การพัฒนาการปลูกสมุนไพรไทยตามมาตรฐานและเทคโนโลยีการสกัดสมุนไพรไทยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกรรายย่อย
by ดุสิต อธินุวัฒน์
การพัฒนาการปลูกสมุนไพรไทยตามมาตรฐานและเทคโนโลยีการสกัดสมุนไพรไทยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกรรายย่อย | |
Development of Standard Agronomic Practice and Extraction Technology of Thai Herb for Increasing Small Farmer Income | |
ดุสิต อธินุวัฒน์ | |
2022-10-27 | |
สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
|
บัวบกเป็นสมุนไพรที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 4 สุดยอดสมุนไพรไทย ที่ส่งเสริมให้ทำวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการรักษาโรคและการพัฒนาสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจของประเทศไทย โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดการธาตุอาหารที่มีผลต่อสารสำคัญในบัวบก, พัฒนาวิธีการสกัดสารจากบัวบกให้มีสาร pentacyclic triterpenes ปริมาณสูง ด้วยเครื่องไมโครเวฟในระดับอุตสาหกรรมขนาดย่อมโดยใช้ตัวทำละลายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสเปรย์สมานแผลจากสารสกัดบัวบก ผลการวิจัยพบว่า การใส่ปุ๋ยตามความต้องการของบัวบก 16-8-8 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เสริมเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา 100 กก./ไร่ มีผลทำให้บัวบก 4 สายพันธุ์ (ระยอง นครปฐม นนทบุรี และ นครศรีธรรมราช) ที่ปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง (ชุดดินบางเลน) และที่ปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ (ชุดดินโคราช) มีการเจริญเติบโต ปริมาณผลผลิต และมีปริมาณสารสำคัญมากที่สุด แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ย 8-4-4 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เสริมเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา 100 กก./ไร่ สูตรนี้จึงเหมาะสมในการเป็นสูตรสำหรับแนะนำให้แก่เกษตรกรนำไปใช้ในกระบวนการผลิตบัวบกคุณภาพสูงต่อไป เมื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการใส่ปุ๋ยสูตรแนะนำ เปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยตามการปฏิบัติของเกษตรกร ในการผลิตบัวบกพันธุ์นครปฐมในสภาพแปลงเพาะปลูกบัวบก อ.บางเลน จ.นครปฐม พบว่า การใส่ปุ๋ยสูตรแนะนำ มีผลทำให้บัวบกมีการเจริญเติบโต ปริมาณผลผลิต และมีปริมาณสารสำคัญมากกว่าการใส่ปุ๋ยตามการปฏิบัติของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ การใส่ปุ๋ยสูตรแนะนำ ทำให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ สารสำคัญเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์ ต่อมาได้ปรับปรุงวิธีการเตรียมสารสกัดบัวบกที่มีสาร pentacyclic triterpenes ปริมาณสูง โดยการใช้ hydrophobic resin ทดแทนชนิด LXA1180 ซึ่งมีราคาถูกกว่า Diaion® HP-20 ที่ใช้ในวิธีการที่เคยมีรายงานมาแล้ว ประมาณ 5 เท่า โดยการศึกษาเปรียบเทียบการแยกสาร pentacyclic triterpenes ในสารสกัดบัวบกด้วยคอลัมน์ชนิด LXA1180 และ Diaion® HP-20 และลดขั้นตอนการฟอกสีสารสกัดด้วยผงถ่าน โดยการศึกษาตัวทำละลายในการเตรียมสารสกัดที่สามารถลดปริมาณการสกัดคลอโลฟิลล์จากบัวบก เพื่อนำสารสกัดที่ได้มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสเปรย์สมานแผลจากสารสกัดบัวบก สารสกัดที่เตรียมได้มีสีน้ำตาลและมีปริมาณ total pentacyclic triterpenes เท่ากับ 3.0 mg/mL เมื่อวิเคราะห์ด้วย HPLC เมื่อนำสารสกัดมาแยกด้วยคอลัมน์ที่บรรจุด้วย Diaion® HP-20 และ LXA1180 พบว่า Diaion® HP-20 มีประสิทธิภาพในการแยกสาร pentacyclic triterpenes ได้ดีกว่า LXA1180 เล็กน้อย และสารสกัดที่แยกได้จากคอลัมน์ทั้งสองไม่ต้องนำมาฟอกสีอีกครั้ง แต่เมื่อคำนึงถึงต้นทุนการผลิตระหว่างการใช้ Diaion® HP-20 และ LXA1180 จึงเลือกใช้ LXA1180 เพราะต้นทุนถูกกว่ามาก เมื่อเพิ่มขนาดการผลิตสารสกัดจะได้สารสกัด 5.05 g (คิดเป็น 2.25% yield) ต่อการแยกสาร 1 คอลัมน์ที่ใช้เรซิน 1 kg โดยสารสกัดที่ได้มีปริมาณ total pentacyclic triterpenes เท่ากับ 62.0% และคำนวณต้นทุนค่าวัสดุสารเคมีที่ใช้ได้ในการผลิตสารสกัดเบื้องต้นได้เท่ากับ 1,514 บาท ต่อการผลิตสารสกัด 5 g ในการพัฒนาตำรับสเปรย์ก่อฟิล์มสมานแผลโดยใช้สารสกัดบัวบกที่เตรียมได้เป็นตัวยาหลัก และในตำรับได้เพิ่มสารสกัดจากเปลือกผลมังคุดที่มีปริมาณ α-mangostin เท่ากับ 63.0% w/w เป็นตัวยารอง โดยกำหนดให้สูตรตำรับมีความเข้มข้นของ total pentacyclic triterpenes และ α-mangostin เท่ากับ 0.30% และ 0.01% w/v ตามลำดับ และทดลองใช้ Eudragit® E100 เป็นสารก่อฟิล์ม และใช้ sorbitol, glycerin และ PEG 400 เป็น plasticizer พบว่าปริมาณสารก่อฟิล์มที่เหมาะสมที่สุดในตำรับคือ 2.5% w/v Eudragit® E100 และ plasticizer ที่เหมาะสมคือ 20% w/v glycerin และ 5% w/v PEG 400 จากการทดสอบความคงตัวของตำรับที่อุณหภูมิห้อง (30 ± 2 °C) และสภาวะเร่ง (45 ± 2 °C, 75% HR) เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ พบว่าตำรับสเปรย์ก่อฟิล์มสมานแผลสารสกัดบัวบกมีความคงตัวดีทั้งทางกายภาพและทางเคมี ดังนั้นผลิตภัณฑ์ต้นแบบสเปรย์สมานแผลสารสกัดบัวบกจึงมีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ต่อไป |
|
สมุนไพรไทย
การสกัดสมุนไพรไทย เกษตรกรรายย่อย |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1126 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View No fulltext.docx ( 12.11 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|