กรอบแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี (Pathumthani Smart City Roadmap)
by ภาวิณี เอี่ยมตระกูล
กรอบแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี (Pathumthani Smart City Roadmap) | |
Pathumthani Smart City Roadmap | |
ภาวิณี เอี่ยมตระกูล | |
2564-10-07 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
จังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่ปริมณฑลที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นเมืองมหาวิทยาลัย เมืองของการอยู่อาศัย และเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนถ่ายระบบคมนาคมขนส่งในระดับภูมิภาค ตลอดจนมีแผนพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งมวลชนทางรางเชื่อมต่อศูนย์กลางธุรกิจของเมืองกับชุมชนชานเมืองให้เกิดประสิทธิภาพในการเดินทางในอนาคต ทำให้เกิดแรงดึงดูดให้เกิดความต้องการด้านการเดินทางของประชาชนไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของเขตเมือง ส่งผลต่อรูปแบบการลงทุนทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของภาครัฐ ในการรองรับความต้องการของประชาชนและแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อประชาชน ตลอดจนรองรับการลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องการสร้างศูนย์การค้าและพาณิชยกรรมขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และปัญหาความปลอดภัยทางถนน ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วที่ยังคงเป็นปัญหาเรื้องรังที่ต้องเร่งแก้ไข ดังนั้น ด้วยวิธีการแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องข้ามเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) จึงเป็นแนวคิดที่ตอบโจทย์ต่อการพัฒนาเมืองในยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในการนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้จำเป็นต้องกำหนดกรอบแนวทางของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อใช้เป็นกรอบสำหรับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรู้เกี่ยวกับแนวทางที่เกิดขึ้นอนึ่ง โครงการกรอบแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี (Pathumthani Smart City Roadmap) จึงรวบรวมกรณีศึกษาของเมืองอัจฉริยะ และทำการสังเคราะห์เปรียบเทียบวิธีการดำเนินงานเพื่อให้เห็นประสบความสำเร็จของการพัฒนาเมือง ซึ่งสามารถสรุปประเด็นสำคัญของการพัฒนาทั้งหมด 5 ประเด็น ได้แก่ 1) จุดเริ่มต้นและเป้าหมายของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 2) แผนยุทธศาสตร์ของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 3) คณะกรรมการหรือมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 4) การสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และ 5) กฎหมายเพื่อความปลอดภัยของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยจากการถอดบทเรียน และการสังเคราะห์ข้อมูลสามารถพิจารณาได้ว่า ประเทศไทยมีองค์ประกอบที่จำเป็นต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะครอบคลุมทั้งหมด แต่ยังขาดการบูรณาการฐานข้อมูลและวิธีการทำงานร่วมกันที่ยังไม่มีเอกภาพ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีกว่าร้อยละ 67.5 ไม่ทราบถึงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะมาก่อน จึงทำให้การผลักดันของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะยังไม่มีประสิทธิผล นอกจากนี้จากการสังเคราะห์ผลการดำเนินงาน ยังพบว่า ภาพรวมประชาชนในจังหวัดปทุมธานีมีความเข้าใจอยู่ระดับ 2.74 หมายความว่า ประชาชนมีระดับความเข้าใจอยู่ในระดับน้อยถึงระดับปานกลาง จึงทำให้ขาดการยอมรับจากภาคประชาชนอย่างชัดเจน ดังนั้น เพื่อสร้างกรอบแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของจังหวัดปทุมธานีให้เกิดความชัดเจนและมีทิศทางที่มุ่งเป้าต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน จึงต้องสร้างการบูรณาการร่วมกันของทำงาน โดยพื้นที่มหาวิทยาลัยจะต้องถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ฐานสำหรับการสนับสนุนข้อมูลเพื่อช่วยภาครัฐในการตัดสินใจบนฐานของข้อมูลเชิงวิชาการและเชิงวิจัย เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดเชิงธุรกิจจากนักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่ต้องการแก้ไขปัญหาของเมือง โดยภาครัฐ ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กรอบยุทธศาสตร์ และส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้วยการกำหนดให้พื้นที่จังหวัดเป็นพื้นที่ต้นแบบเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ให้ภาคการศึกษาและภาคเอกชนสร้างการมีส่วนร่วมของการพัฒนาเมือง ภาคการศึกษาทำหน้าที่ในการสร้างสรรค์ทรัพยากรคนและนวัตกรรมเมืองเพื่อให้ตอบโจทย์ต่อการแก้ไขปัญหาพื้นที่ โดยกำหนดให้พื้นที่มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่เริ่มต้นของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Prototype) หลังจากนั้น ขยายพื้นที่ไปยังพื้นที่โดยรอบ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ภาคเอกชน เตรียมพร้อมสำหรับการลงทุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยตอบโจทย์กับการแก้ไขปัญหาเมือง ซึ่งจะสามารถเห็นได้ว่า การแก้ไขปัญหาและพัฒนาเมือง จำเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วมและเห็นส่วนได้ส่วนเสียของการดำเนินงานชัดเจน ทั้งเป้าหมาย วิธีการ รูปแบบการดำเนินงาน ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนจังหวัดปทุมธานีให้เป็นเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย Pathum Thani Province is a metropolitan area that plays an important role as a university city. City of living and is the center of regional transportation change as well as having plans to develop a rail transport network that connects the business center of the city with suburban communities for future travel efficiency. Keywords: Smart City, Urban Framework Development, Smart Platforms causing attraction to the needs of the people to travel to various areas of the city, resulting in an investment in infrastructure and facilities of the government to meet the needs of the people and ways in promoting good quality of life for people. As well as supporting real estate investments related to the construction of large shopping centers and commerce. Also, there is traffic congestion. Environmental problems Safety problems in life and property and road safety issues Which is a problem arising from rapid urban development that is still an issue that needs to be resolved. Therefore, with the solution to the problem, it is necessary to cross to improve the quality of life of the people. Smart City development is a concept that meets modern urban development. However, in implementing the said concept, it is necessary to specify the framework for smart city development. To serve as a framework for policy formulation Strategy for urban development and relevant departments are aware of the guidelines that occur Incidentally, the project framework for the development of smart cities. Pathumthani Smart City Roadmap, therefore, compiles case studies of Smart City And synthesize and compare methods of operation to see the success of urban development Which can summarize all 5 developmental key points Including 1) the starting point and goal of smart city development, 2) strategic plan for smart city development, 3) committee or foundation for smart city development, 4) building cooperation for smart city development, and 5) law for Safety of smart city development. By taking off the lesson learn and data synthesis can be considered Thailand has all the necessary components for smart city development. But still lacking integration of databases and collaborative methods that are still unified as well as people in the area of Pathum Thani Province, more than 67.5 per cent are unaware of the development of smart cities before. Therefore, the push to smart city development is not effective. Also, from the synthesis of operations, it is found that the overall understanding of the people in Pathum Thani Province is at 2.74, meaning that the people have a low to medium level of understanding. Therefore, causing a lack of acceptance from the public sector clearly Therefore, to create a framework for the development of smart cities in Pathum Thani Province to be clear and have a direction aimed at creating a better quality of life for people. Therefore, must create the integration of work the university area must be designated as a base for information support to help the government make decisions based on academic and research data to create innovation and promote business expansion from students and the general public who want to solve problems of the city, with the government responsible for policy-making Strategic framework And promote infrastructure investment by specifying that the province area is the model area for smart cities in Thailand to provide space for the education and private sectors to participate in urban development The education sector is responsible for creating human resources and urban innovations to respond to problem-solving of the area. By specifying that the university area is the starting area of smart city development. After that, expand the area to the surrounding area to cover Pathum Thani province, the private sector is prepared to invest in innovation and technology to help solve urban problems. Which can be seen that Problem solving and urban development Need to create participation and see the stakeholder of the operation, including goals, methods, operations models. It is considered an important element that will drive Pathum Thani Province to be the smart city of Thailand. |
|
การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
กรอบแนวทางการพัฒนาเมือง แพลตฟอร์มอัจฉริยะ Smart City Urban Framework Development Smart Platforms |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1025 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|