โครงการวิจัย
Recent Submissions
กิจกรรมการพัฒนาโมเดลในการส่งเสริม SME สู่อุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้โครงการศึกษาและพัฒนาโมเดลการส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)
การดำเนินงานกิจกรรมการพัฒนาโมเดลในการส่งเสริม SME สู่อุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้โครงการศึกษาและพัฒนาโมเดลการส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนผังการดำเนินโครงการและกิจกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเพื่อจัดทำโมเดลในการส่งเสริม SME สู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยคาดหวังผลผลิตและผลลัพธ์ เพื่อเกิดโมเดลใหม่ที่เหมาะสมในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม SME ของประเทศไทยไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างน้อย 2 โมเดล โดยการศึกษานี้ได้ดำเนินสอบถามและสัมภาษณ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ประกอบการ SME ผู้ปฏิบัติงานส่งเสร...
กิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพของ SMEs ด้วยระบบ Visualize ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)
จากนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในประเทศไทยตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ซึ่งเป็นการประสานความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตเข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นเพื่อให้สอดรับกับประเทศไทย 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนพัฒนา SMEs ให้เข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ด...
จับมือผู้ประกอบการโคนมไทยบุกตลาดต่างประเทศโดยใช้ประโยชน์จาก FTA
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
“โครงการจับมือผู้ประกอบการโคนมไทยบุกตลาดต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จาก FTA” เกิดจากความริเริ่มของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากเล็งเห็นถึงผลกระทบจากการเปิดตลาดให้กับสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมนำเข้าจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในปี 2564 และ 2568 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับเป็นกลุ่มสินค้าที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีศักยภาพในการแข่งขันสูง เป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกของโลก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือให้กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมสามารถปรับตัว...
ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support Rescue Center)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
ศูนย์ช่วยเหลือ SMEs (SME Rescue Center) ดำเนินงานโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่าย 14 แห่ง เพื่อให้บริการข้อมูลและปรึกษาแนะนำ และเชื่อมโยงส่งต่อผู้รับบริการให้หน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค
โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อให้การช่วยเหลือ SMEs ที่ประสบปัญหาทางธุรกิจจากปัจจัยต่างๆ รวมทั้งทางการเงิน ให้สามารถพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมาดำเนินธุรกิจต่อไป 2) เพื่อให้มีหน่วยเชื่อมโยงการบริการ SMEs กับหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ...
พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค OPOAI 4.0 ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ขยันกิจประดิษฐกรรม เป็นดำเนินกิจการผลิตพาเลทไม้ จากไม้เบญจพรรณและไม้ ที่ปรึกษาได้เข้าวินิจฉัยสถานประกอบการและจัดทำแผนธุรกิจในอนาคต จำนวน 1 ฉบับ และให้คำปรึกษาแนะนำตามแผนงานการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ประกอบด้วย 4 มาตรการ ได้แก่ 1) ) มาตรการตรวจติดตามปริมาณวัตถุดิบและปริมาณงาน 2) มาตรการตรวจวัดค่าดัชนีเนื้อไม้ในขั้นตอนการเลื่อยไม้ (Wood Index) 3) มาตรการเฝ้าติดตามการใช้ไม้ฟืนและควบคุมอุณหภูมิเตาอบไม้ 4) การจัดทำคู่มือปฏิบัติสำหรับการควบคุมการผลิตและ แผนงานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้ 1) มีการตรวจติดตามปริม...
ส่งเสริม SMEs เข้าสู่ Industry 4.0 ด้วยไอที ภายใต้โครงการพิเศษตามแนวทางที่ 3
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
โครงการส่งเสริม SMEs เข้าสู่ Industry 4.0 ด้วยไอที ภายใต้โครงการพิเศษตามแนวทางที่ 3 มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ SMEs ในพื้นที่ความรับผิดชอบของ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) มุ่งหวังให้ SMEs ให้ปรับตัวมีระบบการบริหารจัดการทันสมัยแบบ Industry 4.0 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินงานโครงการตามจุดประสงค์จนสำเร็จลุล่วง ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นการประกอบการของ SMEs จำ...
จัดทำรายงานอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE Industry Reports)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
การศึกษาวิจัยโครงการจัดทำรายงานอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE Industry Reports) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพ และแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) และอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) โดยศึกษาภาพรวมและทิศทางการเติบโต ตลอดจนการแข่งขันของอุตสาหกรรมในระดับนานาชาติ รวมทั้งวิเคราะห์จุดเชื่อมโยงที่อุตสาหกรรมไมซ์สามารถเข้าไปสนับสนุนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง 3 อุตสาหกรรม ทั้งนี้ เพื่อนำผลการศึกษาเผยแพร่ข้อมูลให้แก...
สำรวจความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Engagement Survey) ประจำปี 2561
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
โครงการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Engagement Survey) ประจำปี 2561 เป็นการสำรวจอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา เพื่อนำความคิดเห็นของบุคลากรไปพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสำรวจระดับความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรใช้การสำรวจออนไลน์ผ่าน Google form ได้รับแบบสำรวจที่ใช้ในการประมวลผลได้ 515 ชุด คิดเป็นร้อยละ 87.73 จากจำนวนบุคลากรทั้งสิ้น 587 ราย ผลการสำรวจ พบว่า พนักงานมีความพึงพอใจในการทำงานอยู่ในระดับมากมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 เชื่อมต...
ทวนสอบนำร่องสำหรับอุตสาหกรรมแก้วและกระจก พลาสติก และอาหาร ภายใต้โครงการนำร่องระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย ประจำปี 2561
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้ศึกษาวิจัยและดำเนินโครงการนำร่องระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Trading Scheme: Thailand V-ETS) อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552-2559 โดยระบบ Thailand V-ETS เป็นหนึ่งในมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทยที่ อบก. ได้พัฒนาขึ้นด้วยการใช้กลไกตลาดขับเคลื่อนให้เกิดแรงจูงใจในการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการและภาคีที่เกี่ยวข้องให้มีโอกาสเรียนรู้และทำความเข้าใ...
ผลิตภัณฑ์วัสดุจีโอพอลิเมอร์ฐานเถ้าลอยและเถ้าชีวมวลเสริมเส้นใยกัญชง
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
วัสดุจีโอพอลิเมอร์ฐานเถ้าลอยและเถ้าชีวมวลเสริมเส้นใยกัญชง ที่ผลิตในงานวิจัยใช้เถ้าลอยถ่านหินจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เถ้าชีวมวลที่ใช้ได้แก่เถ้าชานอ้อยจากโรงไฟฟ้าชีวมวล จ.ลพบุรี และเส้นใยกัญชงจาก จ.ตาก โดยในงานนี้ใช้สารละลายเบสเพื่อกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาได้แก่สารละลายผสมระหว่าง NaOH และ Na2SiO3 โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดที่ได้จากการทดลองคือ 1:1 โดยปริมาตร และสัดส่วนของเหลวต่อของแข็ง (L/S) เท่ากับ 0.4 เมื่อทำการผสมเถ้าลอยและเถ้าขานอ้อยตั้งแต่ 0 ถึง 100% พบว่าการผสมเถ้าชานอ้อย 20% ให้จีโอพอลิเมอร์ที่มีสมบัติดีที่สุด โดยให้กำลังอัดสูงสุด ...
เตรียมโฟมพอลิเมอร์เชิงประกอบจากพอลิแลคติกแอซิดผสมพอลิบิวทิลีนซัคซิเนตกับเส้นใยไมซีเลียมสังเคราะห์เพื่อประยุกต์ใช้เป็นถ้วยและฝาปิดสำหรับเครื่องดื่มร้อน
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมและการวิเคราะห์วัสดุเชิงประกอบมัลติวอลล์คาร์บอนนาโนทิวบ์/ไททาเนียมไดออกไซด์ โดยการสังเคราะห์วัสดุเชิงประกอบด้วยวิธีการโซลเจล (sol-gel) เพื่อนำไปปรับปรุงขั้วไฟฟ้าใช้งานที่ขึ้นรูปด้วยวิธีพิมพ์สกรีน ซึ่งการสังเคราะห์ใช้อัตราส่วนของมัลติวอลล์คาร์บอนนาโนทิวบ์/ไททาเนียมไดออกไซด์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1:1 1:2 และ 2:1 จากนั้นเผาที่อุณหภูมิ 450 500 550 600 650 องศาเซลเซียส และศึกษาการนำไฟฟ้าด้วยวิธีไซคลิกโวแทมเมตรี โดยจะเปรียบเทียบขั้วไฟฟ้าที่ปรับปรุงด้วยวัสดุเชิงประกอบกับขั้วไฟฟ้าเปล่า และขั้วไฟฟ้าที่ปรับปรุงด้...
พัฒนาไฮโดรเจลแบบผงเพื่อการประยุกต์ใช้งานทางด้านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
วัสดุเชิงประกอบไฮโดรเจลแบบผงนั้นสามารถ เตรียมได้จากพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และแบคทีเรียเซลลูโลสด้วยกระบวนการ freeze dry ซึ่งมีอัตราส่วนระหว่างพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และแบคทีเรียเซลลูโลสในอัตราส่วน 3:1 5:1 และ 10:1 ตามลำดับ โดยภายในโครงสร้างนั้นได้เกิดพันธะไฮโดรเจลเชื่อมขวางกันระหว่างวัสดุทั้ง 2 ประเภท ซึ่งวัสดุทั้ง 2 ประเภทนั้นมีความเข้ากันได้เป็นอย่างดีและสามารถทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้สูงถึง 200C และจากการถ่ายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดนั้นพบว่า ภายในโครงสร้างนั้นจะประกอบไปด้วยรูพรุนในขนาดต่าง ๆ กันมากมาย ในเบื้องต้นนั้นพบว่าว...
จัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
โครงการนี้เป็นโครงการที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 และเป็นการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจโครงสร้างของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคอย่างมีส่วนร่วมที่ทุกภาคส่วนสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน และเพื่อพัฒนาบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรมในการจัดทาแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพร้อมทั้งการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 1.) ผู้บริหารและเจ้าหน้...
พัฒนาฐานข้อมูลด้านการกีฬาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมกีฬาของประเทศ
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
การดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาการกีฬาของไทยจำเป็นต้องมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจ เพื่อการดำเนินการตามแผน และข้อมูลสำหรับการประเมินแผนที่ได้วางไว้ สำหรับกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา มีภารกิจเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ที่ 4: การพัฒนาอุตสาหกรรมการกีฬาเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ในแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560-2564) โดยมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมการกีฬาแบบครบวงจร สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีการสนับสนุนการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการกีฬา โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้พัฒนาฐาน...
วิเคราะห์ศักยภาพ SMEs เพื่อการอนุมัติสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูกิจการ
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
ตามที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้จัดทำโครงการวิเคราะห์ศักยภาพ SMEs เพื่อการอนุมัติสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูกิจการขึ้น เพื่อทำหน้าที่ให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาทางธุรกิจจากปัจจัยต่างๆ ให้สามารถพลิกฟื้นธุรกิจ (Turn Around) โดยเฉพาะด้านการเงิน โดยได้จ้างสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาดำเนินการวินิจฉัยศักยภาพของสถานประกอบการของผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติ ตรงตามหลักเกณฑ์ นำเสนอต่อคณะทำงานกลั่นกรองและคณะอนุกรรมการฟื้นฟูกิจการ ในการขอรับการอนุมัติเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีวัตถุประสง...
กิจกรรมการส่งเสริม พัฒนา โรงงานต้นแบบแปรรูปสมุนไพร (Support Center Model) ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs สมุนไพรเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2560 ประเด็นเมืองสมุนไพร
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
อุตสาหกรรมสมุนไพรเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและสามารถสร้างความยั่งยืนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) และถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) โดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าและเทคโนโลยี สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศไทยได้ ประกอบกับความต้องการใช้สมุนไพรในประเทศไทยและทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของผลิตภัณฑ์และสารสกัดสมุนไพร จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจสมุนไพรมากยิ่งขึ้น แต่การบริหารจัดการอุตสาหกรรมส...
กิจกรรมการส่งเสริมการรวมกลุ่มสมุนไพร (Cluster) โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs สมุนไพรเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย กลุ่มเป้าหมาย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วิสาหกิจชุมชน จำนวน 4 เครือข่าย
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
จากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สู่แนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายใน อุตสาหกรรมสมุนไพร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบทั้งสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ ภูมิปัญญาที่สั่งสมเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคและดูแลสุขภาพของตนเอง ประกอบกับเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นแนวโน้มความต้องการของโลกอนาคต ทางรัฐบาลจึงตั้งเป้าพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นเมืองสมุนไพร โดยมีนโยบายการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเป็นระบบและยั่งยืนตลอดห่วงโซ่ ให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงในด้านสุขภาพและเศรษฐกิจอย่า...
พัฒนาและให้บริการช่วยเหลือ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ประสบปัญหาทางธุรกิจ
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
ศูนย์ช่วยเหลือ SMEs (SME Rescue Center) ดำเนินงานโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่าย 14 แห่ง เพื่อให้บริการข้อมูลและปรึกษาแนะนำ และเชื่อมโยงส่งต่อผู้รับบริการให้หน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อให้การช่วยเหลือ SMEs ที่ประสบปัญหาทางธุรกิจจากปัจจัยต่างๆ รวมทั้งทางการเงิน ให้สามารถพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมาดำเนินธุรกิจต่อไป 2) เพื่อให้มีหน่วยเชื่อมโยงการบริการ SMEs กับหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ส...
พัฒนาระบบงานข้อมูลที่รองรับการจัดทำ Big Data ของกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
เพื่อให้สอดคล้องกับร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้ก้าวไปสู่การเป็น SMEs 4.0 ตามแนวนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งในปัจจุบันกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ผ่านระบบสารสนเทศเป็นจำนวนมาก โดยข้อมูลที่มีการจัดเก็บมีตั้งแต่ข้อมูลผู้ประกอบการที่รับบริการจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ฐานข้อมูลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ ฐานข้อมูลผลงานที่ปรึกษา รวมถึงข้อมูลเพื่อสนั...
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อเพิ่มผลผลิตสีเขียว (Green Productivity) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประจำปีงบประมาณ 2560
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
จากการเติบโตของเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม มลภาวะที่เกิดขึ้นจากตัววัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต กระบวนการผลิต การขนส่ง รวมถึงการปล่อยของเสียและการกำจัดของเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ดังจะเห็นได้จากสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลาย อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะหาแนวคิด วิธีการ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อบริหารจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมซึ่งถือเป็นกลไกหลักที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ จึงมีค...