วิจัยและออกแบบระบบทดสอบความรู้ด้านภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ออนไลน์
by ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิพร อุษณวศิน
วิจัยและออกแบบระบบทดสอบความรู้ด้านภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ออนไลน์ | |
Research and development of online Thai language test system for high school and undergraduate students | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิพร อุษณวศิน | |
2561 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติที่เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและตรงตามจุดหมาย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิด ความต้องการและความรู้สึก การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องและอย่างคล่องแคล่ว มีวิจารณญาณและมีคุณธรรมจะทำให้ผู้ใช้สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิภาพผล ภาษาไทยมีส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระที่ผู้ใช้ภาษาจะต้องรู้และใช้ภาษาให้ถูกต้อง ได้แก่ ประเภทของคำ หน้าที่ของคำ ประเภทของวลี หน้าที่ของวลี ระบบการออกเสียง ไวยากรณ์ การเรียงความ และกฎเกณฑ์ทางภาษาอื่น ๆ นอกจากนั้น วรรณคดีและวรรณกรรม ตลอดจนบทร้องเล่นของเด็ก เพลงกล่อมเด็ก ปริศนาคำทาย เพลงพื้นบ้าน วรรณกรรมพื้นบ้าน เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมซึ่งมีคุณค่าต่อการเรียนภาษาไทย เราจึงต้องเรียนวรรณคดีวรรณกรรม ภูมิปัญญาทางภาษา ที่ถ่ายทอดความรู้สึก นึกคิด ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องราวของสังคมในอดีต และความงดงามของภาษา ในบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรองประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง ความภูมิใจในสิ่งที่บรรพบุรุษได้สั่งสมและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน คำในภาษาไทยประกอบด้วยเสียง รูปพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และความหมาย ส่วนประโยคเป็นการเรียงคำตามหลักเกณฑ์ของภาษา และประโยคหลายประโยคเรียงกันเป็นข้อความ นอกจากนั้นคำในภาษาไทยยังมีเสียงหนัก เบา มีระดับของภาษา ซึ่งใช้ให้เหมาะแก่กาลเทศะและบุคคล ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ตามสภาพวัฒนธรรมของกลุ่มคน ตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ การใช้ภาษาเป็นทักษะที่ผู้ใช้ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การเขียน การพูด การฟัง และการดูสื่อต่าง ๆ รวมทั้งต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะนำให้เราสามารถดำรงชีวิตและประกอบกิจกรรม หรือกิจการงานร่วมกันในสังคมประชาชาติได้อย่างสันติสุข ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง ทางสังคมและเศรษฐกิจ จากความเป็นมาเหล่านี้ ทางสำนักงานราชบัณฑิตยสภา โดยฝ่ายวิชาการภาษาไทย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสนับสนุนให้คนไทยทุกคน ไม่ว่าวัยใด เพศใด หรือชาวต่างชาติที่สนใจในภาษาไทย ก็ตามได้ มีแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย และได้ทดสอบตัวเองว่ามีความรู้ภาษาไทยในระดับใด อันนำไปสู่การพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาไทยของตนเองในอนาคต และเพื่อเป็นรักษาภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย อันเป็นที่มาของโครงการพัฒนาระบบจัดการข้อสอบ สนับสนุนการสอบ และวิเคราะห์การสอบสำหรับข้อสอบวิชาภาษาไทยนี้ According to the Office of the Royal Society, a standardized Thai language learning project for high school and undergraduate students been set up. The Thai standard for high school and undergraduate students has been set up at primary, secondary and secondary levels. In this project, an e-learning system for Thai language education is developed to support Thai language examination. As a research topic, we study adaptive learning which is a major topic in learning technology. An international publication is expected to publish. |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/671 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|