จัดทำแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
by วิทวัส รุ่งเรืองผล
จัดทำแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ | |
The Project of Marketing and Public Relations Plan for Special Economic Development Zones | |
วิทวัส รุ่งเรืองผล | |
2564-02-10 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่รัฐบาลให้ความสำคัญสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดนเป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ประโยชย์จากโอกาสการเชื่อมโยง (Connectivity) ในภูมิภาค เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากความมุ่งมั่นของภาครัฐที่จะพัฒนาปัจจัยสนับสนุนเพื่อส่งเสริมให้พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 10 จังหวัด มีความเข้มแข็งในทุกด้าน และเพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ในแต่ละปีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม จึงจำเป็นต้องมีแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ในการนี้ กองนโยบายอุตสาหกรรมมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จึงเห็นควรดำเนิน “โครงการจัดทำแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” เพื่อวางแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดยใช้กลยุทธ์การตลาดและประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความร่วมมือในการดำเนินงาน นำไปสู่การยอมรับในวิธีปฏิบัติให้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง โดยอาศัยการใช้สื่อต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มีแผนการสื่อสารที่เป็นขั้นเป็นตอน มีกลวิธีที่ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนการใช้กิจกรรมที่แปลกใหม่และหลากหลาย ซึ่งสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนิน“โครงการจัดทำแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” ดำเนินการทั้งในส่วนของรวบรวมและศึกษาข้อมูลพื้นฐาน รวมถึงผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พร้อมวิเคราะห์ศักยภาพในเชิงพื้นที่ โอกาสและปัญหา / อุปสรรคในการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน10 จังหวัด ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระหว่างประเทศความเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน เพท่อนำผลการศึกษาที่ได้มาทบทวนการจัดทำ (ร่าง) แผนการตลาดและประชาสัมพันธ์เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในภาพรวม จากนั้นดำเนินการจัดสัมมนากลุ่มย่อย (Focus Group) จำนวน 5 ครั้ง โดยจัดภาคละ 1 ครั้งได้แก่ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) หรือสอบถามความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ครั้ง เพื่อระดมความคิดเห็นและนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการจัดทำแผนต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นภายใต้โครงการฯ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น The Special Economic Zone (SEZ) is a spatial development policy that the Thai government attaches great significance to. Its objective is to develop new economic areas around the Thai border as an Economic Gateway to connect neighboring countries by taking advantage of the connectivity within the region. The SEZ will help to spread prosperity into the areas, reduce income inequality, and improve the living standards of Thai people, which proclaims from the government's commitment to promoting the strength of all ten provinces and will effectively drive marketing operations and public relations yearly to reap concrete results. Thus, it is crucial to have appropriate and effective marketing and public relations schemes as the vital empirical factors driving the policy. The Division of Industrial Policy at the Office of Industrial Economics, therefore, saw the essential to conduct "The Special Economic Zones (SEZs) Marketing and Public Relations Project" to oversee the marketing plan and publicize the areas. This project applied effective marketing and public relations strategies to generate collaboration and further leads to a widespread and continuing acceptance of precepts in the relevant areas. The project relied on the proper use of media, a step-by-step communication plan, tactics to attract potential investors, as well as unique and distinguished activities. Thammasat University Research and Consultancy Institute was assigned to carry out "The Special Economic Zones (SEZs) Marketing and Public Relations Project" have performed in both collecting and examining fundamental data and relevant research results that related to the SEZs policy, as well as interpreting the spatial potentials, possibilities, and difficulties in driving each province concerning the dimensions of economic, social, environmental and linkages between neighboring countries. The results have been reviewed and drawn up general marketing and public relations draft plans for the SEZs. Later, there were five focus group seminars organized under the project, one in each region, consisting of East, West, North, South, and Northeast, plus five in-depth interviews from relevant parties. The interview intended to brainstorm ideas and use information obtained to assist in the preparation of various schemes under the project. |
|
แผนการตลาด
ประชาสัมพันธ์ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/979 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|