วิจัยและออกแบบระบบทดสอบความรู้ด้านภาษาไทยสำหรับประชาชนทั่วไป ในระบบออนไลน์
by ศศิพร อุษณวศิน
วิจัยและออกแบบระบบทดสอบความรู้ด้านภาษาไทยสำหรับประชาชนทั่วไป ในระบบออนไลน์ | |
Research and Development of online Thai language testing system for public users | |
ศศิพร อุษณวศิน | |
2563-06-30 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติที่เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพของคนในชาติ และเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารที่สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องจะทำให้ผู้ใช้ภาษาสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำในภาษาไทยประกอบด้วยเสียง รูปพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และความหมาย ร้อยเรียงเป็นประโยค ประโยคหลายประโยคร้อยเรียงกันเป็นข้อความ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของภาษา นอกจากนี้ระดับภาษาก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ผู้ใช้ควรใช้ให้เหมาะสมแก่กาลเทศะและบุคคล การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องถือเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เนื้อหาสาระด้านภาษาไทยที่ผู้ใช้ควรเรียนรู้ ได้แก่ ชนิดและหน้าที่ของคำ ชนิดและหน้าที่ของวลี การออกเสียง ไวยากรณ์ การเรียงความ และกฎเกณฑ์ทางภาษาอื่น ๆ นอกจากนี้ ผู้ใช้ภาษาควรเรียนรู้วัฒนธรรมไทยที่ถ่ายทอดผ่านภาษาไทยอันงดงามด้วย เช่น วรรณคดี วรรณกรรม วรรณกรรมท้องถิ่น เพลงกล่อมเด็ก สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตย-สภา พ.ศ. ๒๕๕๘ คือ การอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม การส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น การจัดการศึกษาอบรมและพัฒนาทางวิชาการเกี่ยวกับภาษาไทย และการให้บริการทางวิชาการแก่ส่วนราชการ สถาบันการศึกษา และประชาชนในการพัฒนาความรู้ทางด้านภาษาไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานวัดความรู้ด้านภาษาไทยสำหรับประชาชนทั่วไปใช้วัดระดับความรู้ทางด้านภาษาไทยได้ด้วยตนเองผ่านแบบทดสอบในระบบออนไลน์ (online) ทางเว็บไซต์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา (www.royin.go.th) ซึ่งผลการทดสอบนี้ ผู้ทดสอบสามารถนำไปปรับปรุงและพัฒนาความรู้ด้านภาษาไทยและการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การพัฒนาความสามารถด้านการใช้ภาษาไทยของตนเองในอนาคต และการอนุรักษ์ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติไทยต่อไป Thai language presents our nation, culture, society, etiquette, beliefs, and economics. It is a national identity that creates unity among people in the nation. Thai language is a tool for communication for common understanding and good relationships among us. Correct and proper use of the Thai language will enable us to communicate effectively. Thai words consist of sounds, consonants, vowels, tonal sounds, and meanings. There are language rules for constructing correct sentences and phrases in Thai language. Thus, listening, speaking, reading and writing correct Thai language are important skill of Thai people that must be mastered in. The study of Thai language includes learning about various language rules, word type, phrase types, the appropriate use word and phrases, pronunciation, grammar and writing essays. In addition, important knowledge of Thai cultures pronunciation, grammar and writing essays. In addition, important knowledge of Thai cultures can also be studied via the language used in national and local literatures, novels and lullabies. One of the main responsibilities of Office of the Royal Society according to the Royal Society Act (2015) is to maintain and promote the learning and correct use of Thai language, which can be done through providing a number of seminars, trainings and academic service to government organizations, schools, universities and communities. As part of this mission, the Office of the Royal Society has developed an online test system on www.royin.go.th to evaluate people’s level of Thai language proficiency. The result and evaluation of the online test can help people to be more understanding about Thai language and how to use the language correctly and effectively, which helps to conserve Thai language as a national language of Thailand. |
|
ระบบทดสอบความรู้ด้านภาษาไทย
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ทดสอบความรู้ด้านภาษาไทยสำหรับประชาชนทั่วไป ระบบออนไลน์ |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/851 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|