กิจกรรมสำรวจและประเมินการดำเนินงานของร้านอาหารไทย งานวิจัยเรื่องการศึกษาคุณค่าตราสินค้า (Brand equity) ร้านอาหารไทยในญี่ปุ่น และการวัดความภักดี ในตราสินค้า (Brand loyalty) ต่อการใช้บริการร้านอาหารไทยแบบบริการเต็มรูปแบบ ภายใต้โครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คุณค่าอาหารของไทย (Thailand Food Forward)
by แก้วตา โรหิตรัตนะ; ธนวัต ลิมป์พาณิชย์กุล
Title: | กิจกรรมสำรวจและประเมินการดำเนินงานของร้านอาหารไทย งานวิจัยเรื่องการศึกษาคุณค่าตราสินค้า (Brand equity) ร้านอาหารไทยในญี่ปุ่น และการวัดความภักดี ในตราสินค้า (Brand loyalty) ต่อการใช้บริการร้านอาหารไทยแบบบริการเต็มรูปแบบ ภายใต้โครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คุณค่าอาหารของไทย (Thailand Food Forward) |
Other title(s): | A Study of Brand Equity and Brand Loyalty towards Full Services Thai Restaurants in Japan An activity under Thai Food Forward Programme |
Author(s): | แก้วตา โรหิตรัตนะ
ธนวัต ลิมป์พาณิชย์กุล |
Client: | อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร |
Contributor(s): | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publisher: | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Issued date: | 2016 |
Research Sector: | สาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE) |
Project Type: | โครงการอื่น ๆ |
Project ID: | 2559A00358 |
Project Status: | สิ้นสุดโครงการ |
Sponsorship: | อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร |
Abstract: |
โครงการการศึกษาคุณค่าตราสินค้า ร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นและการวัดความภักดีในตราสินค้าต่อการใช้บริการร้านอาหารไทยแบบบริการเต็มรูปแบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดคุณค่าตราสินค้าร้านอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่นศึกษาการรับรู้ทัศนคติ และปัจจัยส่วนบุคลของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นที่มีผลต่อการใช้บริการร้านอาหารไทย และเสนอแนะกลยุทธ์การส่งเสริมร้านอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงแนวทางการปรับปรุงการให้บริการของร้านอาหารไทย โดยมีขอบเขตงานวิจัย คือ พื้นที่เมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด โดยมีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากการเก็บแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพ จากการศึกษา พบว่า ประเทศญี่ปุ่นมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และอำนวยความสะดวกในขอรับใบอนุญาตต่างๆ มีการกินอาหารร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และนิยมอาหารสุขภาพ ทั้งนี้ ผลการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม การรับรู้ ทัศนคติ และปัจจัยส่วนบุคลของผู้บริโภคชาวฮอกไกโด พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับประทานอาหารนอกบ้าน คือ คุณภาพ ราคา และบรรยากาศ โดยมีการรับรู้คุณค่าตราสินค้า ร้านอาหารไทยในญี่ปุ่น ในระดับปานกลาง โดยการรู้จักในตราสินค้ามากที่สุด รองลงมาคือปัจจัยเชื่อมโยงต่อตราสินค้า และความภักดีในตราสินค้า ตามลำดับ และความตั้งใจในการซื้อของผู้บริโภคร้านอาหารไทยในความตั้งใจในการซื้อในระดับน้อย ข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์ในการส่งเสริมร้านอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่น คือ 1. แนวทางการสื่อสารสร้างภาพลักษณ์ร้านอาหารไทยในญี่ปุ่น เพื่อสร้างคุณค่าตราสินค้าและความภักดีในตราสินค้าที่ชัดเจนให้กับร้านอาหารไทย กระตุ้นการบริโภคกับกลุ่มลูกค้าเก่าควบคู่กับขยายฐานลูกค้าใหม่ ขณะที่ภาพรวมระดับร้านค้าพื้นที่ซัปโปโร ควรมีการสนับสนุนบุคลกรที่มีคุณภาพ สนับสนุนด้านเงินทุน 2. แนวทางการปรับปรุงการให้บริการของร้านอาหารไทย ควรออกแบบให้สามารถมองเห็นครัว จัดโซนบุหรี่ หมั่นเปลี่ยนจานให้ลูกค้าสร้างบรรยากาศความเป็นไทยให้ความสำคัญกับความสะอาด ควรใช้รูปอาหารจริงในเมนูการจัดสรรพนักงานที่มีความใส่ใจในการบริการ และการสามารถให้ข้อมูลแก่ลูกค้าเรื่องอาหารไทย และควรใช้พ่อครัวไทย ควรสอบถามถึงความต้องการของลูกค้า |
Keyword(s): | คุณค่าตราสินค้า
Brand equity Brand loyalty Thailand Food Forward การวัดความภักดี |
Resource type: | บทความ |
Type: | Text |
Language: | tha |
Rights: | เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร |
Access rights: | สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Rights holder(s): | อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร |
URI: | https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/394 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|
Related items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
เสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คุณค่าอาหารของไทย (Thailand Food Forward) ปี 2557 กิจกรรม สำรวจและประเมินผลการดำเนินงานของร้านอาหารไทย (กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย)
แก้วตา โรหิตรัตนะ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)
กิจกรรมสำรวจและประเมินผลการดำเนินงานของร้านอาหารไทย ภายใต้โครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คุณค่าอาหารของไทย (Thailand Food Forward) โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันอาหาร และสถาบันวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารไทยในประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย เพื่อผลักดันการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ทั้งนี้ขอบเขตของการศึกษาครอบคลุมเฉพาะประเทศสวีเดนและเดนมาร์ก ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพต่อการส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารไทยให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยคณะวิจัยได ... -
พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก กิจกรรมด้านเพิ่มศักยภาพการผลิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Productivity & Environment) กิจกรรมย่อย : ยกระดับการแข่งขันอุตสาหกรรมอาหารไทยด้วยการลดต้นทุนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Carbon Label) ปีงบประมาณ 2559
หาญพล พึ่งรัศมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
อุตสาหกรรมอาหารนับเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิของประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่สำคัญ ซึ่งในปัจจุบันการค้าโลกนับวันจะมีการเปิดเสรีมากขึ้น ส่งผลให้การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทยไปยังตลาดโลกประสบกับอุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ซึ่งมีหลายประเทศที่สามารถผลิตอาหารเพื่อการส่งออกได้ นอกจากนี้การที่ผู้บริโภค ในประเทศคู่ค้าสำคัญได้ให้ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงทำให้หันมาบริโภคสินค้าที่มาจากกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด จากอุปสรรคทางการค้าโลกดังกล่าว ... -
พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก กิจกรรมด้านเพิ่มศักยภาพผลิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Productivity & Environment) กิจกรรมย่อย: ยกระดับการแข่งขันอุตสาหกรรมอาหารไทยด้วยการลดต้นทุนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Carbon Label) ปีงบประมาณ 2559
หาญพล พึ่งรัศมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
อุตสาหกรรมอาหารนับเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิของประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่สำคัญ ซึ่งในปัจจุบันการค้าโลกนับวันจะมีการเปิดเสรีมากขึ้น ส่งผลให้การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทยไปยังตลาดโลกประสบกับอุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ซึ่งมีหลายประเทศที่สามารถผลิตอาหารเพื่อการส่งออกได้ นอกจากนี้การที่ผู้บริโภค ในประเทศคู่ค้าสำคัญได้ให้ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงทำให้หันมาบริโภคสินค้าที่มาจากกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด จากอุปสรรคทางการค้าโลกดังกล่าว ...