จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในกฎหมายไทยเข้ากับหมวดหมู่ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ ระยะที่ 2
by ณรงค์ ใจหาญ
จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในกฎหมายไทยเข้ากับหมวดหมู่ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ ระยะที่ 2 | |
Classifying of Thai offenses for the purpose of International Classification of Crime for statistical Purposes (ICCS) Version 1.0 Phase 2” | |
ณรงค์ ใจหาญ | |
2563-03-20 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ ประการแรก จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาของไทย ให้เข้ากับหมวดหมู่ ๐๒ ความผิดเกี่ยวกับการกระทำที่ก่อให้เกิดภัยอันตรายหรือเจตนาให้เกิดภัยอันตรายแก่บุคคล หมวดหมู่ ๐๔ ความผิดเกี่ยวกับความผิดต่อทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงหรือภยันตรายต่อบุคคล และหมวดหมู่ ๐๕ ความผิดต่อทรัพย์สินแต่ไม่เกี่ยวกับความรุนแรงหรือภยันตรายต่อบุคคล และหมวดหมู่ ๐๖ การกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาที่กฎหมายควบคุมหรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทอื่น ของตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ (ICCS version 1.0) ประการที่สอง หาแนวทางที่มีประสิทธิภาพและแนวทางการแก้ไขปัญหาหากมี ในการจัดทำหมวดอื่นที่เหลือของมาตรฐานระหว่างประเทศ วิธีการศึกษา (๑) ศึกษาวิจัยเอกสาร ตำรา และแนววินิจฉัยของศาลฎีกา และข้อมูลกฎหมายทางเวปไซด์ ที่เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่อาชญากรรมตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรม และความหมายและองค์ประกอบของความผิดในประเทศไทยและต่างประเทศ (๒) จัดความผิดในกฎหมายไทยตามแนวทางของการจัดหมวดหมู่ตามงมาตรฐานสากล และรับฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญสองครั้ง แล้วมาสรุปและจัดทำรายงานสมบูรณ์พร้อมด้วยคำอธิบายในการจัดทำหมวดหมู่อาชญากรรม รวมถึงข้อสังเกตต่าง ๆ ผลการศึกษา 1. การจัดหมวดหมู่อาชญากรรมในหมวด ๐๒ ได้นำมาจัดระบบตามความหมายที่มาตรฐานระหว่างประเทศกำหนดเกือบทั้งหมด แต่มีความแตกต่างในสองลักษณะ กล่าวคือการจัดของมาตรฐานระหว่างประเทศแยกความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยพิจารณาถึงวิธีการ แต่ของไทยพิจารณาถึงผลการกระทำ และความผิดฐานทำร้ายร่างกายรวมประมาทโดยจงใจด้วย นอกจากนี้ กฎหมายไทยยังไม่มีความผิดฐานลักพาตัวเด็กโดยผู้ใช้อำนาจปกครอง 2. การจัดหมวดหมู่ ในหมวด ๐๔ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดต่อทรัพย์โดยใช้กำลัง ความผิดฐานชิงทรัพย์ของมาตรฐานระหว่างประเทศ ไม่กำหนดว่าต้องใช้กำลังในทันใดนั้น แต่ตามกฎหมายไทย ต้องมีการใช้กำลังในทันใดนั้น ทำให้ความผิดฐานกรรโชกและรีดเอาทรัพย์ของไทย ไม่อาจจัดในหมวด ๐๔ แต่ต้องไปจัดในหมวด ๐๒ 3. การจัดหมวดหมู่ ๐๕ ตามมาตรฐานระหว่างประเทศ ความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานแคบกว่าของไทย เพราะบุกรุกมีความหมายกว้างกว่าการลักทรัพย์ และตามมาตรฐานฯ การลักทรัพย์ไม่มีเหตุฉกรรจ์เหมือนกฎหมายไทยที่คุ้มครองวัตถุทางศาสนาและกระทในเวลากลางคืนหรือลักทรัพย์นายจ้าง เป็นต้น เหตุฉกรรจ์จึงไม่อาจลงในมาตรฐานฯ ได้ 4. การจัดหมวดหมู่ ๐๖ ตามมาตรฐานระหว่างประเทศ แยกความผิดระหว่างบริโภคเพื่อส่วนตัวกับเพื่อการค้า ซึ่งของไทยไม่ได้แยกเช่นนั้น การลงตามตารางจึงเป็น partial match ระหว่างสองกลุ่มนี้ และในกฎหมายไทย รวมการผลิตไว้กับการเพาะปลูก แต่ในมาตรฐานแยกฐานกัน สำหรับการบริโภคส่วนตัว ไม่ได้มีการนำเข้าหรือส่งออก แต่ของไทย มีความผิดฐานนำเข้าและส่งออกในการบริโภคส่วนตัวด้วย This Research project has two aims: firstly, to classification Thai criminal offences in Penal Code and others Acts harmonized to section 02, acts leading to harm or intending to cause harm to the person, section 04 acts against property involving violence or threat against a person, section 05 acts against property only, and section 06 acts involving controlled psychoactive substances or other drugs of the International Classification of Crime for Statistical Purposes (ICCS) version 1.0 and secondly, to explore an efficacy guidelines and the way to solve any problems in classification on left of others section of ICCS. Methodology: the research has done in terms of qualitative research by (1) reviewing documentary: textbooks, Thai Supreme court decisions and legal information in website relating to the classification of offences under The International Classification of Crime for Statistical Purposes (ICCS) version 1.0. In addition, explores meaning and element of crimes in Thai and Foreign Penal Laws. (2) to classify offences in Thai penal laws which relate to sections 02 ,04,05 and 06 of ICCS and presenting to three experts seminars and get their comments and recommends to improve the final report of this research. Research outcomes: 1. Almost of offences in Thai Penal Code and others Act related to section 02 of the Classification of section 02 ICCS have been fit in. However, there are two difference categories between ICCS and Thai Penal Law, firstly, ICCS divides group of subsection based on mean of assault to person meanwhile Thai Penal Code classifies them base on the result of injury, secondly, Thai law has no offence for child abduction by the parents but ICCS has mentioned this. 2. As for section 04 of ICCS, there is difference meaning of robbery between ICCS and Thai laws; under ICCS robbery no need to sudden attack as component for robbery but Thai robbery need it. In addition, extortion and blackmail in Thai law cannot classify in section 04 but should be fit in section 02 of ICCS 3. Meaning of burglary under section 05 of ICCS may narrow than in Thai law because trespass in Thai law has wided meaning than ICCS and in ICCS there is no severe punishment on theft as in Thailand for example thai law provides more serious offenses if someone has done against the religious objects; in the temple and religious worship;any things belong to employer or by night. 4. Under ICCS section 06 divides two categories base on personal use and for trade but Thai law does not separate therefore our research may put these as partial matched. The others is under Thai laws caltivating of drug including plant but ICCS has seperated. the third, as import of drug for personal use has no offence but in Thai law it is offense. |
|
มาตรฐานระหว่างประเทศในการจัดหมวดหมู่อาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ ๐๒ ๐๔ ๐๕ ๐๖
ความผิดต่อร่างกาย ความผิดต่อทรัพย์สิน ความผิดต่อยาและสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท The International Classification of Crime for Statistical Purposes, section 02, 04,05,06 offences relating to harm to the person offences against property involving violence offence against property only offences involving controlled psychoactive substances or other drugs |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/760 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|