ที่ปรึกษาจัดทำแผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม กลุ่มที่ 8
by วีริศ อัมระปาล
ที่ปรึกษาจัดทำแผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม กลุ่มที่ 8 | |
The Project of Rural Road Strategy Development for Department of Rural Road (Group No. 8 : Thammasat University) | |
วีริศ อัมระปาล | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2015 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของโลกและประเทศไทย ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพบริบทแวดล้อมของกรมทางหลวงชนบทเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งจากสภาพปัจจัยสิ่งแวดล้อมนอก รวมถึงสภาพปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายใน งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแนวทางและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากรมทางหลวงชนบท พ.ศ. 2560-2569 ที่เป็นแผนในระยะ10 ปี และแผนยุทธศาสตร์กรมทางหลวงชนบท พ.ศ. 2560-2569 ที่เป็นแผนในระยะ 4 ปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติโดยอาศัยกรอบแนวคิดของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management, NPM) แนวคิดการจัดทำยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ที่ให้ความสำคัญการปรับปรุงการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ PESTEL Analysis และ Seven-S ของ McKinney แล้วนำผลการศึกษาวิเคราะห์ไปดำเนินการต่อในการจัดทำ SWOT Analysis ซึ่งสามารถกำหนดแผนยุทธศาสตร์ของกรมทางหลวงชนบทได้ดังนี้ 1. วิสัยทัศน์ (Vision) : “พัฒนา และดูแลรักษาโครงข่ายทางอย่างมีคุณภาพ เพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืน ของประชาชน” 2. พันธกิจ (Mission) :“พัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทให้เชื่อมโยงและสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อให้ประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยการบริหารจัดการองค์กรที่มีสมรรถนะสูงและมีธรรมาภิบาล ตลอดจนส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น” 3. ค่านิยม (Value) : “เรียบง่าย ใช้เหตุผล ทำงานเป็นทีมที่ดี เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน” 4. ยุทธศาสตร์กรมทางหลวงชนบท (Strategic) 4.1 พัฒนาโครงข่ายชนบทเข้าสู่พื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึงและใช้งานอย่างปลอดภัย พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนทางหลวงท้องถิ่น เพื่อความมั่นคงของประเทศ (Stability) โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อมีโครงข่ายทางหลวงชนบทที่ทั่วถึง เสมอภาคเพียงพอ และมีมาตรฐานเพื่อสามารถพัฒนาประเทศอย่างมั่งคง แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้ 4.1.1 พัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทเข้าสู่พื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง 4.1.2 อำนวยความปลอดภัยงานทางบนโครงข่ายทางหลวงชนบท 4.1.3 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงข่ายทางหลวงท้องถิ่น 4.2 เชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงชนบท เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของประเทศ (Prosperity) โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อเป็นโครงข่ายทางหลวงชนบทที่มีศักยภาพและส่งเสริมให้ประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลให้สังคม ชุมชนประชาชนมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้ 4.2.1 แก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมืองและเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทางขนส่ง 4.2.2 พัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการเติบโตทางด้านการท่องเที่ยว การเกษตร การค้า และการลงทุน 4.3 บำรุงรักษาและเพิ่มคุณค่าโครงข่ายทางหลวงชนบท เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน (Sustainability) โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้ประเทศมีการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้ 4.3.1 บำรุงรักษาทางและสะพานอย่างทั่วถึง 4.3.2 พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มประโยชน์ใช้สอย (Function) ของสายทาง 4.3.3 พัฒนาสายทางให้สวยงามและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4.3.4 บริหารจัดการด้านความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ 4.4 พัฒนาองค์กร เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงที่ยึดมั่นในหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (High Performance Organization) โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อกรมทางหลวงชนบทเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงที่ยึดมั่นหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้ 4.4.1 เสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กร 4.4.2 บริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ 4.4.3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและจัดหาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงาน 4.4.4 พัฒนาระบบประกันคุณภาพงานให้มีมาตรฐานระดับสากล 4.4.5 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ 4.4.6 เสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ 4.4.7 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเครือข่ายภาคประชาชน 4.4.8 เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายทางหลวง |
|
แผนพัฒนาทางหลวงชนบท | |
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
กรมทางหลวงชนบท | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/468 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|