ศิลปะแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธสู่ทางแห่งรักสำหรับเยาวชนที่ประสบความยากลำบาก
by มนตรี สิระโรจนานันท์
ศิลปะแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธสู่ทางแห่งรักสำหรับเยาวชนที่ประสบความยากลำบาก | |
Buddhist Approach to Learning through Loving-Kindness for Youths Facing Difficult Life Conditions | |
มนตรี สิระโรจนานันท์ | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2016 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การจัดการความรู้เรื่อง “ศิลปะแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธสู่ทางแห่งรักสำหรับเยาวชนที่ประสบความยากลำบาก” ที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ หาแนวทางในการสร้างภูมิคุ้มกันเชิงจริยธรรมและคุณธรรมให้กับเยาวชนในสังคมไทยเป็นหลัก โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับเยาวชนที่ประสบปัญหาความยากลำบากได้มีภูมิคุ้มกันเชิงคุณธรรมจริยธรรมและเสริมสร้างศักยภาพความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงานให้กับเครือข่ายแม่ชีไทยพัฒน์ โดยใช้ศิลปะแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน ภายใต้การนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและผลงานศึกษาที่เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางและสร้างชุดองค์ความรู้มาขับเคลื่อนเรียนรู้และปฏิบัติการสร้างการเปลี่ยนแปลงตามเป้าประสงค์ที่หมายไว้ คณะผู้วิจัยได้ออกแบบการจัดการความรู้ด้วยวิธีการ 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ขั้นแรกคือ การสังเคราะห์องค์ความรู้สู่นวัตกรรมการเรียนรู้สร้างภูมิคุ้มกันเชิงจริยธรรมและคุณธรรมให้กับเยาวชนฯ กลุ่มเป้าหมาย ขั้นที่สองคือ การจัดฝึกอบรมครูนักจัดการเรียนรู้และ/หรือแม่ชีผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชนภายใต้เครือข่ายแม่ชีไทยพัฒน์ 27 แห่งทั่วประเทศไทย และขั้นที่สามคือ การจัดฝึกอบรมเยาวชนฯ ในโครงการฯ ค่ายเยาวชน “ทางแห่งรัก” จำนวน 4 ครั้ง โดยจัดขึ้นที่ จ. ราชบุรี จ. กาญจนบุรี จ. ระยอง จ.กระบี่ ผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นคือ การจัดการความรู้ได้ช่วยเสริมสร้างพลังและสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในเยาวชนที่ผ่านกระบวนการ และได้มีนวัตกรรมการเรียนรู้สร้างภูมิคุ้มกันเชิงจริยธรรมและคุณธรรมสำหรับเยาวชนฯ รวมถึงกลุ่มเป้าหมายและมีองค์ความรู้ ทักษะ เทคนิคและกระบวนการสำหรับครูนักจัดการเรียนรู้ ซึ่งทางโครงการฯ ได้เสริมสร้างให้เกิดครูนักจัดการเรียนรู้ จำนวน 17 คน ที่สามารถใช้หลักสูตร “ศิลปะแห่งการเรียนรู้สู่ทางแห่งรัก” ลงปฏิบัติงานในพื้นที่ในการจัดฝึกอบรมเยาวชน จำนวน 4 แห่ง เป็นจำนวน 245 คน นับเป็นผลผลิตในการเรียนรู้ที่จะนำความรู้ ความเข้าใจ ทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา และการพัฒนาทักษะชีวิต น้อมนำมาเป็นต้นแบบให้กับชุมชน/สังคมได้ต่อไป พร้อมกันนี้ได้ถอดประสบการณ์กลับมายกระดับองค์ความรู้และพัฒนาออกเป็นหนังสือ “ทางแห่งรัก” คู่มือหลักสูตรศิลปะแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธสำหรับเยาวชน โดยสามารถดาวน์โหลดหนังสือ ได้ที่ http://www.thai-explore.net/search_detail/result/3063 |
|
การจัดการความรู้ | |
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/324 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|