ประเมินผลยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ (คนไร้บ้าน ผู้ป่วยข้างถนน)
by วีรบูรณ์ วิสารทสกุล; Weeraboon Wisartsakul
ประเมินผลยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ (คนไร้บ้าน ผู้ป่วยข้างถนน) | |
Evaluation of Homeless Quality of Life Development Strategic Plan (2558-2560) | |
วีรบูรณ์ วิสารทสกุล
Weeraboon Wisartsakul |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2017 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ (คนไร้บ้าน ผู้ป่วยข้างถนน) พ.ศ. 2558-2560 กำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงานผ่าน 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ 1) การเสริมศักยภาพแกนนำและการสร้างพลังเครือข่ายผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ 2) การพัฒนาองค์ความรู้และรูปแบบการดำเนินงานที่หลากหลายสอดคล้องกับบริบท 3) การส่งเสริมและสนับสนุนการบูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ สถาบันและองค์กรในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ 4) การสื่อสารสังคมเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายและการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน และ 5) การผลักดันและขับเคลื่อนนโยบาย ในการประเมินผลครั้งนี้ ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินไว้ 2 เรื่องหลัก คือ 1) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ พ.ศ.2558-2560 และ 2) เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนายุทธศาสตร์และการดำเนินงานในระยะต่อไป โดยมีโครงการที่เป็นเป้าหมายในการประเมินผลจำนวน 11 โครงการ และวิธีการประเมินผลจะใช้การการศึกษาเอกสารรายงานความก้าวหน้าของโครงการและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลต่างๆ ได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ กลุ่มที่ทำงานในระดับแผนงานหรือกลไกการขับเคลื่อนการทำงาน กลุ่มผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ ผลการประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนา พบว่า ยุทธศาสตร์มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นและมีความเป็นไปได้ที่จะทำได้จริง ด้านความก้าวหน้าและความสำเร็จของยุทธศาสตร์ตามตัวชี้วัดมีผลการประเมินดังนี้ 1) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมศักยภาพแกนนำและการสร้างพลังเครือข่ายผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ พบว่าได้ผลงานตามตัวชี้วัด 2) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาองค์ความรู้และรูปแบบการดำเนินงานที่หลากหลายสอดคล้องกับบริบทมีความก้าวหน้าของผลงานตามตัวชี้วัด โดยมีทั้งที่ได้ผลตามเป้าหมายแล้วและกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา 3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและสนับสนุนการบูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ สถาบันและองค์กรในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบได้ผลงานตามตัวชี้วัด 4) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสื่อสารสังคมเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายและการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ไม่ได้ผลงานครบตามตัวชี้วัด แต่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของประเด็นยุทธศาสตร์ 5) ยุทธศาสตร์ที่ 5 การผลักดันและขับเคลื่อนนโยบาย มีผลงานที่ก้าวหน้าไปมากกว่าตัวชี้วัด และ 6) ผลลัพธ์ของแผนยุทธศาสตร์นั้น พบว่ายังมีประเด็นที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติม อีก 2 ประเด็น คือ การพัฒนาให้เกิดระบบการรับรองสิทธิของคนไร้บ้านเพื่อการเข้าถึงบริการของรัฐ และ การอธิบายความหมายของคำว่า “พื้นที่ต้นแบบ” ให้มีรายละเอียดที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดและออกแบบกรอบแนวทางการทำงาน โดยผลจากการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์มีความก้าวหน้าจากเดิมไปมาก ทั้งในด้านการพัฒนานโยบาย-กฎหมาย ชุดข้อมูลและความรู้ในการดำเนินงานและพัฒนาบุคลากร ที่ช่วยเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านให้มาเป็นงานและประเด็นทางสังคมที่น่าติดตามมากยิ่งขึ้น จากผลการประเมินฯ มีข้อเสนอแนะในการพัฒนายุทธศาสตร์และการดำเนินการในระยะต่อไป คือ 1. ผู้วิจัยพบว่าในตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ มีบางตัวชี้วัดที่ยังไม่ชัดเจนว่ามีที่มาอย่างไร ได้แก่ ตัวชี้วัดเกี่ยวกับคนไร้บ้านที่เป็นชาวต่างชาติ อีกทั้งในโครงการที่ศึกษา ไม่พบว่ามีการดำเนินการอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อตอบตัวชี้วัดนี้ จึงควรมีการปรับปรุงในตัวชี้วัดนี้ หรือต้องพัฒนาโครงการใหม่ที่สอดคล้อง 2. ระดับศักยภาพและความสามารถในการให้ความช่วยเหลือคนไร้บ้านของแกนนำควรมีการระบุคุณสมบัติหรือศักยภาพที่จำเป็นของแกนนำคนไร้บ้าน เพื่อนำไปสู่กระบวนการเสริมศักยภาพที่เป็นระบบ มีเป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจนจำแนกตามความแตกต่าง ซึ่งจะเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์และช่วยสร้างและรักษาคุณภาพของแกนนำได้ นอกจากนี้ควรต้องพิจารณาระบบสนับสนุนเพื่อให้แกนนำสามารถทำงานได้จริง 3. ลักษณะของ “พื้นที่ต้นแบบ” ที่เป็นเป้าหมายความสำเร็จ ต้องทำให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้มีกรอบทิศทางการพัฒนาและการติดตามความก้าวหน้าและความสำเร็จได้ง่ายขึ้น 4. ควรยกระดับการทำงานระหว่างหน่วยงานรัฐและระหว่างหน่วยงานรัฐกับองค์กรพัฒนาเอกชนจากที่เป็นการทำงานบนฐานความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ทำงาน ให้เป็นความสัมพันธ์เชิงระบบ เพื่อทำให้งานมีความต่อเนื่องและยั่งยืน เช่น การพัฒนาระบบการรับรองสิทธิเพื่อการเข้าถึงบริการของรัฐที่ครอบคลุมทั่วประเทศโดยผลจากการประเมิน สะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ (คนไร้บ้าน ผู้ป่วยข้างถนน) พ.ศ. 2558-2560 มีความก้าวหน้าในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการทำงานทั้งในเรื่องนโยบาย กฎหมาย ชุดข้อมูลและความรู้ในการดำเนินงานและบุคลากร ช่วยเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไร้บ้านเปลี่ยนแปลงจากเดิมมาก สิ่งเหล่านี้คือผลกระทบสำคัญที่แผนยุทธศาสตร์นี้ได้มีส่วนอย่างมากในการผลักดันให้เกิดขึ้น Strategic Plan on Development for People Live in Public Area’s Quality of Life B.E. 2558-2560 have 5 strategic issues 1) Capacity building of leaders and network 2) knowledge development and model development in various contexts 3) Supporting and encouraging integration among public organizations and local government organizations 4) Social communication for public policy movement and 5) public policy advocacy The objectives of this evaluation comprise 1) evaluate the results of strategic plan on development for People Live in Public Area’s Quality of Life B.E. 2558-2560 and 2) give recommendations for furthers operate. The evaluation will cover 11 projects and use qualitative technique in collecting data such as revive progress reports, in-depth interview project stakeholders and observation. The study pointed out that the strategic plan had the most relevant to the situation of People Live in Public Area and possible to achieve the results. There are the progress as follows: 1) the First strategic issue: Capacity building of leaders and network –- got the results as follow as expected 2) the Second strategic issue: Knowledge development and model development in various contexts - -- got some results as follow as expected and some results in the process development phase 3) the Third strategic issue : Supporting and encouraging integration among public organizations and local government organizations – got the results as follow as expected 4) the Fourth strategic issue: Social communication for public policy movement –-- cannot got the results as follow as expected 5) the Fifth strategic issue : public policy advocacy --- got the results more than the expected 6) the outcome of strategic plan – the evaluation found that there are 2 issues to added ; 1) develop the system for Right’s certification for public services and 2) define the meaning of “Area-base model” in detail of characteristics that help in implementation framework. There are also some recommendations for the next phase such as: 1. make the clearly strategic indicators: in this evaluation study found that some indicators cannot trace back to the situation. There are not specific and relevant activities to get that indicators. 2. make the clearly characteristics and skills for leader and network. It will help practitioner to design supporting and capacity-building activities and system to encourage them. |
|
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ
คนไร้บ้าน ผู้ป่วยข้างถนน |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/547 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|