Recent Submissions

  • type-icon

    ศึกษาแนวทางการบูรณะสะพานกรุงเทพ 

    กฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-01-16)

    สะพานกรุงเทพเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2500 มีการใช้งานที่ยาวนานอย่างต่อเนื่องกว่า 60 ปี เชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งระหว่างเขตบางคอแหลม (ฝั่งพระนคร) กับเขตธนบุรี (ฝั่งธนบุรี) มีลักษณะเป็นสะพานโครงถักเหล็กจำนวน 5 ช่วง โดยมีช่วงกึ่งกลางสะพานที่สามารถเปิด-ปิดได้เพื่อให้เรือขนาดใหญ่แล่นผ่าน ปัจจุบันโครงสร้างสะพานมีความชำรุดเสียหายและเสื่อมสภาพไปมาก ส่งผลกระทบต่อ ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพาน กรมทางหลวงชนบทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสภาพความชำรุดเสียหายของสะพาน การเสื่อมสภาพของ...
  • type-icon

    ศึกษาพฤติกรรมการใช้ความเร็วบนทางหลวงพิเศษ และมาตรการกวดขันวินัยจราจร และการบังคับใช้กฎหมาย บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9 

    วินัย รักสุนทร (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-28)

    รายงานฉบับนี้ เป็นการศึกษาพฤติกรรมการใช้ความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงพิเศษ หมายเลข 7 และ 9 จากผลการวิเคราะห์ พบว่า ความเร็วที่ 85 เปอร์เซ็นไทล์จะมีค่าสูงขึ้นในช่องจราจรเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม ความเร็วที่ 85 เปอร์เซ็นไทล์สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลมีค่าใกล้เคียงกับค่าความเร็วจำกัด (ความเร็วจำกัด 120 กม./ชม.) ส่วนความเร็วที่ 85 เปอร์เซ็นไทล์ ของรถบรรทุกนั้น มีค่าค่อนข้างสูงกว่าความเร็วจำกัดค่อนข้างมาก โดยอัตราการใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดอยู่ระหว่าง 0-300 คันฝ่าฝืน/ยานพาหนะ 1,000 คัน สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลและมีค่าระหว่าง 9-1,000 คันฝ่าฝืน/ยานพาหนะ 1,0...
  • type-icon

    กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ด้วยเทคโนโลยี ปีงบประมาณ 2565 

    สุวรรณ จันทิวาสารกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-09-10)

    กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ด้วยเทคโนโลยีปีงบประมาณ 2565 เป็นกิจกรรมฯ ที่มุ่งเน้นในการเพิ่มทักษะการใช้เครื่องดิจิทัล โดยกิจกรรมฯครั้งนี้เลือกใช้โปรแกรม Microsoft Power BI เป็นเครื่องมือในการประมวลผลข้อมูล และรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหลายมุมมองสำหรับผู้บริหารซึ่งส่งผลทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ข้อมูลขององค์กรที่มีอยู่มาทำรายงานในรูปแบบ visualization ทำให้ช่วยตัดสินใจในการบริหารธุรกิจ อีกทั้งยังสามารถช่วยลดต้นทุนหรือเพิ่มยอดขาย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในธุรกิจประเภทเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเครื่องมือดิจิทัล...
  • Thumbnail

    ศึกษาโครงสร้างการจัดทำหลักสูตรการอบรมเพื่อขอรับคืนคะแนนความประพฤติในการขับรถ 

    อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-26)

    รายละเอียดตามเอกสารแนบ
  • type-icon

    ค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว ปี 2564 

    อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-01-19)

    กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทางในความรับผิดชอบประมาณ 76,200.640 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นทางบำรุง 74,740.721 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยผิวลาดยางประมาณ 67,921.906 กิโลเมตร ทางผิวคอนกรีตประมาณ 6,777.792 กิโลเมตร และทางผิวลูกรังประมาณ 41.023 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีทางก่อสร้างและทางรักษาสภาพอีก 1,450.684 กิโลเมตร (ข้อมูลบัญชีลักษณะผิวทาง ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564) ข้อมูลระยะทางดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงทุกปีและเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงเพิ่มระยะทาง เนื่องมาจากสาเหตุของการพัฒนาประสิทธิภาพโดยก...
  • type-icon

    ค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว ปี 2563 

    อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-31)

    กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทาง ในความรับผิดชอบประมาณ 74,786.100 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นทางบำรุง 73,165.825 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยผิวลาดยางประมาณ 66,711.865 กิโลเมตร ทางผิวคอนกรีตประมาณ 6,406.886 กิโลเมตร และทางผิวลูกรังประมาณ 47.074 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีทางก่อสร้างและทางรักษาสภาพอีก 1,614.275 กิโลเมตร (ข้อมูลบัญชีลักษณะผิวทาง ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563) ที่ผ่านมากรมทางหลวง ได้นำเอาระบบบริหารงานบำรุงทางโดยใช้โปรแกรมบริหารงานบำรุงทาง TPMS Budgeting Module เป็นโปรแกรมที่ใช้วิ...
  • type-icon

    ค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว 

    อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-30)

    ในการสำรวจและวิเคราะห์สภาพทางทั้งชนิดผิวลาดยางและผิวคอนกรีตจำเป็นต้องใช้ข้อมูลความเสียหายของผิวทางเป็นข้อมูลตั้งต้นในการวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนงานบำรุงทางที่เหมาะสมและมีความถูกต้อง โดยการสำรวจจะมีการวางแผนงานให้เหมาะสม และเป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล นอกจากนี้ที่ปรึกษาได้พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการจัดเก็บและสำรวจข้อมูลบนถนนผิวลาดยางและผิวคอนกรีตและเลือกใช้ยานพาหนะที่ติดตั้งอุปกรณ์เลเซอร์และกล้องถ่ายภาพที่มีความคมชัด ทำการบันทึกข้อมูลในสนามพร้อมทำการประมวลผลข้อมูลความเสียหายชนิดต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกลาง ซึ่งม...
  • type-icon

    เก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (กลุ่มที่ 2) 

    อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)

    การจัดเก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพานเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านงานทาง การก่อสร้าง และงานบำรุงรักษาทางภายในความรับผิดชอบของหลวงชนบท เพื่อให้มีโครงข่ายทางหลวงชนบทที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยในการเดินทาง โดยโครงการนี้มีการใช้เครื่องมือสำรวจและจัดทำแผนที่แบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile Mapping System, MMS) ชนิด Image Processing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุด ส่งผลให้สามารถจัดทำข้อมูลเชิงภาพ (Image Data) และข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Data Creation) ที่มีความละเอียดถูกต้อง และรวดเร็ว เหมาะสมก...
  • type-icon

    แผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 

    ทัศฐา ศรีวาลัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)

    เพื่อศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ในกรณีถนนสายรองของกรมทางหลวงชนบท (Feeder Road) ให้สามารถรองรับการพัฒนาพื้นที่ใหม่และแก้ไขปัญหาปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคตของกรมทางหลวงชนบท ให้เชื่อมต่อกับระบบคมนาคมอื่น ๆ และเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง จากการวิเคราะห์ระดับบริการของสายทางในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยแบบจำลองด้านการจราจรและขนส่งในปีอนาคตที่ พ.ศ. 2565- 2585 จำนวนทั้งสิ้น 130 สายทาง ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา 30 สายทาง จังหวัดชลบุรี 55 สายทาง แ...
  • type-icon

    บำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ของหน่วยกู้ภัย 

    จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-24)

    กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (กท.) โดยงานอำนวยความปลอดภัยมีหน้าที่ในการให้บริการผู้ใช้รถใช้ถนนบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ประสบปัญหาไม่ว่าจะในเรื่องของรถเสียหรืออุบัติเหตุ การดำเนินงานของงานอำนวยความปลอดภัยได้มีการนำเอาระบบอำนวยความปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วยระบบสารสนเทศ ระบบแผนที่และ GPS เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ และมีการนำเอาระบบติดตามรถยนต์ของทีมกู้ภัยโดยระบบ GPS มาใช้เพื่อติดตามรถกู้ภัย โดยระบบดังกล่าวสามารถที่จะส่งข้อความการขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยกู้ภัย และสามารถติดตามการดำเนินงานของการกู้ภัยได้ การนำเอาระบบอำนวยความปลอดภัยและจราจรมาใช้ในกา...
  • type-icon

    จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การจราจร บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9 

    วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-24)

    รายงานฉบับนี้เป็นรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณจราจร ประจำปี พ.ศ. 2560 บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ หมายเลข 9” ของกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม โดยข้อมูลการวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็น การรายงานปริมาณจราจรแยกประเภทบริเวณทางเข้าและออกจากระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ปริมาณจราจรบนสายทางของแต่ละช่วงทางต่างระดับ และการวิเคราะห์หาคุณภาพของการให้บริการ (Quality of services) ของแต่ละช่วงทางทางระดับ การจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีปริมาณที่หนาแน่นเฉพาะบนช่วงถนนระหว่างทางต่างระดับศรีนครินทร์ถึงทางต่างระดับสุวรรณภูมิในทั้งสองทิศทางสำหรั...
  • type-icon

    บำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ งานบริหารจัดการฐานข้อมูลและรายงานอุบัติเหตุบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 

    จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-24)

    กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (กท.) โดยงานอำนวยความปลอดภัยมีหน้าที่ในการให้บริการผู้ใช้รถใช้ถนนบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ประสบปัญหาไม่ว่าจะในเรื่องของรถเสียหรืออุบัติเหตุ การดำเนินงานของงานอำนวยความปลอดภัยได้มีการนำเอาระบบอำนวยความปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วยระบบสารสนเทศ ระบบแผนที่และ GPS เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ และมีการนำเอาระบบติดตามรถยนต์ของทีมกู้ภัยโดยระบบ GPS มาใช้เพื่อติดตามรถกู้ภัย โดยระบบดังกล่าวสามารถที่จะส่งข้อความการขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยกู้ภัย และสามารถติดตามการดำเนินงานของการกู้ภัยได้ การนำเอาระบบอำนวยความปลอดภัยและจราจรมาใช้ในกา...
  • type-icon

    จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การจราจร บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9 

    วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-24)

    รายงานฉบับนี้เป็นรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณจราจร ประจำปี พ.ศ. 2557 บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ หมายเลข 9” ของกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม โดยข้อมูลการวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็นการรายงานปริมาณจราจรแยกประเภทบริเวณทางเข้าและออกจากระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ปริมาณจราจรบนสายทางของแต่ละช่วงทางต่างระดับ และการวิเคราะห์หาคุณภาพของการให้บริการ (Quality of services) ของแต่ละช่วงทางทางระดับการจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีปริมาณที่หนาแน่นเฉพาะบนช่วงถนนระหว่างทางต่างระดับศรีนครินทร์ถึงทางต่างระดับสุวรรณภูมิในทั้งสองทิศทางสำหรับช...
  • type-icon

    บำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 

    จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-12)

    กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อสนับสนุนการบริหารและการให้บริการ ที่ผ่านมากองทางหลวงพิเศษฯ ประสบความสำเร็จในการใช้งานระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดีทางกองทางหลวงพิเศษฯ ยังขาดผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง อาจเนื่องมาจากมิได้เป็นพันธกิจหลักของกองทางหลวงพิเศษฯ ดังนั้นกองทางหลวงพิเศษฯ จึงจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบำรุงรักษาและปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศ และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุนกิจการต่าง ๆ ของกองทางหลวงพิเศษฯ รวมทั้งการให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาด้านการบริหารจัด...
  • type-icon

    จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ/หรือ 9 

    วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-12)

    รายงานฉบับนี้เป็นรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณจราจร ประจำปีงบประมาณ 2562 บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ หมายเลข 9” (ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2562) ของกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม โดยข้อมูลการวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็น การรายงานปริมาณจราจรแยกประเภทบริเวณทางเข้าและออกจากระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ปริมาณจราจรบนสายทางของแต่ละช่วงทางต่างระดับ และการวิเคราะห์หาคุณภาพของการให้บริการ (Quality of services) ของแต่ละช่วงทางทางระดับการจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีปริมาณที่หนาแน่นเฉพาะบนช่วงถนนระหว่างทางต่างระ...
  • type-icon

    จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การจราจร บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9 

    วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-12)

    รายงานฉบับนี้เป็นรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณจราจร ประจำปี พ.ศ. 2560-2561 บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9” ของกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม โดยข้อมูลการวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็น การรายงานปริมาณจราจรแยกประเภทบริเวณทางเข้าและออกจากระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ปริมาณจราจรบนสายทางของแต่ละช่วงทางต่างระดับ และการวิเคราะห์หาคุณภาพของการให้บริการ (Quality of services) ของแต่ละช่วงทางทางระดับ การจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีปริมาณที่หนาแน่นเฉพาะบนช่วงถนนระหว่างทางต่างระดับศรีนครินทร์ถึงทางต่างระดับสุวรรณภูมิในทั้งสองทิศทาง...
  • type-icon

    ศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยในการขนส่งตู้บรรทุกสินค้าที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย 

    จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-10)

    ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ในการการขนส่งตู้บรรทุกสินค้าเป็นจำนวนมากเนื่องจากความได้เปรียบในการบรรทุก และการขนส่ง แต่เนื่องจากพฤติกรรมของพนักงานขับรถ การละเลยข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัย การใช้ความเร็วสูง ความประมาท สภาพแวดล้อม รวมทั้งสภาพรถ สภาพอุปกรณ์ยึดตู้บรรทุกสินค้า และการใช้อุปกรณ์ยึดตู้บรรทุกสินค้าก่อให้เกิดปัญหาตู้บรรทุกสินค้าการหลุดร่วง ตกลงมาจากพื้นรถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีเฉพาะข้อบังคับในเรื่องขนาดรถ อุปกรณ์สลักยึดและตำแหน่งยึดอุปกรณ์สลักยึดตู้ แต่ยังไม่มีมาตรฐานที่ระบุถึง อุปกรณ์ยึด ตำแหน่งยึดอุปกรณ...
  • type-icon

    ศึกษาและปรับปรุงระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 

    อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-19)

    การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาผิวทางพิเศษ โดยผิวทางพิเศษส่วนใหญ่เป็นแอสฟัลต์ คอนกรีตปูทับบนพื้นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กหรือปูบนสะพานเหล็ก และบางส่วนผิวทางพิเศษปูบนพื้นระดับดิน ในปี 2555 กทพ. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจากสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยได้ทำการตรวจวัดค่าดัชนีความขรุขระสากล (IRI) ค่าร่องล้อ (Wheel Truck Rutting) ค่าความฝืดของพื้นทาง (Grip Number) รวมทั้งบันทึกภาพวีดีโอของพื้นทางพิเศษที่สำรวจทั้งหมดเพื่อใช้ประเมินค...
  • type-icon

    กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC และ SEC) ยุคดิจิทัล 

    จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-08)

    การจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC และ SEC) ยุคดิจิทัล ในครั้งนี้ ทำให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจ เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีในการบริการจัดการธุรกิจ ได้ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบรายงาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการมีแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในองค์กรของตนเอง และเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเกิดความต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการ จึงมีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการนำเทคโนโ...
  • type-icon

    การจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์ โครงการศูนย์คมนาคมขนส่งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลาตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 

    สุรพล นิติไกรพจน์; กานต์ พัชราวนิช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-07)

    โครงการศูนย์คมนาคมขนส่งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่โครงการฯ จำนวนประมาณ 126 ไร่ ซึ่งห่างจากบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซียบริเวณด่านสะเดาประมาณ 2.4 กม. เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกให้กับการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวรวมทั้งการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ในการศึกษาได้พิจารณาดำเนินโครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนระหวางรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดยรูปแบบการพัฒนาภายในโครงการฯ แบ่งการพัฒนาพื้นที่เป็น 5 โซน โซนที่ 1 สถานีขนส่งผู้โดยสาร โซนที่ 2 สำนักงานและศูนย์บริการนักท่องเที่ยว...
  • View more