Collections in this community

Recent Submissions

  • type-icon

    แนวทางการลดอัตราการตายและบาดเจ็บของการใช้รถจักรยานยนต์ด้วยการบูรณาการนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทางถนน 

    ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-11)

    สำหรับประเทศไทยการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก ซึ่งอุบัติเหตุทางถนนอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก ซึ่งอุบัติเหตุจราจรทางถนนถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นเสนอแนะแนวทางการลดอัตราการตายและบาดเจ็บของการใช้รถจักรยานยนต์ด้วยการบูรณาการนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทางถนน โดยทำการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ทั้ง 3 ระดับ คือ 1) ระดับเมือง: รวบรวมข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจากข้อมูล 3 ฐาน (จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (POLIS)) กระทรวงมหาดไทยและ...
  • type-icon

    ศึกษาแผนแม่บทผังวิสัยทัศน์ย่านการเรียนรู้ด้านคนพิการในพื้นที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 

    ชุมเขต แสวงเจริญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-04-26)

    จากข้อมูลทางสถิติของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ด้านการสำรวจจำนวนคนพิการในประเทศไทย ปี 2562 พบว่า มีจำนวนคนพิการทั้งสิ้น จำนวน 1,995,767 คน คิดเป็นร้อยละ 3.01 ของประชากรทั้งประเทศ โดยในแต่ละปีจำนวนคนพิการได้เพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กลุ่มคนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ การเรียนรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้เกิดความจำเป็นอย่างยิ่งต่อขับเคลื่อน พัฒนา และขยายผลเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ ส่งผลให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น และเกิดความเท่าเทียมกับคนทุกคน...
  • type-icon

    หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคกลาง 

    กนกวรา พวงประยงค์; สานิตย์ หนูนิล; วีรบูรณ์ วิสารทสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-03-23)

    โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท ชุมชน สถานการณ์ปัญหา และศักยภาพของชุมชนพื้นที่เป้าหมายในเขตภาคกลาง ตลอดจนบ่มเพาะและส่งเสริมเยาวชนและกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเชิงนวัตกรรมให้สามารถต่อยอดผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชุมชนเป้าหมาย สร้างเครือข่ายระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสังคมและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนานวัตกรสังคมและวิสาหกิจเริ่มต้นเพื่อสังคมสำหรับการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเป้าหมายได้อย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการดำเนินงานผ่านกระบวนการบ่มเพาะให้คำปรึกษาและสนับสนุนการพั...
  • type-icon

    การดูแลผู้สูงอายุในสถาบันของรัฐ 

    วรรณลักษณ์ เมียนเกิด (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-01-22)

    การวิจัยเรื่อง “การส่งเสริมการพัฒนาและติดตามการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ” ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุใน 10 พื้นที่ ทั้งในกรุงเทพมหานครและภูมิภาค 4 ภาค มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่มหลัก คือ (1) คณะผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานในฐานะผู้สนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ (2) คณะผู้บริหารและคณาจารย์ (ผู้ถ่ายทอดความรู้) ของโรงเรียนผู้สูงอายุ (3) ผู้สูงอายุที่กำลังเรียนหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบสำรวจผู้เรียนสูงอายุ แบบฟอร์มสำหรับการจัดห...
  • type-icon

    จัดทำหลักสูตรพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการมีงานทำอย่างมีคุณค่า 

    สมคิด เลิศไพฑูรย์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-04)

    ในปี พ.ศ. 2550 นั้นประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้เห็นพ้องต้องกันในการเลื่อนการก่อตั้ง ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการจากปี พ.ศ. 2563 ขึ้นมาเป็น พ.ศ. 2558 ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลักที่สำคัญ โดยเสาหลักเสาหนึ่งได้แก่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community:AEC) อันมีสาระสำคัญได้แก่ การสร้างประชาคมอาเซียนให้เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน และเปิดให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ รวมไปถึงการเคลื่อนย้ายปัจจัยทุนอย่างเสรีปัจจัยทุนที่จะมีการเคลื่อนย้ายโดยเสรีตามกำหนดของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นไม่ได้หมายถึงเฉพาะการลงทุนและเงินท...
  • type-icon

    กำหนดแนวทางพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการในสถาบัน 

    ระพีพรรณ คำหอม (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-11)

    การวิจัยเรื่อง โครงการแนวทางพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการในสถาบัน กองคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทบทวนรูปแบบการคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการในสถาบันที่เหมาะสมในแต่ละช่วงชีวิต พัฒนากระบวนการคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการที่มีประสทธิภาพและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงตามสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนารูปแบบการคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการในสถาบัน ระเบียบวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสนทนากลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วยได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ของสถานคุ้มครองแล...
  • type-icon

    ขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์ 

    ชวนัสถ์ เจนการ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-19)

    โครงการขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์แห่งชาติในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการระยะที่สองตามกรอบยุทธศาสตร์ 20 ปี ของกระทรวงยุติธรรมที่กำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานระหว่างพื้นที่และส่วนกลาง สำหรับการประสานความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงเพื่อให้เกิดการส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และสันติวัฒนธรรมควบคู่กันไป โดยในระยะที่สองนี้ ทางโครงการได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพิ่มเติมอีก 5 แห่ง ภายใต้ความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ คณ...
  • type-icon

    พัฒนาแอปพลิเคชั่นส่งเสริมพัฒนาการเด็กบ้านอุ่นรัก ของ บริษัท แอคทิวิที วิลเลจ จำกัด 

    ปกป้อง ส่องเมือง (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-23)

    ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก “บ้านอุ่นรัก” เป็นศูนย์กระตุ้นพัฒนาการสำหรับเด็กออทิสติกเพื่อให้เด็กได้รับการกระตุ้นพัฒนาการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้จดทะเบียนธุรกิจในนาม บริษัท แอคทิวิทีวิลเลจ จำกัด ตั้งแต่ปี 2559 โดยที่ผ่านมาบ้านอุ่นรักได้มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในต่างประเทศ เช่น เกาหลีใต้บริษัท ซัมซุงได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่น LOOK AT ME สำหรับการฝึกพัฒนาการสำหรับเด็กโดยเฉพาะแต่จากการค้นหาข้อมูลในประเทศไทยนั้นยังไม่มีการพัฒนาโปรแกรม หรือ แอปพลิเคชั่นในรูปแบบนี้อย่างจริงจัง ดังนั้นด้วยประสบการณ์ให้บริการและการสอ...
  • type-icon

    การจัดทำรายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจำปี 2561 

    ชานนท์ โกมลมาลย์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-14)

    รายงานสถานการณ์การพัฒนาเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2561 นำเสนอสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมสถานการณ์ที่สำคัญในช่วง พ.ศ. 2559-2561 เพื่อเปรียบเทียบสถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งจะนำไปสู่การวิเคราะห์และวางแผนงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้ สามารถสรุปผลที่ปรากฏในรายงานฉบับนี้ได้ดังนี้ สถานการณ์เด็กและเยาวชน ประกอบไปด้วย ประชากรเด็กและเยาวชนในปี พ.ศ. 2561 พบว่า มีแนวโน้มลดลงจากช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยลดลง 319,021 คนและการกระจุกตัวการเกิดของเด็กอยู่ในภาคกลางมาก...
  • type-icon

    การศึกษาผลการดำเนินงานการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด สู่ความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

    ระพีพรรณ คำหอม (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-14)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ต่อผลการดำเนินงานการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด และการเตรียมความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดระหว่างกรมกิจการเด็กและเยาวชนกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ระเบียบวิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบผสานวิธี (Mixed methods) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทั้งหมด 7,852 แห่ง ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 1,135 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสนทนาก...
  • type-icon

    จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในกฎหมายไทยเข้ากับหมวดหมู่ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ ระยะที่ 2 

    ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-20)

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ ประการแรก จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาของไทย ให้เข้ากับหมวดหมู่ ๐๒ ความผิดเกี่ยวกับการกระทำที่ก่อให้เกิดภัยอันตรายหรือเจตนาให้เกิดภัยอันตรายแก่บุคคล หมวดหมู่ ๐๔ ความผิดเกี่ยวกับความผิดต่อทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงหรือภยันตรายต่อบุคคล และหมวดหมู่ ๐๕ ความผิดต่อทรัพย์สินแต่ไม่เกี่ยวกับความรุนแรงหรือภยันตรายต่อบุคคล และหมวดหมู่ ๐๖ การกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาที่กฎหมายควบคุมหรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทอื่น ของตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกปร...
  • type-icon

    การส่งเสริมการพัฒนาและติดตามการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ 

    วรรณลักษณ์ เมียนเกิด (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-20)

    การวิจัยเรื่อง “การส่งเสริมการพัฒนาและติดตามการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ” ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุใน 10 พื้นที่ ทั้งในกรุงเทพมหานครและภูมิภาค 4 ภาค มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่มหลัก คือ (1) คณะผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานในฐานะผู้สนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ (2) คณะผู้บริหารและคณาจารย์ (ผู้ถ่ายทอดความรู้) ของโรงเรียนผู้สูงอายุ (3) ผู้สูงอายุที่กำลังเรียนหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบสำรวจผู้เรียนสูงอายุ แบบฟอร์มสำหรับการจัดห...
  • type-icon

    เสริมสร้างกลไกสามเหลี่ยมแห่งการเปลี่ยนแปลง (THE TRIANGLE OF CHANGE) 

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุนิสา ช่อแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560)

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาการเสริมสร้างกลไกการเปลี่ยนแปลงและสร้างเครือข่ายการทำงานให้กับนักบริหารระดับสูง (Change Leader) นักบริหารระดับอำนวยการ (Change Agent) และกลุ่มบุคลากรรุ่นใหม่ที่พร้อมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (Change Star) ภายในกระทรวงการคลัง จากการนำเสนอของกลไกการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ระดับ สะท้อนให้เห็นภาพรวมของแนวทางการสร้างการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของกระทรวงการคลัง ดังนี้ 1) การบูรณาการข้ามกรมทั้งในด้านกระบวนการ กฎระเบียบ นโยบาย ข้อมูล และบุคลากร 2) การพัฒนาฐานข้อมูลและการปรับปรุงการทำงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ และการให้บริการที...
  • type-icon

    กลไกการขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุในการส่งเสริมสถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุ 

    เดชา สังขวรรณ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

    การวิจัยเรื่อง “กลไกการขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุในการส่งเสริมสถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุ” เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาการบริหารจัดการ และการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ บทบาทการสนับสนุนและส่งเสริมสถานภาพผู้สูงอายุในสังคม และกลไกการเชื่อมประสานระหว่างสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ สาขาสมาคมสภาผู้สูงอายุฯ และชมรมผู้สูงอายุ โดยศึกษาจากเอกสาร การศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ โดยสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ จากกลุ่มตัวอย่าง 394 ชมรม ได้แบบสอบถามกลับคืนมา ร้อยละ 78.4 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สำหรับวิธีการเช...
  • Thumbnail

    การวิจัยลักษณะการดำเนินงานและกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ 

    ศศิพัฒน์ ยอดเพชร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2012)
  • type-icon

    ศึกษาการคาดประมาณความต้องการที่อยู่อาศัยของประเทศไทย ปี 2560 - 2580 

    ฉวีวรรณ เด่นไพบูลย์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

    การศึกษานี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องพัฒนาแบบจำลองและแนวคิดการศึกษาการคาดประมาณความต้องการที่อยู่อาศัยในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2580 ทั้งในระดับภาพรวมของประเทศ และจำแนกตามเขตการปกครองระดับจังหวัด โดยจำแนกความต้องการที่อยู่อาศัยตามระดับรายได้ของครัวเรือน เพื่อนำไปปรับใช้กำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2580) การศึกษานี้ได้พัฒนาจากแบบจำลองการศึกษาที่ผ่านมา โดยพัฒนาจากปัจจัยและวิธีการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างรอบคอบและรอบด้าน รวมท...
  • type-icon

    จัดทำหลักสูตรการอบรมผู้ทำหน้าที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง 

    ระพีพรรณ คำหอม (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

    โครงการจัดทำหลักสูตรการอบรมผู้ทำหน้าที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นการทำงานของสำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมกับ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย และสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ได้ร่วมกันจัดทำหลักสูตรฯ ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้หลักสูตรการอบรมมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการพัฒนาบุคลากรที่จะต้องเข้ามาเป็นนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้อย่างเหมาะ...
  • type-icon

    การถอดบทเรียนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 

    ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

    กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน เป็นกิจกรรมทางสังคมในรูปแบบหนึ่งที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนด้วยความสมัครใจของคู่ขัดแย้ง และใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือก อันจะนำไปสู่การลดคดีเข้าสู่ชั้นศาล และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนอันเกิดจากการเข้าถึงจนออกจากกระบวนการยุติธรรมหลัก ในบทความนี้พยายามนำเสนอแนวทางและวิธีการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามบทบาทหน้าที่ของศูนย์ยุติธรรมชุมชนตัวอย่าง ๘๑ แห่งในสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ๒๗ จังหวัดทั้งที่มีอัตราการไกล่เกลี่ยสำเร็จสูงสุด และต่ำสุดจากสถิติย้อนหลั...
  • type-icon

    จ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลของกระทรวงแรงงานและสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2560 - 2564) 

    จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

    วิทยาลัยนวัตกรรม เป็นที่ปรึกษาดำเนินการจัดทำ “แผนปฏิบัติการดิจิทัลของกระทรวงแรงงาน” เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และบริบทการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลในยุคปัจจุบัน อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันภารกิจแรงงานระดับประเทศเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ภายใต้กรอบนโยบาย แผนปฏิบัติการดิจิทัลดังกล่าว อยู่ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2564 ประกอบด้วย 2 แผนฯ ที่ช่วยขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงานสู่เป้าหมายที่วางไว้ ประกอบด้วย 1) แผนปฏิบัติการดิจิทัลของกระทรวงแรงงาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) การพัฒนาดิจิทัลในภาพรวมของกระทรวงแรงงาน โดยมุ่งหวัง “...
  • type-icon

    สำรวจสถานการณ์เกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ผ่านกิจกรรมโครงการกำลังใจ 

    ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

    โครงการวิจัยการสำรวจสถานการณ์เกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ผ่านกิจกรรมโครงการกำลังใจ ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันด้านการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ผ่านกิจกรรมโครงการกำลังใจฯ ใน 3 รูปแบบกิจกรรมหลัก ในมิติเชิงคุณภาพเป็นตัวหลัก และเพื่อศึกษาแนวทางในการจัดกิจกรรมของโครงการกำลังใจฯ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวกและแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังอย่างเหมาะสม ในบริบทของผู้ต้องขังที่ผ่านโครงการกำลังใจฯ 3 รูปแบบกิจกรรมหลัก อันประกอบด้วย 1. โครงการแม่และเด็กภายใต้โครงการกำลังใจใน...
  • View more