ศึกษาวิสัยทัศน์ ศักยภาพ และบทบาทการพัฒนาย่านนวัตกรรม (Innovation District) ในระดับภูมิภาค (กรุงเทพมหานครและภาคตะวันออก)
by นิจ ตันติศิรินทร์; สุวดี ทองสุกปลั่ง หรรษาสุขสิน
ศึกษาวิสัยทัศน์ ศักยภาพ และบทบาทการพัฒนาย่านนวัตกรรม (Innovation District) ในระดับภูมิภาค (กรุงเทพมหานครและภาคตะวันออก) | |
An Analysis of Regional Plan and Development strategies of Innovation Districts in Bangkok and Eastern Region | |
นิจ ตันติศิรินทร์
สุวดี ทองสุกปลั่ง หรรษาสุขสิน |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2017 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
Innovator)” ร่วมรังสรรค์นวัตกรรมให้ตรงความต้องการของคนภายในย่าน สร้างมูลค่าเพิ่ม จัดสรรทรัพยากร และการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดคุณค่าต่อประเทศชาติและประชาชน โดยย่านนวัตกรรมอาจเปรียบได้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองที่มุ่งสนับสนุนบุคคลากร ธุรกิจ กลุ่มคลัสเตอร์ และสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพในพื้นที่ เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) โดยการพัฒนาสินทรัพย์ 3 ประเภท ได้แก่ สินทรัพย์ทางกายภาพ (Physical Assets) สินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ (Economic Assets) และสินทรัพย์ทางเครือข่าย (Networking Assets) ในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์นวัตกรรมเชิงพื้นที่ในการพัฒนาย่านนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ได้กำหนดพื้นที่นำร่องไว้ 10 พื้นที่ ซึ่งมีมหาวิทยาลัยเป็นผู้ขับเคลื่อนการพัฒนา ประกอบด้วย ย่านนวัตกรรมในกรุงเทพมหานคร 6 ย่าน ได้แก่ (1) ย่านนวัตกรรมโยธี (2) ย่านนวัตกรรมปทุมวัน (3) ย่านนวัตกรรมคลองสาน (4) ย่านนวัตกรรมรัตนโกสินทร์ (5) ย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไท (6) ย่านนวัตกรรมลาดกระบัง และย่านนวัตกรรมในภาคตะวันออก 4 ย่าน ได้แก่ (1) ย่านนวัตกรรมบางแสน (2) ย่านนวัตกรรมศรีราชา (3) ย่านนวัตกรรมพัทยา (4) ย่านนวัตกรรมอู่ตะเภา-บ้านฉาง เนื่องจากบริบทในการพัฒนาย่านนวัตกรรมแต่ละย่านจะมีความแตกต่างกัน จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างกรอบการพัฒนาที่สนับสนุนพัฒนาศักยภาพของแต่ละย่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาย่านนวัตกรรมในระดับภูมิภาคกรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออกโดยเฉพาะจังหวัดชลบุรี เพื่อให้การพัฒนาย่านนวัตกรรมให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกัน ในอนาคตระยะสั้น (5 ปี) ระยะกลาง (10 ปี) และระยะยาว (20 ปี) ในระยะสั้น (5 ปี) การพัฒนาย่านนวัตกรรมควรเริ่มต้นจากการพัฒนา Networking assets ของกลุ่มคน นวัตกรรม และภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ พร้อมกับการสร้าง Economic assets อันประกอบไปด้วย Innovation drivers และ Innovation incubators (หรือเป็น human capital นั่นเอง) ในระยะกลาง (10 ปี) การพัฒนาย่านนวัตกรรมควรยังคงพัฒนา Networking assets และ Economic assets ประกอบกับการพัฒนาทางด้านกายภาพ (Physical assets) มากขึ้น เช่น การพัฒนาพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ทำงาน หรือห้องทดลองที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรม และเพิ่มการพัฒนาสินทรัพย์ทางกายภาพของเมืองเพื่อเชื่อมโยงย่านนวัตกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน และในระยะยาว (20 ปี) ควรเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันกับย่านนวัตกรรมอื่นๆ ในระดับภูมิภาคและระดับโลก |
|
Innovation District
การพัฒนาย่านนวัตกรรม ยุทธศาสตร์นวัตกรรมเชิงพื้นที่ |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/538 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|