Now showing items 41-60 of 70

    • type-icon

      พัฒนาข้าราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 

      สมคิด เลิศไพฑูรย์; สุรพิชย์ พรหมสิทธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำ “โครงการพัฒนาข้าราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน” เพื่อให้ผู้บริหารในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีความรู้ความสามารถที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เป็นไปโดยสอดคล้องกับทิศทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน บุคลากรของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องได้รับการเสริมสร้างสมรรถนะและพัฒนาขีดความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านต่างๆ ต้องมีความรู้ ความสามารถ ...
    • type-icon

      จัดทำคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายสำหรับหน่วยงานภาครัฐ 

      ภาคภูมิ ฤกขะเมธ; ศิกานต์ อิสสระชัยยศ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      โครงการจัดทำคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายสำหรับหน่วยงานภาครัฐ (Gender Responsive Budgeting: GRB) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) พัฒนาร่างคู่มือและทดลองนำร่างคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายในหน่วยงานนำร่อง 2 แห่ง ได้แก่ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการผลักดันให้มีการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายในหน่วยงานภาครัฐ การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการนี้มีผลผลิตที่เกิดขึ้น ได้แก่ คู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ...
    • type-icon

      เพื่อดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการของ สพพ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 

      พรทิพย์ พิมลสินธุ์; Pimolsindh, Pornthip (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของ สพพ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 และ (2) เพื่อดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำรายงานผลการสำรวจความพึงพอใจในการให้บริการ การสำรวจครั้งนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในประเภทของการวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) โดยประมวลและวิเคราะห์ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างผู้รับบริการ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ...
    • type-icon

      ศึกษาวิจัยการพัฒนารูปแบบเอกลักษณ์ส่วนพาณิชยกรรมและร้านค้าชุมชนในโครงการของการเคหะแห่งชาติ 

      นิติ รัตนปรีชาเวช; วิทวัส รุ่งเรืองผล; ระพีพรรณ คำหอม (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบเอกลักษณ์การดำเนินการร้านค้า กฎระเบียบ และกฎหมาย เกี่ยวกับการบริหารจัดการร้านค้าในชุมชนของการเคหะแห่งชาติและการจัดประโยชน์พื้นที่ค้าขายในชุมชนที่เหมาะสม และเพื่อจัดหาแนวทางการพัฒนารูปแบบส่วนพาณิชยกรรมของพื้นที่ และร้านค้าชุมชนในโครงการให้มีเอกลักษณ์ รวมทั้งเพื่อจัดทำแนวทางการจัดระเบียบผู้ประกอบการค้าขายในชุมชน โดยการศึกษาครั้งนี้ดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการในพื้นที่โครงการเคหะชุมชนและโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 36 ชุมชน และมีขอบเขตของการวิจัย ในการศึกษาสำรวจข้อมูลผู้ประกอบการร้านค้าชุมชน ...
    • type-icon

      ศึกษาเพื่อจัดทําแผนภาคในการพัฒนาแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้ ระยะที่ 1 

      นิจ ตันติศิรินทร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      นวัตกรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวพ้นประเทศกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (middle income trap) ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนและนโยบายในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการพัฒนาพื้นที่ในระดับภูมิภาค (regional development plan) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ (1) วิเคราะห์ศักยภาพของจังหวัดในแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้ และ (2) นำเสนอแผนพัฒนาระดับภูมิภาค (regional development plan) ในการพัฒนาแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่ ...
    • type-icon

      ทดแทนตำแหน่ง ปี 2558 

      สมบูรณ์ กุลวิเศษชนะ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการบุคลากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำเกณฑ์ในการสรรหาบุคลากรคุณภาพ (Talent) ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติสำหรับบุคคลคุณภาพ (Talent) กระบวนการในคัดเลือกและสรรหาบุคลากรคุณภาพที่จำเป็นในทุกตำแหน่งงานตามแต่ละหน่วยงานภายในองค์กรอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งจัดทำแนวทางการจัดทำแผนการพัฒนารายบุคคล (IDP) และแผนสับเปลี่ยนหมุนเวียนงานเพื่อสร้างประสบการณ์ การประเมินและติดตามผลการบริหารจัดการ
    • type-icon

      ร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี พ.ศ.2560-2564 

      ภาคภูมิ ฤกขะเมธ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      สตรีมีจำนวนและสัดส่วนมากกว่าครึ่งของประชากรในประเทศไทย และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การศึกษาความก้าวหน้าในการพัฒนาสตรีของไทยนี้ จึงเป็นโครงการวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานภาพของสตรีล่าสุด ติดตามความก้าวหน้าในการเข้ามามีส่วนร่วมของสตรีในกิจกรรมการพัฒนามิติต่างๆ เข้าใจและรับทราบถึงประเด็นปัญหาสําคัญๆ ซึ่งนําไปสู่การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสตรีในภาพรวมเพื่อประกอบการจัดทําแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรีห้าปี ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในพัฒนาสต ...
    • type-icon

      สำรวจความพึงพอใจจากผู้รับบริการของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 

      พรทิพย์ พิมลสินธุ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของสพพ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 และ(2) เพื่อดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ และจัดทำรายงานผลการสำรวจความพึงพอใจในการให้บริการ การสำรวจครั้งนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในประเภทของการวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) โดยประมวลและวิเคราะห์ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างผู้รับบริการ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ...
    • type-icon

      การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2560-2564) และแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2561-2564) 

      อัมพร ธำรงลักษณ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560 – 2564) และแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2561 – 2564) โดยได้ทำการศึกษาทบทวนยุทธศาสตร์ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาในปัจจุบัน วิเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มและทิศทางของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาจากเอกสารข้อมูลที่มีอยู่จากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาและจากแบบเก็บข้อมูลผลประมวลแบบสอบถามจากบุคลากรทั้งหมด ผลจากการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้บริหารระดับสูง การประชุมระดมสมองร่วมกับผู้บังคับบัญชากลุ่มงาน และผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารระดับสูงและผู้มีส่วนได้ส่วนเส ...
    • type-icon

      พัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนทฤษฎีใหม่เพื่อการพัฒนาพื้นที่ในขั้นที่ 2 ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

      อรพรรณ คงมาลัย; อัญณิฐา ดิษฐานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      งานวิจัยนี้มุ่งหมายที่จะพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนทฤษฎีใหม่เพื่อการพัฒนาพื้นที่ในขั้นที่ 2 ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพได้ถูกนำมาใช้ทั้งการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ โดยการทบทวนวรรณกรรมมุ่งทำความเข้าใจแนวคิดและหลักการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนทั้งในและต่างประเทศ ครอบคลุมตั้งแต่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ การรวมกลุ่มทางสังคม (social cohesion) วิสาหกิจชุมชน (community enterprise) และสหกรณ์ (cooperative) ทั้งนี้ ได้มีการคัดเลือกกรณีศึกษา 10 แห่งจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อถอดบทเรียนการนำทฤษฎีให ...
    • type-icon

      ประชาสัมพันธ์ผลงานศึกษาการพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ ขั้นที่ 2 

      อรพรรณ คงมาลัย; อัญณิฐา ดิษฐานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      งานวิจัยนี้ดำเนินการเพื่อศึกษาและพัฒนาสื่อการเผยแพร่องค์รู้ด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ตามแนวพระราชดำริ สู่กลุ่มเป้าหมายในวงกว้างทั้งประชาชนชนในพื้นที่ที่ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักพัฒนาชุมชน และหน่วยราชการเกี่ยวข้อง อาทิ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมการพัฒนาชุมชน เป็นต้น ผลการดำเนินงานในครั้งนี้ได้นำเสนอกิจกรรมและสื่อเผยแพร่ที่สำคัญ ได้แก่ (1) งานแถลงผลงานวิจัย “ร่วมวิจัยถวายพระองค์” ซึ่งแสดงผลงานวิจัยจาก 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2) ...
    • Thumbnail

      สำรวจความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กนอ. (Engagement Survey) ประจำปี 2560 

      โมไนยพล รณเวช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
    • type-icon

      ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กิจกรรมที่ 3 การดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ : จัดทำห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) ในระดับพื้นที่ 

      ศิญาณี หิรัญสาลี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การจัดทำห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐในระดับพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัดอันได้แก่ 1) อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ในประเด็นสังคมผู้สูงอายุ 2) อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในประเด็นการท่องเที่ยวชุมชน 3) อำเภอ เลิงนกทา จังหวัดยโสธร ในประเด็นเกษตรอินทรีย์ และ 4) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ในประเด็นวิสาหกิจชุมชน โดยได้ใช้เครื่องมือในกระบวนการคิดเชิงออกแบบเข้าไปสร้างให้เกิดการระดมความคิดเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหา ผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน 5 เดือนที่ผ่านมาเกิดขึ้นใน 2 ระดับ ทั้งในระดับ ผลลัพธ์ในเชิงกระบวนการ ...
    • type-icon

      การสร้างระบบและแนวทางการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายภายใต้ระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งชาติ 

      สุนิสา ช่อแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การเร่งสร้างเครือข่ายนวัตกรรมเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ดำเนินการเพื่อให้ตอบโจทย์การมีนวัตกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับสังคมไทย ด้วยความสำคัญดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการศึกษา “การสร้างระบบและแนวทางการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายภายใต้ระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งชาติ” ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนแรก พัฒนาตัวแบบ ขั้นตอนที่สอง วางแนวทางและรูปแบบการดำเนินงาน ขั้นตอนที่สาม ออกแบบเครื่องมือการประเมิน และขั้นตอนที่สี่ จัดทำโครงการนำร่อง จากผลลัพธ์ในการดำเนินโครงการ พบว่า (1) ตัวแบบระบบในการพัฒนาเครือข่ายนวัตกรรม ...
    • type-icon

      การปรับปรุงโครงสร้างและระบบบริหารงานจังหวัดให้มีศักยภาพสูงเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศในอนาคต (Thailand 4.0) 

      วสันต์ เหลืองประภัสร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การวิจัยภายใต้โครงการการปรับปรุงโครงสร้างและระบบบริหารงานจังหวัดให้มีศักยภาพสูงเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศในอนาคต (Thailand 4.0) มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาและปรับปรุงการกำหนดโครงสร้างและรูปแบบการบริหารงานของหน่วยงานของกระทรวง กรม ที่ไปตั้งอยู่ในภูมิภาคให้เหมาะสมกับบริบทแต่ละพื้นที่ อีกทั้งเพื่อศึกษาและปรับปรุงการกำหนดโครงสร้างและรูปแบบการบริหารงานของสำนักงานจังหวัดและสำนักงานอำเภอให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีขีดสมรรถนะในการจัดทำภารกิจตามอำนาจหน้าที่ เช่น การแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติไปเป็นยุทธศา ...
    • type-icon

      ประชาสัมพันธ์ผลงานศึกษาการพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ ขั้นที่ 2 

      อรพรรณ คงมาลัย; อัญณิฐา ดิษฐานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      งานวิจัยนี้ดำเนินการเพื่อศึกษาและพัฒนาสื่อการเผยแพร่องค์รู้ด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ตามแนวพระราชดำริ สู่กลุ่มเป้าหมายในวงกว้างทั้งประชาชนชนในพื้นที่ที่ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักพัฒนาชุมชน และหน่วยราชการเกี่ยวข้อง อาทิ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมการพัฒนาชุมชน เป็นต้น ผลการดำเนินงานในครั้งนี้ได้นำเสนอกิจกรรมและสื่อเผยแพร่ที่สำคัญ ได้แก่ (1) งานแถลงผลงานวิจัย “ร่วมวิจัยถวายพระองค์” ซึ่งแสดงผลงานวิจัยจาก 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2) ...
    • type-icon

      รณรงค์ปลุกจิตสำนึกเสริมสร้างธรรมาภิบาลร่วมต้านทุจริต 

      ประไพพิศ มุทิตาเจริญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) และเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบราชการ มีลักษณะเป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีที่ไม่มีฐานะเป็นกรมขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการในการเสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่น ซึ่งรวมถึงโครงสร้างระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ค่าตอบแทน และวิธีปฏิบัติราชการอื่น ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 โดยมีสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปร ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์ 

      พ.ต.ต. ดร.ชวนัสถ์ เจนการ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      การจัดตั้งศูนย์ประสานงานการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและlมานฉันท์เป็นโครงการของกระทรวงยุติธรรมโดยสำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติซึ่งเป็นการขับเคลื่อนนโยบายการสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์ตามกรอบยุทธศาสตร์20 ปี กระทรวงยุติธรรม ที่กำหนดให้มีหน่วยงานประสานงานระดับพื้นที่กับส่วนกลางเป็นศูนย์ประสานงานในการประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ต่างๆ และส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และสันติ วัฒนธรรม การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ทดลองวางระบบในการจัดการความขัดแย้งให้กับสำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉ ...
    • type-icon

      สำรวจความพึงพอใจของลูกค้าการประปาส่วนภูมิภาค ปีงบประมาณ 2561 

      อนันต์ ภาวสุทธิไพศิฐ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      โครงการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าการประปาส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ 2561 เป็นโครงการศึกษาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าปัจจุบันและกลุ่มประชาชนที่คาดว่าน่าจะเป็นลูกค้า กปภ. ในอนาคต โดยมีประเด็นสำรวจ คือ ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความต้องการ ความคาดหวัง รวมถึงความภักดี ทัศนคติของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ การบริการ ภาพลักษณ์และความรับผิดชอบสังคมของ กปภ. พบว่า ลูกค้าให้คะแนนความพึงพอใจในภาพรวมแก่ กปภ. ที่ระดับ 4.048 คะแนน (หรือร้อยละ 80.96) โดยสิ่งที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากที่สุดได้แก่ 1. ด้านการชำระค่าบริการและกระบวนการให้บริการ ...
    • type-icon

      จ้างเหมาบริการผู้เชี่ยวชาญทบทวนแผนที่นำทาง (Roadmap) การขับเคลื่อนเป้าหมายที่ 16 

      เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการยุติธรรม เพื่อให้สามารถอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในประเทศได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม นอกจากนี้แล้ว เป้าหมายที่ 16 ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และแผนแม่บทกระบวนการยุติธรรมฉบับที่ 3 อย่างไรก็ตาม การจะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ไปพร้อมกัน จำเป็นจะต้องมีแผนที่นำทาง (Road Map) ที่สามารถบูรณาการเป้าหมายของทุกนโยบายให้ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดเอกภาพในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังช่วยให้เกิดประสิทธิภ ...