กลไกการขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุในการส่งเสริมสถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุ
by เดชา สังขวรรณ
กลไกการขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุในการส่งเสริมสถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุ | |
Driven Mechanism for Senior Citizens Clubs in Promoting the Status and Roles for Older Persons | |
เดชา สังขวรรณ | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2017 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การวิจัยเรื่อง “กลไกการขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุในการส่งเสริมสถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุ” เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาการบริหารจัดการ และการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ บทบาทการสนับสนุนและส่งเสริมสถานภาพผู้สูงอายุในสังคม และกลไกการเชื่อมประสานระหว่างสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ สาขาสมาคมสภาผู้สูงอายุฯ และชมรมผู้สูงอายุ โดยศึกษาจากเอกสาร การศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ โดยสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ จากกลุ่มตัวอย่าง 394 ชมรม ได้แบบสอบถามกลับคืนมา ร้อยละ 78.4 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สำหรับวิธีการเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก กลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม ได้แก่ คณะกรรมการบริหารสมาคมสภาผู้สูงอายุฯ (คณะกรรมการกลาง และตัวแทนภาค) คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ เครือข่ายในการดำเนินของชมรม จำนวน 20 พื้นที่/จังหวัด รวมผู้ที่มีส่วนร่วมในการวิจัย รวม 56 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษาพบว่า ชมรมผู้สูงอายุบริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการ มีการประสานงานกับสาขาสมาคมสภาผู้สูงอายุฯ ร้อยละ 70.2 และมีชมรมผู้สูงอายุไม่ถึงครึ่งที่เชื่อมประสานกับสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ ทั้งนี้ ชมรมผู้สูงอายุใช้กลไกการเชื่อมประสานระหว่างสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ สาขาสมาคมสภาผู้สูงอายุฯ และชมรมผู้สูงอายุอื่นๆ ในลักษณะเครือข่าย โดยเครือข่ายภายในประกอบด้วย สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ สาขาสมาคมสภาผู้สูงอายุฯ และชมรมผู้สูงอายุซึ่งมีข้อจำกัดอันเนื่องมาจากการมีรูปแบบการเชื่อมประสานแบบสั่งการตามสายบังคับบัญชา ซึ่งทำให้กลไกการเชื่อมประสานไม่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จนนำไปสู่การเชื่อมประสานเครือข่ายภายนอก ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สถาบันการศึกษา วัด และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ซึ่งเป็นการเชื่อมประสานแนวราบ อาศัยความร่วมมือ การส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการและการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ ถือเป็นการหนุนเสริมให้การขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้นข้อเสนอแนะในการศึกษา ระดับนโยบาย กระตุ้นให้กระทรวง/หน่วยงานตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุฯ รับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนชมรมผู้สูงอายุทั้งในมิติการบริหารจัดการและการดำเนินงาน ระดับบริหาร ส่งเสริมให้สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ ปรับองค์กรเพื่อสร้างกลไกการเชื่อมประสานชมรมผู้สูงอายุในลักษณะเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ระดับปฏิบัติการ ควรส่งเสริมให้ชมรมเข้าใจบทบาทของตัวเองและมีแนวทางจัดการตนเองให้เข้มแข็งในฐานะแกนนำส่งเสริมสถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุ |
|
ชมรมผู้สูงอายุ
กลไกการขับเคลื่อนขมรมผู้สูงอายุ สถานภาพผู้สูงอายุ บทบาทผู้สูงอายุ Elder Clubs Mechanism to drive the Elder Clubs Statuses of the Elder Roles of the Elder |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/578 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|