรรมไมซ์ไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนดังกล่าวยังจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดย สสปน. ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสาน อำนวยความสะดวกให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมได้ การเปิดเสรีในสาขาภาคบริการและการลงทุนมากขึ้นภายใต้ AEC ยังทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ และการจัดสรรทรัพยากรการผลิตของอุตสาหกรรมไมซ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการขยายตัวของการลงทุนอุตสาหกรรมไมซ์ในอาเซียนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นย่อมทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไมซ์ต้องมีการปรับตัว ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศให้เป็นมาตรฐานที่ยอมรับ และทัดเทียมระดับสากล เพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน และท้ายที่สุด AEC ยังทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการแสวงหาความร่วมมือกันใจะนการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ไปด้วยกัน แทนการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงฐานลูกค้า หรือความได้เปรียบระหว่างกันโดยการแข่งขันกันเสนอผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการดึงดูดกิจกรรมไมซ์มายังประเทศของตน ความร่วมมือระหว่างกันขิงการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของอาเซียนจะทำให้การพัฒนาของอุตสาหกรรมมีความยั่งยืน ประชาชนของภูมิภาคอาเซียนเองได้รับประโยชน์จากมูลค่าเพิ่มที่สร้างขึ้นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยในฐานะที่เป็นเจ้าของมรัพยากรการผลิต อีกทั้งยังจะเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย |
|
ประเมินผลกระทบ
อุตสาหกรรมไมซ์ไทย |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/328 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 22.00 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|