Now showing items 1-20 of 24

    • type-icon

      โครงการที่ปรึกษาเพื่อจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9 

      วินัย รักสุนทร; Winai Raksuntorn (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      This report is the 2014 traffic analysis report on the Motorway number 7 and Motorway number 9, Intercity Motorways Division, Department of Highways. It includes traffic volume by types (both exit and entrance ramps and mainlines) and quality of services on each section between interchanges. On the Motorway number 7, traffic was crowded on sections between Srinakarin interchange and Suvannabhummi interchange in both morning and afternoon peak hours. This study found that level of services on these sections of highway was LOS F. In other words, ...
    • type-icon

      ที่ปรึกษาจัดทำแผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม กลุ่มที่ 8 

      วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของโลกและประเทศไทย ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพบริบทแวดล้อมของกรมทางหลวงชนบทเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งจากสภาพปัจจัยสิ่งแวดล้อมนอก รวมถึงสภาพปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายใน งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแนวทางและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากรมทางหลวงชนบท พ.ศ. 2560-2569 ที่เป็นแผนในระยะ10 ปี และแผนยุทธศาสตร์กรมทางหลวงชนบท พ.ศ. 2560-2569 ที่เป็นแผนในระยะ 4 ปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติโดยอาศัยกรอบแนวคิดของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management, NPM) แนวคิดการจัดทำยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ...
    • type-icon

      จัดทำแผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 กลุ่มที่ 8 

      ทัศฐา ศรีวาลัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-20)

      โครงการจัดทำแผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของโครงการยกระดับมาตรฐานชั้นทางให้แก่บุคลากรกรมทางหลวงชนบท และศึกษาการจัดทำแผนแม่บทบูรณาการโครงข่ายทางหลวงท้องถิ่น การศึกษาความเหมาะสมการยกระดับมาตรฐานชั้นทางนั้นได้ทำการรวบรวมข้อมูลสายทางในพื้นที่ศึกษา ข้อมูลปริมาณจราจรทั้งวันเฉลี่ยตลอดทั้งปี (AADT) ของสายทางในพื้นที่ศึกษา ข้อมูลกายภาพของสายทาง ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมภายในพื้นที่ศึกษา และทำการคัดเลือกสายทางที่ต้องทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการยกระดับมาตรฐานชั้นทาง จัดทำแบบจำลองด้าน ...
    • type-icon

      การศึกษาเชิงนโยบายเกี่ยวกับศักยภาพของรถโดยสารไฟฟ้าโทรลลีล้อยาง กรณีศึกษาเมืองพัทยา 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-04)

      แผนการพัฒนาระบบการสัญจรในประเทศไทยนั้นที่ได้มีการดำเนินการในการกระตุ้นจากภาครัฐผ่านกรอบนโยบายระดับต่าง ๆ ทั้งความเป็นไปได้ในเชิงของเทคโนโลยี จนถึงความสนใจของผู้ประกอบการและหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาและวิเคราะห์ด้านความคุ้มทุนในเชิงของนโยบายและการนำไปใช้ให้เกิดขึ้นจริงและชัดเจนในปัจจุบัน งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษากรอบนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนเมือง การคมนาคมขนส่ง การอนุรักษ์พลังงานสิ่งแวดล้อม และสถานการณ์การพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยต่อความเป็นไปได้ในการใช้รถโดยสารไฟฟ้าโท ...
    • type-icon

      การจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์ โครงการศูนย์คมนาคมขนส่งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลาตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 

      สุรพล นิติไกรพจน์; กานต์ พัชราวนิช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-07)

      โครงการศูนย์คมนาคมขนส่งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่โครงการฯ จำนวนประมาณ 126 ไร่ ซึ่งห่างจากบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซียบริเวณด่านสะเดาประมาณ 2.4 กม. เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกให้กับการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวรวมทั้งการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ในการศึกษาได้พิจารณาดำเนินโครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนระหวางรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดยรูปแบบการพัฒนาภายในโครงการฯ แบ่งการพัฒนาพื้นที่เป็น 5 โซน โซนที่ 1 สถานีขนส่งผู้โดยสาร โซนที่ 2 สำนักงานและศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ...
    • type-icon

      กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC และ SEC) ยุคดิจิทัล 

      จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-08)

      การจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC และ SEC) ยุคดิจิทัล ในครั้งนี้ ทำให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจ เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีในการบริการจัดการธุรกิจ ได้ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบรายงาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการมีแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในองค์กรของตนเอง และเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเกิดความต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการ จึงมีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการนำเทคโนโ ...
    • type-icon

      ศึกษาและปรับปรุงระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-19)

      การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาผิวทางพิเศษ โดยผิวทางพิเศษส่วนใหญ่เป็นแอสฟัลต์ คอนกรีตปูทับบนพื้นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กหรือปูบนสะพานเหล็ก และบางส่วนผิวทางพิเศษปูบนพื้นระดับดิน ในปี 2555 กทพ. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจากสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยได้ทำการตรวจวัดค่าดัชนีความขรุขระสากล (IRI) ค่าร่องล้อ (Wheel Truck Rutting) ค่าความฝืดของพื้นทาง (Grip Number) รวมทั้งบันทึกภาพวีดีโอของพื้นทางพิเศษที่สำรวจทั้งหมดเพื่อใช้ประเมินค ...
    • type-icon

      ศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยในการขนส่งตู้บรรทุกสินค้าที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย 

      จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-10)

      ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ในการการขนส่งตู้บรรทุกสินค้าเป็นจำนวนมากเนื่องจากความได้เปรียบในการบรรทุก และการขนส่ง แต่เนื่องจากพฤติกรรมของพนักงานขับรถ การละเลยข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัย การใช้ความเร็วสูง ความประมาท สภาพแวดล้อม รวมทั้งสภาพรถ สภาพอุปกรณ์ยึดตู้บรรทุกสินค้า และการใช้อุปกรณ์ยึดตู้บรรทุกสินค้าก่อให้เกิดปัญหาตู้บรรทุกสินค้าการหลุดร่วง ตกลงมาจากพื้นรถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีเฉพาะข้อบังคับในเรื่องขนาดรถ อุปกรณ์สลักยึดและตำแหน่งยึดอุปกรณ์สลักยึดตู้ แต่ยังไม่มีมาตรฐานที่ระบุถึง อุปกรณ์ยึด ตำแหน่งยึดอุปกรณ ...
    • type-icon

      จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การจราจร บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-12)

      รายงานฉบับนี้เป็นรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณจราจร ประจำปี พ.ศ. 2560-2561 บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9” ของกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม โดยข้อมูลการวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็น การรายงานปริมาณจราจรแยกประเภทบริเวณทางเข้าและออกจากระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ปริมาณจราจรบนสายทางของแต่ละช่วงทางต่างระดับ และการวิเคราะห์หาคุณภาพของการให้บริการ (Quality of services) ของแต่ละช่วงทางทางระดับ การจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีปริมาณที่หนาแน่นเฉพาะบนช่วงถนนระหว่างทางต่างระดับศรีนครินทร์ถึงทางต่างระดับสุวรรณภูมิในทั้งสองทิศทาง ...
    • type-icon

      จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ/หรือ 9 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-12)

      รายงานฉบับนี้เป็นรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณจราจร ประจำปีงบประมาณ 2562 บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ หมายเลข 9” (ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2562) ของกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม โดยข้อมูลการวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็น การรายงานปริมาณจราจรแยกประเภทบริเวณทางเข้าและออกจากระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ปริมาณจราจรบนสายทางของแต่ละช่วงทางต่างระดับ และการวิเคราะห์หาคุณภาพของการให้บริการ (Quality of services) ของแต่ละช่วงทางทางระดับการจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีปริมาณที่หนาแน่นเฉพาะบนช่วงถนนระหว่างทางต่างระ ...
    • type-icon

      บำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 

      จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-12)

      กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อสนับสนุนการบริหารและการให้บริการ ที่ผ่านมากองทางหลวงพิเศษฯ ประสบความสำเร็จในการใช้งานระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดีทางกองทางหลวงพิเศษฯ ยังขาดผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง อาจเนื่องมาจากมิได้เป็นพันธกิจหลักของกองทางหลวงพิเศษฯ ดังนั้นกองทางหลวงพิเศษฯ จึงจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบำรุงรักษาและปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศ และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุนกิจการต่าง ๆ ของกองทางหลวงพิเศษฯ รวมทั้งการให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาด้านการบริหารจัด ...
    • type-icon

      จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การจราจร บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-24)

      รายงานฉบับนี้เป็นรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณจราจร ประจำปี พ.ศ. 2557 บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ หมายเลข 9” ของกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม โดยข้อมูลการวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็นการรายงานปริมาณจราจรแยกประเภทบริเวณทางเข้าและออกจากระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ปริมาณจราจรบนสายทางของแต่ละช่วงทางต่างระดับ และการวิเคราะห์หาคุณภาพของการให้บริการ (Quality of services) ของแต่ละช่วงทางทางระดับการจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีปริมาณที่หนาแน่นเฉพาะบนช่วงถนนระหว่างทางต่างระดับศรีนครินทร์ถึงทางต่างระดับสุวรรณภูมิในทั้งสองทิศทางสำหรับช ...
    • type-icon

      บำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ งานบริหารจัดการฐานข้อมูลและรายงานอุบัติเหตุบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 

      จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-24)

      กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (กท.) โดยงานอำนวยความปลอดภัยมีหน้าที่ในการให้บริการผู้ใช้รถใช้ถนนบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ประสบปัญหาไม่ว่าจะในเรื่องของรถเสียหรืออุบัติเหตุ การดำเนินงานของงานอำนวยความปลอดภัยได้มีการนำเอาระบบอำนวยความปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วยระบบสารสนเทศ ระบบแผนที่และ GPS เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ และมีการนำเอาระบบติดตามรถยนต์ของทีมกู้ภัยโดยระบบ GPS มาใช้เพื่อติดตามรถกู้ภัย โดยระบบดังกล่าวสามารถที่จะส่งข้อความการขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยกู้ภัย และสามารถติดตามการดำเนินงานของการกู้ภัยได้ การนำเอาระบบอำนวยความปลอดภัยและจราจรมาใช้ในกา ...
    • type-icon

      จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การจราจร บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-24)

      รายงานฉบับนี้เป็นรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณจราจร ประจำปี พ.ศ. 2560 บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ หมายเลข 9” ของกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม โดยข้อมูลการวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็น การรายงานปริมาณจราจรแยกประเภทบริเวณทางเข้าและออกจากระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ปริมาณจราจรบนสายทางของแต่ละช่วงทางต่างระดับ และการวิเคราะห์หาคุณภาพของการให้บริการ (Quality of services) ของแต่ละช่วงทางทางระดับ การจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีปริมาณที่หนาแน่นเฉพาะบนช่วงถนนระหว่างทางต่างระดับศรีนครินทร์ถึงทางต่างระดับสุวรรณภูมิในทั้งสองทิศทางสำหรั ...
    • type-icon

      บำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ของหน่วยกู้ภัย 

      จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-24)

      กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (กท.) โดยงานอำนวยความปลอดภัยมีหน้าที่ในการให้บริการผู้ใช้รถใช้ถนนบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ประสบปัญหาไม่ว่าจะในเรื่องของรถเสียหรืออุบัติเหตุ การดำเนินงานของงานอำนวยความปลอดภัยได้มีการนำเอาระบบอำนวยความปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วยระบบสารสนเทศ ระบบแผนที่และ GPS เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ และมีการนำเอาระบบติดตามรถยนต์ของทีมกู้ภัยโดยระบบ GPS มาใช้เพื่อติดตามรถกู้ภัย โดยระบบดังกล่าวสามารถที่จะส่งข้อความการขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยกู้ภัย และสามารถติดตามการดำเนินงานของการกู้ภัยได้ การนำเอาระบบอำนวยความปลอดภัยและจราจรมาใช้ในกา ...
    • type-icon

      แผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 

      ทัศฐา ศรีวาลัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)

      เพื่อศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ในกรณีถนนสายรองของกรมทางหลวงชนบท (Feeder Road) ให้สามารถรองรับการพัฒนาพื้นที่ใหม่และแก้ไขปัญหาปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคตของกรมทางหลวงชนบท ให้เชื่อมต่อกับระบบคมนาคมอื่น ๆ และเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง จากการวิเคราะห์ระดับบริการของสายทางในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยแบบจำลองด้านการจราจรและขนส่งในปีอนาคตที่ พ.ศ. 2565- 2585 จำนวนทั้งสิ้น 130 สายทาง ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา 30 สายทาง จังหวัดชลบุรี 55 สายทาง ...
    • type-icon

      เก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (กลุ่มที่ 2) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)

      การจัดเก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพานเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านงานทาง การก่อสร้าง และงานบำรุงรักษาทางภายในความรับผิดชอบของหลวงชนบท เพื่อให้มีโครงข่ายทางหลวงชนบทที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยในการเดินทาง โดยโครงการนี้มีการใช้เครื่องมือสำรวจและจัดทำแผนที่แบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile Mapping System, MMS) ชนิด Image Processing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุด ส่งผลให้สามารถจัดทำข้อมูลเชิงภาพ (Image Data) และข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Data Creation) ที่มีความละเอียดถูกต้อง และรวดเร็ว ...
    • type-icon

      ค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-30)

      ในการสำรวจและวิเคราะห์สภาพทางทั้งชนิดผิวลาดยางและผิวคอนกรีตจำเป็นต้องใช้ข้อมูลความเสียหายของผิวทางเป็นข้อมูลตั้งต้นในการวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนงานบำรุงทางที่เหมาะสมและมีความถูกต้อง โดยการสำรวจจะมีการวางแผนงานให้เหมาะสม และเป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล นอกจากนี้ที่ปรึกษาได้พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการจัดเก็บและสำรวจข้อมูลบนถนนผิวลาดยางและผิวคอนกรีตและเลือกใช้ยานพาหนะที่ติดตั้งอุปกรณ์เลเซอร์และกล้องถ่ายภาพที่มีความคมชัด ทำการบันทึกข้อมูลในสนามพร้อมทำการประมวลผลข้อมูลความเสียหายชนิดต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกลาง ...
    • type-icon

      ค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว ปี 2563 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-31)

      กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทาง ในความรับผิดชอบประมาณ 74,786.100 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นทางบำรุง 73,165.825 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยผิวลาดยางประมาณ 66,711.865 กิโลเมตร ทางผิวคอนกรีตประมาณ 6,406.886 กิโลเมตร และทางผิวลูกรังประมาณ 47.074 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีทางก่อสร้างและทางรักษาสภาพอีก 1,614.275 กิโลเมตร (ข้อมูลบัญชีลักษณะผิวทาง ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563) ที่ผ่านมากรมทางหลวง ได้นำเอาระบบบริหารงานบำรุงทางโดยใช้โปรแกรมบริหารงานบำรุงทาง TPMS Budgeting Module เป็นโปรแกรมที่ใช้วิ ...
    • type-icon

      ค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว ปี 2564 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-01-19)

      กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทางในความรับผิดชอบประมาณ 76,200.640 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นทางบำรุง 74,740.721 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยผิวลาดยางประมาณ 67,921.906 กิโลเมตร ทางผิวคอนกรีตประมาณ 6,777.792 กิโลเมตร และทางผิวลูกรังประมาณ 41.023 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีทางก่อสร้างและทางรักษาสภาพอีก 1,450.684 กิโลเมตร (ข้อมูลบัญชีลักษณะผิวทาง ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564) ข้อมูลระยะทางดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงทุกปีและเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงเพิ่มระยะทาง เนื่องมาจากสาเหตุของการพัฒนาประสิทธิภาพโดยก ...