จับมือผู้ประกอบการโคนมไทยบุกตลาดต่างประเทศโดยใช้ประโยชน์จาก FTA
by สุทธิกร กิ่งแก้ว
จับมือผู้ประกอบการโคนมไทยบุกตลาดต่างประเทศโดยใช้ประโยชน์จาก FTA | |
Internationalisation of Thai dairy producers by utlising existing FTA agreements | |
สุทธิกร กิ่งแก้ว | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2018 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
“โครงการจับมือผู้ประกอบการโคนมไทยบุกตลาดต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จาก FTA” เกิดจากความริเริ่มของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากเล็งเห็นถึงผลกระทบจากการเปิดตลาดให้กับสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมนำเข้าจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในปี 2564 และ 2568 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับเป็นกลุ่มสินค้าที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีศักยภาพในการแข่งขันสูง เป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกของโลก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือให้กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมสามารถปรับตัวรับมือกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยเหตุนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จึงได้ดำเนินการคัดเลือกผู้แทนเกษตรกร สหกรณ์โคนม และผู้ประกอบการสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทย ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการเปิดตลาดนมและผลิตภัณฑ์นมของไทยที่มีศักยภาพและสนใจเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์พร้อมทั้งหาช่องทางการขยายออกสู่ต่างประเทศเพื่อสร้างโอกาสให้กับสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเปิดโอกาสให้เกษตรกร สหกรณ์โคนม และผู้ประกอบการสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทยตระหนักและใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้า โดยการสร้างโอกาสให้กับสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมและหาช่องทางขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศ ตลอดจนสามารถปรับตัวรองรับการเปิดเสรีทางการค้าเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งสินค้าออกสู่ต่างประเทศให้แก่เกษตรกร สหกรณ์โคนม และผู้ประกอบการนมและผลิตภัณฑ์นมของไทย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศร่วมกับคณะที่ปรึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการโครงการ โดยเริ่มจากการศึกษาข้อมูลอุปสงค์สินค้านมและผลิตภัณฑ์นมในสาธารณรัฐประชาชนจีน การศึกษานโยบายการค้า การศึกษาตลาดที่จะรองรับสินค้าและผลิตภัณฑ์นมจากประเทศไทย รวมทั้งวิเคราะห์โอกาสทางการค้าของสินค้าเป้าหมาย เพื่อวางแผน กำหนดขอบเขต แนวทางการดำเนินงานและแผนปฏิบัติการ(Action Plan) รวมทั้งการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และให้คำปรึกษาเชิงลึก (Coaching) ให้แก่สหกรณ์โคนม/ผู้ประกอบการแปรรูปนมที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ ตลอดจนนำเกษตรกร สหกรณ์โคนม และผู้ประกอบการสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทยออกสู่ตลาดเป้าหมาย |
|
โคนมไทย
FTA สินค้านมและผลิตภัณฑ์นม |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/602 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|