การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อเพิ่มผลผลิตสีเขียว (Green Productivity) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประจำปีงบประมาณ 2560
by หาญพล พึ่งรัศมี
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อเพิ่มผลผลิตสีเขียว (Green Productivity) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประจำปีงบประมาณ 2560 | |
Green Productivity in Textile Industry by using clean Technology | |
หาญพล พึ่งรัศมี | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2017 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
จากการเติบโตของเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม มลภาวะที่เกิดขึ้นจากตัววัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต กระบวนการผลิต การขนส่ง รวมถึงการปล่อยของเสียและการกำจัดของเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ดังจะเห็นได้จากสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลาย อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะหาแนวคิด วิธีการ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อบริหารจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมซึ่งถือเป็นกลไกหลักที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการใช้ปริมาณสารเคมี น้ำ และพลังงานมากโดยเฉพาะ ในส่วนของอุตสาหกรรมฟอกย้อมพิมพ์และตกแต่งสำเร็จ ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางน้ำและอากาศ การหลีกเลี่ยงและควบคุมมลพิษ มีจุดประสงค์เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการเชิงอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อม การจำกัดการปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมออกสู่สิ่งแวดล้อมต้องอาศัยการจัดการและการควบคุมกระบวนการทั้งระบบไปพร้อมๆ กัน โดยการนำเทคโนโลยีสะอาดมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตและประเมินฟุตพริ้นท์สิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มผลผลิตสีเขียว โดยลดผลกระทบที่แหล่งกำเนิด ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร ลดการใช้พลังงาน น้ำ สารเคมี ของเสีย และลดต้นทุนไปพร้อมกัน อันจะช่วยให้เกิดการยกระดับผลิตภาพภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถแข่งขันได้ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยให้มีองค์ความรู้ เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มผลผลิตสีเขียว (Green Productivity) อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ระดับ 2-3 และมุ่งสู่การเป็นโรงงานเชิงนิเวศ (Eco Factory) ซึ่งเทียบเท่าอุตสาหกรรมสีเขียวสีเขียวระดับ 4 ด้วยการมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อสอดรับกับความต้องการของลูกค้าและตลาดที่ให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากการดำเนินงานผู้ประกอบการทั้ง 10 สถานประกอบการ ได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสะอาด และสามารถหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ โดยมีผลประหยัดจากแนวทางที่ได้ดำเนินการจริงและมีศักยภาพที่จะดำเนินการในอนาคตรวม 2,294,658 บาทต่อปี มีระยะคืนทุนอยู่ในช่วงตั้งแต่ในระยะทันทีจนถึง 1 ปี 6 เดือน นอกจากนี้ที่ปรึกษายังให้คาปรึกษาในส่วนของการจัดทำมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 2 2 บริษัท คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ 3 บริษัท คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร 2 บริษัท และโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 3 บริษัท อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศอีกด้วย |
|
Green Productivity
เทคโนโลยีสะอาด Green Industry Eco Factory |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/450 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|