Recent Submissions

  • type-icon

    การพัฒนาการปลูกสมุนไพรไทยตามมาตรฐานและเทคโนโลยีการสกัดสมุนไพรไทยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกรรายย่อย 

    ดุสิต อธินุวัฒน์ (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-27)

    บัวบกเป็นสมุนไพรที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 4 สุดยอดสมุนไพรไทย ที่ส่งเสริมให้ทำวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการรักษาโรคและการพัฒนาสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจของประเทศไทย โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดการธาตุอาหารที่มีผลต่อสารสำคัญในบัวบก, พัฒนาวิธีการสกัดสารจากบัวบกให้มีสาร pentacyclic triterpenes ปริมาณสูง ด้วยเครื่องไมโครเวฟในระดับอุตสาหกรรมขนาดย่อมโดยใช้ตัวทำละลายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสเปรย์สมานแผลจากสารสกัดบัวบก ผลการวิจัยพบว่า การใส่ปุ๋ยตามความต้องการของบัวบก 16-8-8 กก.N-P2O5-K2...
  • Thumbnail

    การขับเคลื่อนนโยบายความร่วมมือด้านการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาโครงการโรงเรียนคู่พัฒนาไทย - อินโดนีเซีย 

    อำพา แก้วกำกง (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-26)

    รายละเอียดตามไฟล์แนบ
  • type-icon

    กรอบแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี (Pathumthani Smart City Roadmap) 

    ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-10-07)

    จังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่ปริมณฑลที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นเมืองมหาวิทยาลัย เมืองของการอยู่อาศัย และเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนถ่ายระบบคมนาคมขนส่งในระดับภูมิภาค ตลอดจนมีแผนพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งมวลชนทางรางเชื่อมต่อศูนย์กลางธุรกิจของเมืองกับชุมชนชานเมืองให้เกิดประสิทธิภาพในการเดินทางในอนาคต ทำให้เกิดแรงดึงดูดให้เกิดความต้องการด้านการเดินทางของประชาชนไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของเขตเมือง ส่งผลต่อรูปแบบการลงทุนทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของภาครัฐ ในการรองรับความต้องการของประชาชนและแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อประชาช...
  • type-icon

    สำรวจความพึงพอใจของลูกค้าการประปาส่วนภูมิภาค ปีงบประมาณ 2562 

    อนันต์ ภาวสุทธิไพศิฐ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-06)

    โครงการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าการประปาส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ 2562 เป็นโครงการศึกษาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าปัจจุบันและกลุ่มประชาชนที่คาดว่าน่าจะเป็นลูกค้า กปภ. ในอนาคต ประเด็นสำรวจ คือ ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความต้องการ ความคาดหวัง ความภักดี ทัศนคติของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ การบริการ ภาพลักษณ์และความรับผิดชอบสังคมของ กปภ. พบว่า ปีงบประมาณ 2562 กปภ. ได้รับคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 4.102 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ “พึงพอใจมาก” ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2561 โดย กปภ. สามารถใช้ประสบการณ์เรียนรู้จากการทำสำรวจครั้ง...
  • type-icon

    การพัฒนาชุดตรวจคัดกรองผู้มีความบกพร่องในการเรียนรู้โดยใช้เสียงพูดภาษาไทยและการตอบคำถามการคำนวณสำหรับคนไทย: เฟสที่ 1 พัฒนาชุดตรวจคัดกรอง paper based 

    จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)

    ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) คือความบกพร่องของกลุ่มบุคคลที่ประสบปัญหาทางด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การให้เหตุผล และทักษะเชิงคณิตศาสตร์ โดยเด็กที่ป่วยเป็นโรค LD จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติตั้งแต่ช่วงอายุ 3-5 ปี สำหรับชุดตรวจคัดกรองผู้ป่วย LD ในระยะแรกเริ่มมีการพัฒนาขึ้นใช้สำหรับในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาเดนิช แต่ยังไม่มีการพัฒนาขึ้นสำหรับภาษาไทยคณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบและพัฒนาชุดตรวจคัดกรองสำหรับเด็กไทยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค LD โดยใช้หลักการทางภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และความจำ โดยแบ่งเป็น 6 หัวข้อ ได้แก่ การอ่านอย่างรวดเร็ว (r...
  • type-icon

    ศึกษาแนวโน้มความต้องการกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) 

    เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-10)

    การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาใช้แนวทางในการเตรียมกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน โดยมี 6 จังหวัดที่ใช้เป็นพื้นที่ทำการศึกษา ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดนราธิวาส จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการศึกษาโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิควบคู่ไปกับข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการจากการสัมภาษณ์ หรือสนทนากลุ่ม ของตัวแทนจากภาครัฐ สถานศึกษา ภาคเอกชน ชุมชน และตัวผู้เรียนรวมทั้งสิ้น 183 คน โดยจะเริ่มจากการศึกษาบทเรียนจากต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป ประเทศญี่ปุ่น และมาเลเซีย จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ผ...
  • type-icon

    วิจัยและออกแบบระบบทดสอบความรู้ด้านภาษาไทยสำหรับประชาชนทั่วไป ในระบบออนไลน์ 

    ศศิพร อุษณวศิน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)

    ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติที่เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพของคนในชาติ และเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารที่สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องจะทำให้ผู้ใช้ภาษาสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำในภาษาไทยประกอบด้วยเสียง รูปพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และความหมาย ร้อยเรียงเป็นประโยค ประโยคหลายประโยคร้อยเรียงกันเป็นข้อความ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของภาษา นอกจากนี้ระดับภาษาก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ผู้ใช้ควรใช้ให้เหมาะสมแก่กาลเทศะและบุคคล การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องถือเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้อง...
  • type-icon

    พัฒนาชุดเครื่องมือการมองอนาคต (Foresight Tools Box) 

    ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา; ธันยพร สุนทรธรรม (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561-01-21)

    โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาแนวคิดหรือวิธีการมองอนาคต (Foresight) ที่ได้การยอมรับในวงการวิชาการในระดับนานาชาติ ด้วยการสำรวจวรรณกรรมและงานวิจัยทางด้านอนาคตศาสตร์และการมองอนาคตที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ และนำข้อมูลวิจัยที่ได้มาจัดทำชุดเครื่องมือการมองอนาคตที่ประกอบด้วยแนวคิดการมองอนาคต 9 เครื่องมือ วิธีการศึกษาประกอบด้วย 1) การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ประเภทบทความทางวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล ISI Web of Science และ Scopus ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – 2561 (ค.ศ. 2013 – 2018) เพื่อสำรวจ วิเคราะห์ และจัดอัน...
  • type-icon

    วิจัยและออกแบบระบบทดสอบความรู้ด้านภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ออนไลน์ 

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิพร อุษณวศิน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561)

    ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติที่เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและตรงตามจุดหมาย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิด ความต้องการและความรู้สึก การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องและอย่างคล่องแคล่ว มีวิจารณญาณและมีคุณธรรมจะทำให้ผู้ใช้สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิภาพผล ภาษาไทยมีส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระที่ผู้ใช้ภาษาจะต้องรู้และใช้ภาษาให้ถูกต้อง ได้แก่ ประเภทของคำ หน้าที่ของคำ ประเภทของวลี หน้า...
  • type-icon

    ศิลปะแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธสู่ทางแห่งรักสำหรับเยาวชนที่ประสบความยากลำบาก 

    มนตรี สิระโรจนานันท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

    การจัดการความรู้เรื่อง “ศิลปะแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธสู่ทางแห่งรักสำหรับเยาวชนที่ประสบความยากลำบาก” ที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ หาแนวทางในการสร้างภูมิคุ้มกันเชิงจริยธรรมและคุณธรรมให้กับเยาวชนในสังคมไทยเป็นหลัก โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับเยาวชนที่ประสบปัญหาความยากลำบากได้มีภูมิคุ้มกันเชิงคุณธรรมจริยธรรมและเสริมสร้างศักยภาพความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงานให้กับเครือข่ายแม่ชีไทยพัฒน์ โดยใช้ศิลปะแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน ภายใต้การนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและผลงานศึกษาที่เกี่...
  • type-icon

    การจัดทำองค์ความรู้ผลงานประดิษฐ์คิดค้น เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการเผยแพร่ 

    พรจิต สมบัติพานิช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

    “โครงการจัดทำองค์ความรู้ผลงานประดิษฐ์คิดค้น เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการเผยแพร่” ที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่งเสริมให้เผยแพร่สู่สายตาผู้ที่สนใจ และประชาชนทั่วไป 2) เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่สนใจ และประชาชนทั่วไปได้นำเอาผลผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ และ 3) เพื่อกระตุ้นให้นักวิจัย นักประดิษฐ์ เยาวชน และนักเรียน เกิดความต้องการที่จะสร้างสรรค์ผลงานประดิษฐ์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ จากการดำเนินง...
  • type-icon

    จัดทำองค์ความรู้ผลงานประดิษฐ์คิดค้น เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์ 

    พรจิต สมบัติพานิช; Sombutphanich, Pornchit (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

    สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ดำเนินงานในการส่งเสริมและพัฒนาการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมให้แก่บุคลากร นักเรียน นักศึกษาในสายอาชีวศึกษาทั่วประเทศ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการปลูกฝัง และกระตุ้นให้มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ สามารถต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ โครงการจัดทำองค์ความรู้ผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์ในครั้งนี้ เป็นการรวบรวมผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียนและนักศึกษาในสายอาชีวศึกษาทั่วประเทศ โดยการจัดทำวีดิทัศน์สรุปขั้นตอน/วิธีการ และการใช้งานของผลงานสิ่งป...
  • Thumbnail

    โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนามาตรฐานโทษทางวินัยสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา : รายงานฉบับสมบูรณ์ 

    อุดม รัฐอมฤต; วีรวัฒน์ จันทโชติ; พรทิพย์ อธิจิตวิสุทธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2008)
  • Thumbnail

    แนวทางการปฏิรูปการจัดการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : รายงานฉบับสมบูรณ์ 

    ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2003)