• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   TU-RAC Repository Home
  • สาขาการศึกษา
  • โครงการวิจัย
  • View Item
  •   TU-RAC Repository Home
  • สาขาการศึกษา
  • โครงการวิจัย
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of TU-RAC RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateBy Submit DateResource TypesProject TypesResearch SectorsSubjectsTitlesAuthorsClientsFundersThis CollectionBy Issue DateBy Submit DateResource TypesProject TypesResearch SectorsSubjectsTitlesAuthorsClientsFunders

My Account

LoginRegister

การพัฒนาชุดตรวจคัดกรองผู้มีความบกพร่องในการเรียนรู้โดยใช้เสียงพูดภาษาไทยและการตอบคำถามการคำนวณสำหรับคนไทย: เฟสที่ 1 พัฒนาชุดตรวจคัดกรอง paper based

by จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต

Title:

การพัฒนาชุดตรวจคัดกรองผู้มีความบกพร่องในการเรียนรู้โดยใช้เสียงพูดภาษาไทยและการตอบคำถามการคำนวณสำหรับคนไทย: เฟสที่ 1 พัฒนาชุดตรวจคัดกรอง paper based

Other title(s):

Development of Automated Learning Disability Screening Test Using Analysis of Speech, Language, and Mathematical Performance for Thai: Phase 1 Development of Paper Based Screening Test

Author(s):

จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต

Client:

บริษัท เซอร์ทิส จำกัด

Publisher:

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Issued date:

2563-08-28

Research Sector:

สาขาการศึกษา (Education sector : ED)

Project Type:

โครงการวิจัย

Project ID:

2561A00041

Project Name:

การพัฒนาชุดตรวจคัดกรองผู้มีความบกพร่องในการเรียนรู้โดยใช้เสียงพูดภาษาไทยและการตอบคำถามการคำนวณสำหรับคนไทย: เฟสที่ 1 พัฒนาชุดตรวจคัดกรอง paper based

Project Status:

สิ้นสุดโครงการ

Abstract:

ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) คือความบกพร่องของกลุ่มบุคคลที่ประสบปัญหาทางด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การให้เหตุผล และทักษะเชิงคณิตศาสตร์ โดยเด็กที่ป่วยเป็นโรค LD จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติตั้งแต่ช่วงอายุ 3-5 ปี สำหรับชุดตรวจคัดกรองผู้ป่วย LD ในระยะแรกเริ่มมีการพัฒนาขึ้นใช้สำหรับในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาเดนิช แต่ยังไม่มีการพัฒนาขึ้นสำหรับภาษาไทยคณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบและพัฒนาชุดตรวจคัดกรองสำหรับเด็กไทยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค LD โดยใช้หลักการทางภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และความจำ โดยแบ่งเป็น 6 หัวข้อ ได้แก่ การอ่านอย่างรวดเร็ว (rapid naming) การถอดรหัสคำ (decoding) การตระหนักรู้ในหน่วยคำ (morphological awareness) การตระหนักรู้ในระบบเสียง (phonological awareness) คณิตศาสตร์ (mathematics) และความจำ (memory) ซึ่งสามารถจำแนกได้อีกเป็น 24 หัวข้อย่อย เบื้องต้นได้ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างควบคุม 7 คน ช่วงอายุระหว่าง 5-12 ปี จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายทางเมื่อมีการวิเคราะห์ซ้ำ (N-way repeated measure ANOVA) พบว่า แบบทดสอบย่อยในบางหัวข้อจำเป็นต้องถูกแก้ไข เพื่อให้มีระดับความยากง่ายใกล้เคียงกับชุดทดสอบอื่น เช่น ชุดทดสอบการถอดคำที่มีความถี่สูง และชุดการทวนคำสั่ง นอกจากนี้การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis: PCA) พบว่า เมื่อเลือกองค์ประกอบหลักจาก 3 องค์ประกอบแรกโดยการลดตัวแปรเหลือ 11 ตัวแปรจาก 37 ตัวแปรยังคงการกระจายตัวของข้อมูลจากเดิมอยู่ถึง 87.5% โดยผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักช่วยให้สามารถลดจำนวนตัวแปรที่ใช้ในการทดสอบเมื่อพัฒนาชุดทดสอบจากรูปแบบ paper-based ให้เป็นแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนที่ใช้เวลาทดสอบที่สั้นลง Learning disabilities (LD) refers to a group of people with difficulty in listening, speaking, reading, writing, reasoning, and mathematical abilities. LD children began to show deficits after 3-5 year-olds. Early identification using paper-based test for LD children are developed in many languages such as English, Chinese, and Danish. So, we developed a new test for Thai LD children using linguistics, mathematics, and memory criteria, composed of 6 different tests (totally 24 different subtests) i.e., rapid naming, decoding, morphological awareness, phonological awareness, mathematics, and memory. In pilot study on 7 normal children (5-12 years old), we examined N-factor balanced ANOVA to carry out analysis and found that some subtests are need to be modified because it easily to figure out, i.e., high-frequency word decoding and verbal instruction. Principal components analysis show that first 3 principal components (11 parameters out of 37 parameters) can keep up to 87.5% variation of data. These analysis can allows us to decrease the number of variables in paper-based testing for developing into a less time-consuming smartphone application.

Keyword(s):

พัฒนาชุดตรวจคัดกรอง
ผู้มีความบกพร่องในการเรียนรู้
ชุดตรวจคัดกรอง paper based
บริษัท เซอร์ทิส จำกัด

Resource type:

รายงานวิจัย

Type:

Text

Language:

tha

Rights:

เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

Access rights:

บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้

Rights holder(s):

บริษัท เซอร์ทิส จำกัด

URI:

https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/889
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

type-icon
View
no fulltext.doc ( 21.50 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • โครงการวิจัย [11]

Thammasat University Libraries
2 Prachan Road, Phranakorn, Bangkok 10200
Tel. 0-2986-9612 ext. 1305
Copyright © Thammasat University. All Rights Reserved.
 

Thammasat University Libraries
2 Prachan Road, Phranakorn, Bangkok 10200
Tel. 0-2986-9612 ext. 1305
Copyright © Thammasat University. All Rights Reserved.