สาขาการศึกษา
Collections in this community
-
โครงการที่ปรึกษา [17]
(Consultancy projects) -
โครงการวิจัย [14]
(Research projects)
Recent Submissions
การพัฒนาการปลูกสมุนไพรไทยตามมาตรฐานและเทคโนโลยีการสกัดสมุนไพรไทยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกรรายย่อย
(สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-27)
บัวบกเป็นสมุนไพรที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 4 สุดยอดสมุนไพรไทย ที่ส่งเสริมให้ทำวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการรักษาโรคและการพัฒนาสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจของประเทศไทย โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดการธาตุอาหารที่มีผลต่อสารสำคัญในบัวบก, พัฒนาวิธีการสกัดสารจากบัวบกให้มีสาร pentacyclic triterpenes ปริมาณสูง ด้วยเครื่องไมโครเวฟในระดับอุตสาหกรรมขนาดย่อมโดยใช้ตัวทำละลายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสเปรย์สมานแผลจากสารสกัดบัวบก ผลการวิจัยพบว่า การใส่ปุ๋ยตามความต้องการของบัวบก 16-8-8 กก.N-P2O5-K2...
การขับเคลื่อนนโยบายความร่วมมือด้านการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาโครงการโรงเรียนคู่พัฒนาไทย - อินโดนีเซีย
(สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-26)
รายละเอียดตามไฟล์แนบ
การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (Young Scientist Competition : YSC) เขตภาคกลางและภาคตะวันออก
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-11)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้ร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และ ศูนย์แห่งชาติภายใต้กำกับ สวทช. คือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ รวมถึงมหาวิทยาลัยเครือข่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร ในการดำเนินโครงการประกวดโครงงานของนักวิ...
กรอบแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี (Pathumthani Smart City Roadmap)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-10-07)
จังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่ปริมณฑลที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นเมืองมหาวิทยาลัย เมืองของการอยู่อาศัย และเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนถ่ายระบบคมนาคมขนส่งในระดับภูมิภาค ตลอดจนมีแผนพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งมวลชนทางรางเชื่อมต่อศูนย์กลางธุรกิจของเมืองกับชุมชนชานเมืองให้เกิดประสิทธิภาพในการเดินทางในอนาคต ทำให้เกิดแรงดึงดูดให้เกิดความต้องการด้านการเดินทางของประชาชนไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของเขตเมือง ส่งผลต่อรูปแบบการลงทุนทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของภาครัฐ ในการรองรับความต้องการของประชาชนและแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อประชาช...
การจัดการศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-27)
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อด้วยกัน คือ 1) เพื่อศึกษาผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดน และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดน โดยคณะผู้วิจัยได้เริ่มดำเนินงานด้วยการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาของประเทศจีน อินเดีย เวียดนาม และมาเลเซีย จากนั้นจึงเป็นการศึกษาการจัดการศึกษาของจังหวัดในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน ...
Creative Hubs Mapping
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-02)
ช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ในทั่วทุกมุมโลกได้มีการเกิดขึ้นของพื้นที่นวัตกรรม (innovative space) ซึ่งเป็นพื้นที่ในการออกแบบ ทดสอบ ขยายผล และนำผลงานที่มีแนวคิดใหม่ๆ เหล่านั้นออกสู่ตลาด บริติช เคานซิล (British Council) ได้ทำงานกับศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ (creative hub) ทั่วโลก มาเป็นเวลาหลายปี ขณะนี้บริติช เคานซิล มีความประสงค์ที่ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นที่ดังกล่าว ในประเทศในกลุ่มทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และอินโดนีเซีย รายงานฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา 6 กรณีศึกษาของศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ (creative hub)...
ศึกษาและจัดทำข้อมูลการจำแนกลำดับชั้นของโครงข่ายทางหลวงแผ่นดินทั่วประเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนพัฒนาและบริหารจัดการทางหลวง
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-30)
โครงข่ายทางหลวงแผ่นดินเชื่อมโยงพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อรองรับการขนส่งและการเดินทางของผู้ใช้ทางให้มีความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงในประเทศไทย ในปัจจุบันมีอยู่ 3 แนวทาง คือ (1) การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงตามหน่วยงานที่ควบคุมดูแล (2) การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงตามบทบาทของการเชื่อมโยง และ (3) การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงตามการใช้งาน แต่เนื่องด้วยความซับซ้อนของโครงข่ายทางหลวงที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้วิธีการจำแนกลำดับชั้นถนนในโครงข่ายทางหลวงที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่สอ...
สำรวจความพึงพอใจของลูกค้าการประปาส่วนภูมิภาค ปีงบประมาณ 2562
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-06)
โครงการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าการประปาส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ 2562 เป็นโครงการศึกษาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าปัจจุบันและกลุ่มประชาชนที่คาดว่าน่าจะเป็นลูกค้า กปภ. ในอนาคต ประเด็นสำรวจ คือ ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความต้องการ ความคาดหวัง ความภักดี ทัศนคติของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ การบริการ ภาพลักษณ์และความรับผิดชอบสังคมของ กปภ. พบว่า ปีงบประมาณ 2562 กปภ. ได้รับคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 4.102 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ “พึงพอใจมาก” ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2561 โดย กปภ. สามารถใช้ประสบการณ์เรียนรู้จากการทำสำรวจครั้ง...
ศึกษาความเที่ยงตรงของมาตรวัดน้ำที่ผ่านการล้างด้วยเครื่องล้างแบบอัลตราโซนิก
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-16)
การศึกษานี้เพื่อเป็นการทดลองศึกษาค่าความผิดพลาดของมาตรวัดน้ำที่ผ่านการล้างโดยใช้เครื่องล้างแบบอัตราโซนิกส์ โดยพิจารณาถึง ความสะอาดในการล้างมาตร และ ผลของอายุและสถานที่ติดตั้งมาตรที่ส่งผลต่อความเที่ยงตรงของมาตรวัดน้ำก่อนและหลังทำการล้างมาตร ผลจากการศึกษาพบว่า คลื่นอัลตราโซนิกส์ตอบสนองกับตะกอนดินไม่ดี หากแต่การทดสอบค่าความผิดพลาดของมาตรนั้นพบว่า มาตรวัดน้ำที่ผ่านการล้างด้วยน้ำนั้น มีค่าความผิดพลาดกลับเข้ามาอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานการทดสอบมาตรที่ร้อยละ 4 4 และ 20 สำหรับ Qm Qtrans และ Qmin จากจำนวน 20 เครื่องที่ผ่านการใช้งานเพิ่มขึ้นจาก...
การพัฒนาเครื่องมือประเมินความเสี่ยงที่จะมีความบกพร่องในการเรียนรู้โดยใช้เสียงพูดภาษาไทยและการตอบคำถามการคำนวณสำหรับคนไทย : เฟสที่ 2 พัฒนาชุดตรวจคัดกรอง Computer Based
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)
พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อความชุดทดสอบในรูปแบบแอปพลิเคชันบนแท็บเลตเสร็จสิ้น โดยนำแอปพลเคชันที่พัฒนาขึ้นมาใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจากอาสาสมัครกลุ่มปกติจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 60 ราย และกลุ่มเสี่ยงจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อีก 50 ราย (ภายใต้เอกสารรับรองโครงการวิจัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์หมายเลขที่ 448/61) ข้อมูลเสียงพูดที่เก็บรวบรวมจากอาสาสมัครถูกนำมาวิเคราะห์ โดยการสลัดลักษณะเด่น 988 ลักษณะเด่นจากเสียงพูดโดยใช้โปรแกรม openSMILE และสร้างแบบจำลองโดยใชhโปรแกรม Weka โดยใช้วิธีการตรวจสอบไขว้ 5 ส่วน พบว่าสำหรับการว...
การคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)
งานวิจัยนี้นำเสนอระบบรู้จำมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาอย่างอัตโนมัติโดยใช้โครงข่ายประสาทสังวัตนาการเดนซ์เน็ต (Densely Connected Convolutional Network: DenseNet121) และโครงข่าย Wasserstein Generative Adversarial Network (WGAN-GP) ในการสร้างภาพรอยโรคผิวหนังเทียมเพื่อใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกฝนโครงข่ายที่มีจำนวนข้อมูลในการฝึกฝนน้อย วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยนี้คือ การสนับสนุนการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังโดยใช้ภาพถ่ายรอยโรคผิวหนัง โครงข่าย DenseNet121 ถูกนำมาใช้และประเมินผลเปรียบเทียบกับโครงข่ายเรสเน็ต (Deep Residual Neural Network: ResNet50) ...
การพัฒนาชุดตรวจคัดกรองผู้มีความบกพร่องในการเรียนรู้โดยใช้เสียงพูดภาษาไทยและการตอบคำถามการคำนวณสำหรับคนไทย: เฟสที่ 1 พัฒนาชุดตรวจคัดกรอง paper based
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)
ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) คือความบกพร่องของกลุ่มบุคคลที่ประสบปัญหาทางด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การให้เหตุผล และทักษะเชิงคณิตศาสตร์ โดยเด็กที่ป่วยเป็นโรค LD จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติตั้งแต่ช่วงอายุ 3-5 ปี สำหรับชุดตรวจคัดกรองผู้ป่วย LD ในระยะแรกเริ่มมีการพัฒนาขึ้นใช้สำหรับในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาเดนิช แต่ยังไม่มีการพัฒนาขึ้นสำหรับภาษาไทยคณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบและพัฒนาชุดตรวจคัดกรองสำหรับเด็กไทยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค LD โดยใช้หลักการทางภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และความจำ โดยแบ่งเป็น 6 หัวข้อ ได้แก่ การอ่านอย่างรวดเร็ว (r...
ศึกษาแนวโน้มความต้องการกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-10)
การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาใช้แนวทางในการเตรียมกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน โดยมี 6 จังหวัดที่ใช้เป็นพื้นที่ทำการศึกษา ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดนราธิวาส จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการศึกษาโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิควบคู่ไปกับข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการจากการสัมภาษณ์ หรือสนทนากลุ่ม ของตัวแทนจากภาครัฐ สถานศึกษา ภาคเอกชน ชุมชน และตัวผู้เรียนรวมทั้งสิ้น 183 คน โดยจะเริ่มจากการศึกษาบทเรียนจากต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป ประเทศญี่ปุ่น และมาเลเซีย จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ผ...
ศึกษาวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ของงานวิจัยและแนวทางถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหารของประเทศไทยในอนาคต
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-07)
การดำเนินโครงการ “ศึกษาวิเคราะห์ช่องว่างของงานวิจัยและแนวทางถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหารของประเทศไทยในอนาคต” เป็นกลไกกำหนดทิศทางงานวิจัยด้านเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร พร้อมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยแก่เกษตรกร จากการวิเคราะห์ระบบนิเวศนวัตกรรมในระดับโครงการหรือระดับพื้นที่ จาก 35 กรณีศึกษา ด้วยเทคนิค “การวิเคราะห์โครงข่ายทางสังคม” (social network analysis: SNA) มีข้อสังเกตเบื้องต้น ได้แก่ 1) ด้านองค์ความรู้ 2) ด้านการสร้างเครือข่าย และ 3) ด้านงบประมาณ พบว่า เกษตรกร มีบทบาทมากในทั้งสามด้าน รองลงมา...
การจัดทำรายละเอียดโครงการ Architectural Programming และข้อมูลเพื่อการออกแบบ Design Brief ภายใต้โครงการเตรียมการจัดตั้งและออกแบบศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ National Knowledge Center : NKC
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-07)
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ได้ดำเนินการด้านการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และองค์ความรู้มาอย่างยาวนานกว่า 13 ปี ทำให้เห็นถึงความสำคัญของศูนย์การเรียนรู้ที่มีบทบาทระดับประเทศทันสมัยและสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพฤติกรรของคนในยุคปัจจุบัน จึงได้ดำเนินการจัดทำรายละเอียดโครงการ และข้อมูลเพื่อการออกแบบภายใต้โครงการเตรียมการจัดตั้งและออกแบบศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลความต้องการการใช้พื้นที่และปัญหาการใช้พื้นที่เดิมกำหนดพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะสมกับพื้นที่ใหม่ กำหนดแนวทางการใช้พื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้แห่งช...
งานศึกษาแนวทางการจัดตั้ง National Knowledge Park ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-07)
ความรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นความรู้ที่มีความพลวัต (Dynamic) ซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ประกอบด้วย นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ และข้อมูล ทำให้ลักษณะของการเข้าถึงความรู้เป็นไปในลักษณะที่ผ่านกระบวนการแบ่งปันความรู้การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล โดยศูนย์ความรู้แห่งชาติ พื้นที่เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นตัวกลาง ในการอำนวยความสะดวกให้กับการเข้าถึงความรู้ที่เป็นพลวัต เป็นผู้สร้างพื้นที่บริการ (Space Provider) และผู้อำนวยและประสานในการเข้าถึงความรู้ (Facilitator) ดังนั้นโครงการศูนย์ความรู้แห่งชาติจำเป็นต้องกำหนดแนวความคิดโค...
พัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการศึกษา (GIS)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-07-22)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีโรงเรียนที่อยู่ภายใต้การดูแลทั่วประเทศจำนวนมาก จึงมีการนำเทคนิคแผนที่การศึกษา (School Mapping) เชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาใช้บริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียน ปัจจุบันทางหน่วยงานได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงคุณภาพ และแสดงผลแผนที่ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นภาพรวมจากข้อมูลการวิเคราะห์ต่างๆ อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเพื่อใช้เป็นระบบกลางในการวางแผน หรือวางกลยุทธ์การบริหารต่างๆ โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กที่มีสังกัดภายใต้การ...
วิเคราะห์ ปรับปรุงระบบกำหนดแผนที่ที่ตั้งสถานศึกษา (School Mapping) เพื่อเสริมสร้างโอกาส คุณภาพและความเท่าเทียมทางการศึกษา
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-07-22)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความต้องการจัดทำระบบแผนที่โรงเรียน (school mapping) ขึ้นทั่วประเทศ ตามแนวคิดที่จะจับกลุ่มและพัฒนาโรงเรียนประถมที่มีขนาดเล็ก (โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 60 คน) ภายใต้สังกัดของ สพฐ. ให้มีศักยภาพในการให้บริการและเตรียมความพร้อมความเหมาะสมด้านการศึกษาในแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายในการให้การศึกษากับนักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ต้องได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับทุนจาก สพฐ. ให้ออกแบบระบบกำหนดแผนที่ที่ตั้งสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างโอกาส คุณภาพ และความเท่าเทียมทาง...
วิจัยและออกแบบระบบทดสอบความรู้ด้านภาษาไทยสำหรับประชาชนทั่วไป ในระบบออนไลน์
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติที่เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพของคนในชาติ และเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารที่สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องจะทำให้ผู้ใช้ภาษาสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำในภาษาไทยประกอบด้วยเสียง รูปพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และความหมาย ร้อยเรียงเป็นประโยค ประโยคหลายประโยคร้อยเรียงกันเป็นข้อความ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของภาษา นอกจากนี้ระดับภาษาก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ผู้ใช้ควรใช้ให้เหมาะสมแก่กาลเทศะและบุคคล การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องถือเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้อง...
วิจัยเพื่อติดตามและปรับปรุงกระบวนการคัดกรองและการจัดสรรเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไขแก่นักเรียนยากจนในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-17)
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาและติดตามระบบการคัดกรองและการจัดสรรเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข เพื่อให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาสามารถช่วยเหลือนักเรียนในสังกัด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในปีการศึกษา 2562 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การคัดกรองนักเรียนยากจนอาศัยเครื่องมือการวัดรายได้โดยอ้อม (Proxy Means Test) ที่พัฒนาขึ้นใหม่ รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะในเรื่องอัตราการอุดหนุนและเงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนยากจนในแต่ละระดับการศึกษา This report aims to develop and monitor effecti...