จัดทำคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
by ภาคภูมิ ฤกขะเมธ; ศิกานต์ อิสสระชัยยศ
จัดทำคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายสำหรับหน่วยงานภาครัฐ | |
Practical Guidelines for Gender Responsive Budgeting in Public Sector | |
ภาคภูมิ ฤกขะเมธ
ศิกานต์ อิสสระชัยยศ |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2015 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
โครงการจัดทำคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายสำหรับหน่วยงานภาครัฐ (Gender Responsive Budgeting: GRB) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) พัฒนาร่างคู่มือและทดลองนำร่างคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายในหน่วยงานนำร่อง 2 แห่ง ได้แก่ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการผลักดันให้มีการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายในหน่วยงานภาครัฐ การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการนี้มีผลผลิตที่เกิดขึ้น ได้แก่ คู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายสำหรับหน่วยงานภาครัฐ และโครงการที่ปรับให้มีลักษณะเป็นงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชาย (GRB) จำนวน 5 โครงการ ซึ่งทั้งหมดเป็นโครงการในงบประมาณปี พ.ศ. 2559 กระบวนการจัดทำคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายสำหรับหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักในโครงการนี้ เริ่มพัฒนาด้วยการทบทวนวรรณกรรมจากต่างประเทศ ศึกษาโครงสร้างและพันธกิจของหน่วยงานนำร่อง ศึกษากระบวนการและผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้คำปรึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ริเริ่มโครงการในส่วนงานย่อย ๆ และรวบรวมปัญหาที่ได้จากการให้คำปรึกษา โดยได้ดำเนินการคู่ขนานกันไปทั้งสองหน่วยงานนำร่อง ข้อมูลที่ได้รวบรวมจากการดำเนินงานกับหน่วยงานนำร่องนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาคู่มือฯ เนื่องจากการจัดทำคู่มือฯ เน้นเพื่อนำไปใช้งานในหน่วยงานภาครัฐที่ส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้และความเข้าใจเรื่องการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชาย (GRB) จึงใช้การรวบรวมความคิดเห็นจากหน่วยงานนำร่องที่มีลักษณะดังกล่าว คือ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ซึ่งบุคลากรส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชาย โดยทำการจัดกิจกรรมต่าง ๆ นอกเหนือจากการให้คำปรึกษา อาทิ การเผยแพร่ (ร่าง) คู่มือฯ ทางเว็บไซต์ www.onec.go.th ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา การจัดกิจกรรมรับฟังข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) คู่มือฯ จากบุคลากรและผู้บริหาร จำนวน 71 คน และการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการและหัวหน้างานจำนวน 4 คน เพื่อใช้ประกอบการปรับ (ร่าง) คู่มือฯ และนำมาทดลองใช้สำหรับการพัฒนาโครงการให้มีลักษณะงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชาย (GRB) กับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จากการนำคู่มือฯ ไปทดลองใช้ในหน่วยงานนำร่องทั้งสองแห่งเพื่อพัฒนาโครงการให้มีลักษณะงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชาย (GRB) ได้ผลการพัฒนา ดังนี้ โครงการจากกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มีโครงการนำร่องจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพิทักษ์สิทธิสตรีและกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ วงเงินงบประมาณ 5.2 ล้านบาท และโครงการการมีส่วนร่วมของสตรีในการพัฒนาประเทศ วงเงินงบประมาณ 9 ล้านบาท ทั้งสองโครงการนี้เป็นโครงการที่เป็น GRB โดยมีข้อความที่บ่งชี้ความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมระหว่างหญิงชาย และมีการใช้ข้อมูลสถิติ ได้แก่ ข้อมูลสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง รวมทั้งมีความพยายามที่จะกำหนดกิจกรรมที่ตอบสนองต่อการแก้ปัญหา แต่ยังไม่ครบถ้วน และหลายกิจกรรมในโครงการยังขาดการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาที่ชัดเจน แม้การใช้ข้อมูลการวิจัยจะเป็นตัวอย่างที่ดี แต่ควรใช้งานวิจัยที่สะท้อนปัญหาใกล้เคียงกับสภาวะปัญหาปัจจุบันให้มากที่สุด เหตุผลเหล่านี้ทำให้กิจกรรมในโครงการไม่สอดคล้องกับข้อมูลปัญหาในหลักการและเหตุผล อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พบในโครงการของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว คือ การตระหนักต่อปัญหาของหญิง ชาย และเพศทางเลือก ซึ่งหากมีข้อมูลสถิติ ปัญหา หรืองานวิจัยที่สะท้อนปัญหาปัจจุบันและครอบคลุมทุกกิจกรรมหลักในโครงการที่มีกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกัน พร้อมกับปรับวิธีการและหาแนวทางแก้ปัญหาให้สอดคล้องครบถ้วน จะส่งผลให้โครงการสามารถตอบสนองปัญหาได้อย่างแท้จริง ในส่วนสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มีโครงการนำร่อง จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ วงเงินงบประมาณ 4.2 ล้านบาท โครงการการพัฒนานโยบายเสริมสร้างสมรรถนะกำลังคนรองรับโลกศตวรรษที่ 21 วงเงินงบประมาณ 1.83 ล้านบาท และโครงการศึกษารูปแบบความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา วงเงินงบประมาณ 0.81 ล้านบาท มีข้อสังเกตว่า โครงการทั้งสามไม่มีความเป็น GRB จึงเสนอให้ปรับแก้องค์ประกอบของโครงการโดยใช้วิธีการเพิ่มข้อความที่สะท้อนการคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ทั้งชายและหญิง การเพิ่มหรือระบุผู้เชี่ยวชาญด้านมิติหญิงชายและมีความรู้ทางการศึกษาในการประชุม เนื่องจากกิจกรรมในโครงการส่วนใหญ่เป็นการประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดทำร่างแผนฯ รวมทั้งปรับให้มีการใช้ข้อมูลสถิติการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและแนวโน้มต่าง ๆ ที่จะทำให้เห็นปัญหาชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของโครงการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ได้ให้ผู้จัดทำโครงการกำหนดประเด็นคำถามและค้นหาข้อมูลโดยเฉพาะตัวเลขที่บ่งชี้ปัญหาทางการศึกษา อาทิ ข้อมูลจำแนกเพศที่แสดงถึงอัตราการคงอยู่ของนักเรียนในแต่ละช่วงชั้น อัตราการขาดหายในแต่ละช่วงชั้นที่สำคัญในระบบการศึกษา เช่น จากระดับมัธยมศึกษาไปสู่ระดับอุดมศึกษา ซึ่งต้องมีการเก็บข้อมูลเชิงประเมิน (assessment) เพิ่มเติม หรือใช้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยการคุมตัวแปรที่สำคัญด้วยเพศ พร้อมวิเคราะห์บทบาทหญิงชายประกอบหากทำได้ ควบคู่ไปกับการใช้ข้อมูลการประเมินผลนโยบายการศึกษา ซึ่งจะทำให้เกิดการวิเคราะห์อันเป็นหัวใจสำคัญของการจัดทำแผนฯ ต่าง ๆ รวมทั้งสอดคล้องกับการทำ GRB ด้วย โดยข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดด้านข้อมูลในการทำแผนฯ ต่าง ๆ นั้น ผู้จัดทำโครงการอาจใช้วิธีการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จากการสัมมนาระดมสมอง หรือจากการวิพากษ์โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะการวิเคราะห์แนวโน้มของปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพื่อทำแผนฯ ระยะยาว ซึ่งอาจทำให้ได้ปัญหาและวิธีการตอบสนองที่อาจเกิดขึ้นได้และเป็นส่วนหนึ่งในเนื้อหาของแผนที่จะเกิดขึ้น จากการนำคู่มือฯ ไปใช้กับหน่วยงานนำร่องทั้งสองแห่งเพื่อพัฒนาโครงการให้มีลักษณะงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายนั้น ทำให้มีแนวทางในการปรับปรุงคู่มือฯ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยคู่มือฯ ที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงดังที่กล่าวมานั้น มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ GRB ที่อธิบายความหมายของ GRB บุคคลที่ควรเข้ามาเกี่ยวข้องกับ GRB ประเภทงบประมาณของ Rhonda Sharp และวงจรงบประมาณของ Budlender และ Hewitt ซึ่งนอกจากเพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการจัดทำโครงการที่มีลักษณะเป็น GRB แล้ว ประเภทงบประมาณของ Rhonda Sharp ยังเป็นการชี้โดยอ้อมให้เห็นว่างบประมาณของหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ที่มีมากกว่าร้อยละ 95 นั้นมีความสำคัญ หากหน่วยงานสามารถนำงบประมาณส่วนนี้มาจัดทำโครงการที่มีลักษณะเป็น GRB ได้ จะเป็นการนำ GRB เข้าสู่งบประมาณกระแสหลักของการพัฒนา สำหรับวงจรงบประมาณของ Budlender และ Hewitt จะทำให้เห็นช่องทางการริเริ่มจัดทำ GRB ว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการในขั้นตอนใดได้บ้าง ส่วนที่ 2 ขั้นตอนการจัดทำ GRB ในหน่วยงานภาครัฐ ที่อธิบายกระบวนการทั้งหมดในการจัดทำ GRB โดยอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งในส่วนของการริเริ่มและการประเมินผล เนื้อหาประกอบด้วย ลักษณะของ GRB ขั้นตอนการวิเคราะห์มิติหญิงชายในการจัดทำ GRB และเทคนิค 7 ประการของ Diane Elson ในส่วนนี้ผู้จัดทำได้เพิ่มเติม 6 ลักษณะของ GRB เพื่อให้หน่วยงานใช้ตรวจสอบโครงการว่ามีลักษณะเป็น GRB หรือไม่ และชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาโครงการให้เป็น GRB นั้น สามารถทำได้ในหลายลักษณะ โดยเฉพาะ GRB ที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้นในการดำเนินงานตามพันธกิจของหน่วยงาน อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ในการบริหารการพัฒนาในส่วนราชการต่าง ๆ ส่วนที่ 3 คำถามน่าสนุก ประกอบด้วยคำถาม จำนวน 12 ข้อ ที่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป เพื่อให้เห็นว่า GRB เป็นเรื่องง่ายและสนุก ทำให้มีการทบทวนเนื้อหาและส่งผลให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ GRB เพิ่มขึ้น ส่วนที่ 4 ข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดทำ GRB จะเป็นการแนะนำเครื่องมือและวิธีการตรวจสอบที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำ GRB ในหน่วยงานภาครัฐ เนื้อหาภายในประกอบด้วย การประเมินความพร้อมในการขับเคลื่อน GRB 4 วิถีทางในการจัดทำ GRB ในหน่วยงานภาครัฐ GRB Checklist ซึ่งในส่วนนี้จะเน้นช่องทางเชิงเทคนิคในการริเริ่มจัดทำโครงการที่มีลักษณะเป็น GRB โดยเฉพาะเมื่อมีข้อจำกัดเกี่ยวกับข้อมูล และที่สำคัญในส่วนนี้มี GRB Checklist เป็นผู้ช่วยสำคัญให้กับผู้จัดทำโครงการนำไปใช้พัฒนาโครงการให้เป็น GRB ว่าควรมีองค์ประกอบสำคัญใดบ้าง อนึ่ง คู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายนี้ จัดทำขึ้นเพื่อต้องการให้หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ นำไปใช้ในการจัดทำโครงการที่มีลักษณะเป็น GRB ดังนั้น จึงมีคำถามท้าทายปรากฏในส่วนต้นของคู่มือฯ ก่อนที่จะเข้าสู่สาระและองค์ประกอบที่สำคัญของคู่มือฯ และนำเสนอต่อด้วยประโยชน์ที่จะเกิดกับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำ GRB เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจ ส่วนในช่วงท้ายของคู่มือฯ เป็นคำอธิบายศัพท์ เพื่อให้ผู้สนใจได้พลิกหาความหมายเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างโครงการที่มีลักษณะเป็น GRB บรรจุไว้จำนวนหนึ่ง แต่ไม่มากจนทำให้คู่มือมีความหนา และไม่จูงใจให้หยิบมาอ่าน ดังนั้น หากแต่ละหน่วยงานจะนำคู่มือฯ นี้ไปใช้ ควรทำการปรับและเทียบเคียงให้ใกล้กับภารกิจของหน่วยงานนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการพัฒนาและทดสอบคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชาย (GRB) ในหน่วยงานนำร่องโดยเฉพาะสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้แฝงนัยยะของ การขับเคลื่อน ลงไปในกิจกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1) การประชุมกับผู้บริหาร 2) การอบรมและจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) การจัดกิจกรรมและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ (ร่าง) คู่มือGRB 4) การสร้างความรู้ความเข้าใจการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายให้แก่เจ้าหน้าที่ริเริ่มและจัดทำโครงการ รวมถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจในโครงการ 5) การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ เพื่อแก้ไข ปรับปรุง เขียนแผนงาน โครงการให้มีลักษณะเป็น GRB 6) การทดลองใช้ (ร่าง) คู่มือฯ ข้อสังเกตจากการทดลอง (ร่าง) คู่มือฯ ในการพัฒนาโครงการให้เป็น GRB นั้น พบว่าผู้รับผิดชอบโครงการส่วนใหญ่มีความตั้งใจที่จะพัฒนาโครงการให้เป็น GRB แต่ต้องได้รับความยินยอมและเห็นชอบจากผู้บริหารองค์การ ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนในการจัดทำโครงการ อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงภารกิจของหน่วยงาน ดังนั้น การประสานงานระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งจำเป็น พร้อมกับควรมีระบบการให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจ แม้ว่าผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นถึงวิธีบูรณาการทั้งการพัฒนาคู่มือและการขับเคลื่อนที่มีนัยว่าก่อให้เกิดประสิทธิผลก็จริง แต่การขับเคลื่อน GRB ในหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ยังยากที่จะขยายผลและมีความยั่งยืนการศึกษาครั้งนี้จึงมีข้อเสนอดังนี้ 1) แนวทางในระยะสั้น 1.1 จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณากำหนดรูปแบบและจัดสรรงบประมาณของประเทศ อาทิ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้บริหารสำนักงบประมาณ คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฯ และคณะกรรมาธิการฯ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกรัฐสภา) โดยควรชี้แจงให้เห็นถึงประโยชน์ของ GRB ที่มีต่อกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวอาจสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบันที่นำเสนอประเด็นเรื่องความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม นอกจากนี้อาจใช้พันธกรณีระหว่างประเทศเป็นเงื่อนไขหรือสร้างความชอบธรรมในการจัดทำ GRB ให้บรรดาผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ 1.2 ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับผู้จัดทำแผนงานโครงการในส่วนราชการ รวมไปถึงนักวิเคราะห์นโยบายและศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (Gender Focal Point: GFP) ของหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชี้แจงให้เห็นถึงประโยชน์ของ GRB ในแต่ละกลุ่มของสังคม 1.3 การขับเคลื่อน GRB ควรดำเนินงานในลักษณะการเป็นที่ปรึกษา เช่นเดียวกับที่ใช้ในโครงการนำร่อง เนื่องจากจะสามารถใช้การบูรณาการจากการทำ work shop และกิจกรรมอื่น ๆ อันจะมีส่วนช่วยทำให้เกิดความเข้าใจและพัฒนาทักษะในการเขียนแผนและโครงการให้เป็นรูปธรรมง่ายขึ้น โดยในระหว่างการทำกิจกรรมเหล่านั้นจะสามารถสอดแทรกความรู้และประโยชน์ที่จะได้รับจาก GRB เข้าไปได้ 1.4 ติดตามประเมินผลเบื้องต้น เพื่อหาแนวทางในการปฏิบัติที่ดีในการริเริ่มโครงการในหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ต้องชี้ให้เห็นว่าสามารถทำได้ไม่ยากและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน 1.5 สนับสนุนการศึกษาประเมินผล เพื่อชี้ให้เห็นว่าผลที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดผลดีอย่างไรกับหน่วยงาน เช่น คนในหน่วยงานเขียนแผนงานโครงการได้ดีขึ้น มีการตระหนักในการนำข้อมูลมาใช้ โดยเฉพาะข้อมูลแยกเพศ1.6 จัดระบบการให้รางวัล เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วม 1.7 ติดตามประเมินผลให้เห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าจะช่วยส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชายได้หรือไม่ หรือเพิ่มประสิทธิภาพหรือความโปร่งใสในระบบราชการมากน้อยเพียงใด 1.8 ศึกษาวิเคราะห์โครงการที่หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการที่อาจเข้าข่ายโครงการที่คำนึงถึงมิติหญิงชาย เพื่อช่วยส่งเสริมและขยายผลให้หน่วยงานต่าง ๆ เหล่านั้น 1.9 ส่งเสริมงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูล งานด้านการประเมินผล และจัดเก็บฐานข้อมูลของหน่วยงาน ทั้งนี้หากสามารถเชื่อมโยงถ่ายเทข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและสำนักงานสถิติแห่งชาติ ก็จะสามารถช่วยยกระดับให้มีฐานข้อมูลที่กว้างขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละหน่วยงานกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ 2) แนวทางระยะกลาง 2.1 นำแนวทางที่ได้จากการทดลองใช้กับหน่วยงานนำร่องมาขยายผลกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อทำให้เกิดคู่มือที่ได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานนั้น ๆ เป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ภายใต้คู่มือของแต่ละหน่วยงานก็จะสามารถพัฒนาโครงการเฉพาะของหน่วยงานนั้นเป็นกรณีศึกษาได้โดยตรง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งการริเริ่ม การดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น อันจะยืนยันผลลัพธ์ของการจัดทำ GRB ในลักษณะที่กว้างขวางมากขึ้น 2.2 ติดตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดทำ GRB รวมทั้งสำรวจหน่วยงานที่มีโครงการในลักษณะดังกล่าว เพื่อนำข้อมูลมาใช้เป็นหลักฐานยืนยันความสำเร็จที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะในหน่วยงานนำร่อง 2.3 ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและสนับสนุนการเป็นที่ปรึกษาในการนำคู่มือไปใช้ แม้ว่าจะไม่ใช่หน่วยงานนำร่อง 2.4 ยกระดับงานการศึกษาเรื่อง GRB ให้เป็นงานในเชิงวิชาการมากขึ้น โดยสร้างการยอมรับและขับเคลื่อนในกลุ่มนักวิชาการ เพื่อให้มองเห็นแนวทางในการพัฒนา โดยเฉพาะนักวิชาการที่ต้องการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารการพัฒนา หรือองค์ความรู้ด้านงบประมาณหรือการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ทั้งนี้ ควรส่งเสริมให้มีการจัดประชุมเชิงวิชาการให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป 2.5 ขยายผลในการสร้างเครือข่ายการจัดทำโครงการ GRB ไปในระดับท้องถิ่นและองค์กรพัฒนาเอกชน และระดับกลุ่มจังหวัด เพื่อช่วยในการริ่เริมจัดทำโครงการ 2.6 ส่งเสริมภาคส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานคู่ขนานกับหน่วยงานภาครัฐ หรือเป็นผู้ให้ทรัพยากรแก่หน่วยงานภาครัฐ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำ GRB รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ด้าน gender analysis เพื่อช่วยทั้งการริเริ่มและการประเมินผลโครงการ 2.7 พัฒนาความเชื่อมโยงของข้อมูลที่มีมิติหญิงชาย เพื่อขยับการขับเคลื่อนให้กว้างขวางขึ้น 2.8 ส่งเสริมการทำ gender analysis อย่างเป็นระบบมากขึ้นในหน่วยงานภาครัฐ 2.9 พัฒนาความเชื่อมโยงของระบบฐานข้อมูลจำแนกเพศโดยเน้นการแลกเปลี่ยนและสะสมองค์ความรู้ 2.10 จัดทำหลักสูตรกลางเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ GRB โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับผู้บริหาร ซึ่งอาจบรรจุไว้ในหลักสูตรนักบริหารระดับสูง (นบส.) ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) หลักสูตรการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับนักบริหารระดับสูง โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) หลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูงต่าง ๆ ของสถาบันพระปกเกล้า เป็นต้น รวมทั้งหลักสูตรในระดับที่สามารถจะนำไปใช้พัฒนาโครงการในส่วนราชการให้กับผู้เขียนแผนงานโครงการด้วย 2.11 ผลักดันให้สำนักงบประมาณจัดทำแบบฟอร์มรายละเอียดโครงการเพื่อเสนอของบประมาณที่ระบุถึงองค์ประกอบของความเป็นธรรม ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย 3) แนวทางระยะยาว ติดตามประเมินผลการจัดทำ GRB ในหน่วยงานนำร่องว่าช่วยส่งเสริมความเสมอภาคอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร รวมถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้น และรวบรวมผลลัพธ์ในเชิงการวิจัย เพื่อสรุปให้เห็นผลที่เกิดขึ้นทั้งในแง่ความเสมอภาค ประสิทธิผล และประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณจากการทำ GRB รวมทั้ง พัฒนากลไกสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของหน่วยงานที่จัดเก็บรายได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล หน่วยงานที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการตรวจสอบ และหน่วยงานที่สามารถดำเนินการจัดทำงบประมาณทั้งส่วนราชการ ท้องถิ่น และส่วนราชการระดับจังหวัด รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐที่เป็นผู้จัดสรรทรัพยากร The project 'Gender Responsive Budgeting (GRB) Handbook for Government Agencies' was conducted to fulfill the following objectives: 1) to develop and implement the draft of 'Gender Responsive Budgeting Handbook' in two pilot agencies, namely the Department of Women's Affairs and Family Development and the Office of the Education Council and 2) to examine methods and approaches to initiate the GRB within the government sector. The project has generated two outputs; that is, the draft of 'Gender Responsive Budgeting (GRB) Handbook for Government Agencies' and five pilot projects adjusted to meet GRB criteria. These projects are for fiscal year 2016 (FY2016). In relation to the GRB Handbook for Government Agencies, the project has begun with the literature review, plus the study of the structure and missions of pilot agencies and their budget processes and involving stakeholders. The gender responsive budgeting initiative workshops were subsequently organized, following by the discussion and consultation with projects’ writers of each department. The project has been conducted in two pilot agencies alongside each other. The data gathered while working with the pilot agencies are important for the development of the draft of 'Gender Responsive Budgeting (GRB) Handbook for Government Agencies'. This handbook will later be used in public agencies that mostly have little to no understanding of GRB. In regard to this reason, the Office of the Education Council was therefore selected as a pilot agency due to this particular character of its officers (i.e., the lack of GRB knowledge and experience of the officers). As such, many activities were conducted to educate the officers, including GRB consultation, dissemination of the draft of GRB handbook on the agency’s website (www.onec.go.th), discussion of the draft of GRB handbook with 71 officers including top-ranking executives, and interviews of four key officers—the department heads and managers. The data collected from these activities had been used for further adjustment of the handbook. Later, this draft was tested on the selected pilot projects at the Office of the Education Council and at the Department of Women's Affairs and Family Development. The Department of Women's Affairs and Family Development has two pilot projects, including the Women's and LGBT Rights Protection Project with a budget of 5.2 million baht and the Women Participation in National Development Project with a budget of 9 million baht. Both projects are characterized as GRB projects because of their gender-aware budget statements which allow them to address gender equity or equality, as well as the utilization of statistical data regarding violence against women. In addition, there has been an attempt to organize activities to tackle gender-related problems. However, some limitations exist and several projects’ activities lack clear and thorough analysis of the problems. Also, it is advisable that the projects employ research information that reflects relatively current problems or situation. Because of these weaknesses, the projects’ activities are to some extent irrelevant to their statements and rationales. Nonetheless, the results of the projects of the Department of Women's Affairs and Family Development underscore women's and LGBT's problems. Should the projects incorporate accurate statistical data, precise problem identification, up-to-date and coherent research information that involves all relevant targets, and proper methods to resolve the problems, they will eventually be able to effectively solve the problems. For the Office of the Education Council, there are three pilot projects—the National Education Plan project with a budget of 4.2 million baht, the Policy Development for Human Capital in the 21st Century project with a budget of 1.83 million baht, and the Study of Public-private Cooperation Models for reducing Educational Inequality project with a budget of 0.8157 million baht. Since none of these three projects are characterized as GRB, the suggestions for project adjustment according to GRB criteria were proposed as follows: (1) to incorporate gender-aware budget statements into the projects’ proposals, (2) to involve gender-sensitive and educational experts in the projects’ meetings (i.e., most activities in the projects are meetings), and (3) to employ statistical data and careful analyzation of the situation or problems. In in the National Education Plan project, for instance, the project administrators were assigned to set up questions and search for statistical data that pinpoint educational problems. Examples of the data include sex-disaggregated data in regards to presence and absence of students in each educational level (e.g., from high-school to university levels). In this case, some assessed data need to be collected or used with the control of gender. Also, analyses of the gender roles and the educational policy evaluation information should be incorporated. This will lead to the analysis of plans that correspond to gender-responsive budgeting. In case of having any limited data in the process of drafting/designing educational plans, the Office of the Education Council may pursue its data collection and analysis from brainstorming seminars. Additionally, the use of experts' comments on probable problems could be useful for formulating long-term plans. This project design process may result in the identification of problems and approaches to resolve them.The draft of 'Gender Responsive Budgeting Handbook for Government Agencies' consists of four main sections as follows: Part 1: Basic Information about Gender-Responsive Budgeting (GRB) This section provides the definition of Gender Responsive Budgeting, relevant stakeholders that should be involved in the GRB process, Rhonda Sharp's types of budget, and Budlender and Hewitt's budget cycle. The Rhonda Sharp's types of budget section indirectly point out that the budgets of other public agencies are accounted for more than 90 percent of all public budgets. Thus, if this money were to be spent on GRB characterized projects, it would bring GRB into the mainstream budget of the country. Lastly, the Budlender and Hewitt's budget cycle demonstrates potential channels to start gender-responsive budgeting. Part 2: Steps for implementing Gender-Responsive Budgeting in Government Agencies The section elucidates the entire process of GRB implementation with an introduction of necessary tools that may be used from the beginning to the end of the evaluation process. The section is composed of different contents, including the characteristics of gender-responsive budgeting, steps for gender analysis, and Diane Elson's seven tools/techniques. Six more key elements of gender-responsive budgeting were added to be used to recheck whether projects meet GRB criteria and to show that the development of GRB projects could be done in many ways to achieve efficiency and effectiveness as stated in each organization’s mission.Part 3: Fun FactsThere are 12 truly intriguing questions which are not too complex in this section. It simplifies academic components of gender responsive budgeting and highlights on their funny side. This section reviews the contents and leads to better understanding of GRB. Part 4: Notes for the Implementation of Gender-Responsive Budgeting This section introduces more about tools and project's checklists which are profoundly beneficial for the implementation of gender responsive budgeting in government agencies. The content of this section comprises an appraisal for agency’s readiness for the implementation of GRB, four approaches to start GRB, and a GRB checklist that provides technical means to start a GRB project when the limitation of data exists. As such, GRB checklist is considered a great helper in developing a GRB project. While the main purpose of the draft of GRB handbook is to persuade other public agencies to initiate their GRB characterized projects, it incorporated challenging questions in the opening part and subsequently major contents of the handbook. Moreover, the handbook highlights the benefits to be gained by relevant stakeholders once the GRB is implemented. Lastly, a glossary is provided at the final part of the handbook to ensure correct understanding of related vocabularies. There are also some interesting examples of GRB characterized projects in the handbook. Any agency wishing to use this handbook ought to thoroughly adjust and utilize the book according to the agency’s mission.The development and examination of the draft of 'Gender Responsive Budgeting Handbook' in the pilot agencies, especially in the Office of the Education Council, embedded the implication of GRB movement in various activities: 1) Meetings with the executive 2) Training and workshops 3) Arrangement of activities and making suggestions on the draft of 'Gender-Responsive Budgeting Handbook' 4) Providing knowledge and understanding of GRB for related officers, including those with power for making decisions 5) Discussion with projects writers/owners/implementers to amend/improve/write a plan to make the projects to be in line with GRB criteria 6) Testing the draft of 'Gender-Responsive Budgeting Handbook' There are some further notices from the trial use of the draft of GRB handbook to the pilot projects; that is, most officers are willing to develop and adjust the projects to meet GRB criteria. However, they need approval from the executives. Any change of organizations’ leaders and responsibilities may result in project discontinuation. Hence, it is essential that the Office of Education Council and the Department of Women's Affairs and Family Development regularly coordinate and work together. Additionally, any award presentation will motivate other agencies to cooperate. Despite having achieved the expected results as written in the objectives, there is a huge room for further improvement, particularly the possibility for GRB movement in other public agencies. In this regard, the next step is therefore to create GRB mechanism at agencies on national levels, to promote the results of this study especially the benefits observed when GRB was incorporated in different projects, and to encourage collaboration of various sectors related to the national budget process. This will gradually cultivate and maintain the practice of gender-responsive budgeting. While the results of the study demonstrate the successful development of the GRB handbook and the relatively effective movement of GRB in pilot agencies, it is still somewhat difficult to extend this movement to other public agencies. Hence, the study has proposed some policy recommendation as follows: 1) Short-term plan suggestion 1.1) To organize a seminar to provide knowledge and understanding about GRB for public officers who are involved in the budget-drafting process, such as heads of various government agencies, especially those of the Bureau of the Budget; Budget Committee; Council of Ministers; Legislature (and/or House of Representatives, Members of Parliament). It is necessary to explain the benefits of GRB that could occur to different groups in the society. These benefits may also correspond to one of the government major policies emphasizing the reduction of inequity and inequality in the society. Additionally, some international obligations may also be a reason to start GRB in public agencies. 1.2) To provide project writers or planners with more knowledge and understanding of GRB. This includes policy analysts and Gender Focal Point’s (GFP) staffs at each agency. It is also essential to elucidate the benefits of GRB to various groups of the society. 1.3) Any GRB movement should be done in the form of consultation. The pilot projects are good examples since it integrated workshops and other activities which lead to better understanding and development of GRB programs and projects, as well as more knowledge of GRB for officers. 1.4) To monitor and evaluate the project results. This is to search for an appropriate approach to start GRB projects in public agencies. In addition, it is important to point out to agencies that it is not that difficult to initiate and conduct the GRB in the agencies and that it is corresponding to the agencies’ responsibilities. 1.5) To support the project evaluation to be able to identify any outputs, outcomes, and benefits to the public agencies. For instance, officers are able to write a better plan for a project, and/or to realize the importance of gender-aggregated data. 1.6) To create a reward system to encourage agencies to participate in GRB initiation. 1.7) To monitor and evaluate the project results in order to answer two major questions—(1) Does the GRB results increase gender equity? (2) Or to what extent does it improve efficiency or transparency of the public sector? 1.8) To search for other GRB characterized projects in different agencies and conduct further analysis of project results. 1.9) To support any data analysis, assessment, and collection. Moreover, any linkage or transfer of data between public agencies and the National Statistical Office of Thailand (NSO) would help create bigger data bases, though this depends on agreements between the agencies and the NSO. 2) Middle-term plan suggestion 2.1) To utilize the approach that was used in the pilot projects in other public agencies. This would result in the development of GRB handbooks specified for each particular agency, as well as GRB projects for those agencies. Such developments would be beneficial for the collection of data throughout the process—project initiation, implementation, and results (i.e., both outputs and outcomes). This also shows the distribution of GRB outcomes in the public sector. 2.2) To monitor results of GRB projects and to survey other agencies that may have such projects. The results and surveyed information are considered important evidence to prove the accomplishments of GRB, particularly in pilot agencies. 2.3) To provide proper support for knowledge and understanding of GRB and to offer consultation for the use of GRB handbook, both for pilot and non-pilot agencies. 2.4) To academically enhance the GRB study through scholars, especially those specialized in organizational management, public budgeting, or public policy analysis. Academic conferences may be a means to start a movement for further acknowledgment. 2.5) To expand the GRB network to local governments and other private organizations so that they could initiate their GRB projects. 2.6) To provide other sectors that work alongside or provide necessary resources for the government with knowledge and understanding of GRB initiation and gender analysis. This would help them to start and evaluate their own projects. 2.7) To develop gender-disaggregated data linkages. 2.8) To create a use of systematic gender analysis in the public sector. 2.9) To develop gender-disaggregated databases by exchanging and accumulating the GRB knowledge. 2.10) To create three training modules of GRB for the executive level—(1) the executive administration course by the Office of the Civil Service Commission (OCSC), (2) good governance and sustainability course for the executives by the Office of the Public Sector Development Commission (OPDC), and (3) other courses for the executives by the King Prajadhipok’s Institute (KPI). This may include other courses that could improve knowledge and skills for project writers. 2.11) To push forward the Bureau of the Budget (BOB) to create a budget preparation form that includes the gender equity and equality aspects. 3) Long-term plan suggestion It is required to follow up and evaluate the results of pilot projects in order to indicate how GRB helps to enhance gender equity and provide benefits to related parties. The accretion of outcomes is essential for deriving conclusions in terms of equity, effectiveness, and efficiency of budget spending of GRB projects. Finally, the development of supporting mechanisms from relevant agencies (e.g., revenue departments, information-related departments, audit departments, and agencies involving in the budget preparation process in both central and local governments, and other public agencies with resource allocation responsibility) is advisable. |
|
คู่มือการจัดทำงบประมาณ
คู่มือ มิติหญิงชาย Guidelines for Gender Responsive Budgeting Guidelines |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/244 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|