Now showing items 9-28 of 82

    • type-icon

      กิจกรรมการพัฒนาโมเดลในการส่งเสริม SME สู่อุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้โครงการศึกษาและพัฒนาโมเดลการส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 

      วีรบูรณ์ วิสารทสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

      การดำเนินงานกิจกรรมการพัฒนาโมเดลในการส่งเสริม SME สู่อุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้โครงการศึกษาและพัฒนาโมเดลการส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนผังการดำเนินโครงการและกิจกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเพื่อจัดทำโมเดลในการส่งเสริม SME สู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยคาดหวังผลผลิตและผลลัพธ์ เพื่อเกิดโมเดลใหม่ที่เหมาะสมในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม SME ของประเทศไทยไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างน้อย 2 โมเดล โดยการศึกษานี้ได้ดำเนินสอบถามและสัมภาษณ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ประกอบการ SME ผู้ปฏิบัติงานส่งเสริม ...
    • type-icon

      กิจกรรมการส่งเสริม พัฒนา โรงงานต้นแบบแปรรูปสมุนไพร (Support Center Model) ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs สมุนไพรเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2560 ประเด็นเมืองสมุนไพร 

      กิตติพงศ์ ไชยนอก (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      อุตสาหกรรมสมุนไพรเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและสามารถสร้างความยั่งยืนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) และถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) โดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าและเทคโนโลยี สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศไทยได้ ประกอบกับความต้องการใช้สมุนไพรในประเทศไทยและทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของผลิตภัณฑ์และสารสกัดสมุนไพร จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจสมุนไพรมากยิ่งขึ้น แต่การบริหารจัดการอุตสาหกรรมส ...
    • type-icon

      กิจกรรมการส่งเสริมการรวมกลุ่มสมุนไพร (Cluster) โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs สมุนไพรเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย กลุ่มเป้าหมาย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วิสาหกิจชุมชน จำนวน 4 เครือข่าย 

      กิตติพงศ์ ไชยนอก (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      จากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สู่แนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายใน อุตสาหกรรมสมุนไพร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบทั้งสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ ภูมิปัญญาที่สั่งสมเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคและดูแลสุขภาพของตนเอง ประกอบกับเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นแนวโน้มความต้องการของโลกอนาคต ทางรัฐบาลจึงตั้งเป้าพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นเมืองสมุนไพร โดยมีนโยบายการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเป็นระบบและยั่งยืนตลอดห่วงโซ่ ให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงในด้านสุขภาพและเศรษฐกิจอย่า ...
    • type-icon

      กิจกรรมศึกษาพฤติกรรรมผู้บริโภคอาหารไทยในประเทศเบลเยี่ยมและลักเซมเบิร์ก โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก (Thailand Food Quality to the World) ปี 2558 

      แก้วตา โรหิตรัตนะ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      จากการให้ความสำคัญของรัฐบาลในการสนับสนุนให้มีร้านอาหารไทยในต่างประเทศเพื่อเป็นศูนย์กลางการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย สถาบันอาหารและสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมีความร่วมมือในการดำเนินงาน “กิจกรรม ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารไทยในราชอาณาจักรเบลเยี่ยมและลักเซมเบิร์ก ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก” ในการศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยในการเลือก รับประทานอาหารของผู้บริโภคในราชอาณาจักรเบลเยียมและราชรัฐลักเซมเบิร์ก เพื่อเป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์ผลักดันการเติบโตของธุรกิจร้านอ ...
    • type-icon

      กิจกรรมสร้างความเข้มแข็งสมาคมการค้าตามแนวทาง Balanced Scorecard (BSC) ภายใต้โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สมาคมการค้า 

      อภิวัฒน์ มุตตามระ; Muttamara, Apiwat (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      การพัฒนาศักยภาพสมาคมการค้าเป็นอีกหนึ่งบทบาทที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายสมาคมการค้าให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการ โดยการนำแนวคิด Balanced Scorecard มาประยุกต์ใช้เป็นกรอบในการบริหาร ซึ่งประกอบด้วยมุมมอง (Perspectives) 4 ด้าน คือ มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective) มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective) มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective) การพัฒนาศักยภาพสมาคมการค้าและสร้างเครือข่ายสมาคมการค้า โดยมีการดำเนินการ ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs ใช้ Social Media เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบ Digital ปีงบประมาณ 2560 

      มานิต สาธิตสมิตพงษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      โครงการส่งเสริม SMEs ใช้ Social Media เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ SMEs ได้มีความรู้ความเข้าใจในการนำ Social Media มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการประยุกต์ใช้ในกิจการ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาดให้เพิ่มมากขึ้น 2) เพื่อให้มี Success Case ในการประยุกต์ใช้ Social Media ในธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาด เผยแพร่ออกสู่สาธารณะเพื่อเป็นต้นแบบการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี โดยได้แบ่งหลักสูตรการถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเป็น 2 หลักสูตรดังนี้ หลักสูตรที่ 1. การถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึ ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs ใช้ระบบ ERP by DIP ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบ Digital 

      สุวรรณ จันทิวาสารกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      กิจกรรม “ส่งเสริม SMEs ใช้ระบบ ERP by DIP” ซึ่งได้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 บรรลุวัตถุประสงค์การดำเนินการ เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อ SMEs ร่วมโครงการ 40 กิจการ จากนำระบบ ERP by DIP ไปใช้งานสามารถช่วยลดต้นการประกอบการเป็นมูลค่าต่อปีถึง 13,241,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 19.70 เพิ่มยอดขายหรือเพิ่มกำไรเป็นมูลค่าต่อปีถึง 28,480,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 16.65 ลดขั้นตอนการทำงานในกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญลงร้อยละ 32.81 ลดเวลาที่ใช้ในการทำงานในกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญลงร้อยละ 31.61 และทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มถึง 3,194,000 บาท สรุปผลความคุ้มค่าของโครงการเป็นอัตราส่วน ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs ใช้ระบบ ERP by DIP และพัฒนาศักยภาพด้วยระบบรายงานผู้บริหาร (BI) ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบ Digital ปีงบประมาณ 2559 

      จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการพัฒนาส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ SME ด้วย ERP by DIP และด้วยระบบรายงานผู้บริหารมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม SMEs ใช้ระบบ ERP by DIP ซึ่งเป็นระบบ ERP ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ย่อขนาดจากระบบ ERP ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน แต่สามารถใช้งานที่เพียงพอต่อความต้องการของ SMEs ขนาดเล็ก (มีข้อจำกัดในการใช้งานในระดับหนึ่ง) และระบบรายงานผู้บริหาร (BI) ที่จะสามารถช่วยธุรกิจในการวิเคราะห์และการวางแผนธุรกิจของผู้บริหารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารและจัดการ โดยเป็นการให้บริการผ่าน Cloud Computing ซึ่ง SMEs สามารถใช้งานซอฟต์แวร์โดยไม่ต้องติดตั้งระบบเซิร์ฟเวอร์ ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบรายงานผู้บริหาร (BI) ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบ Digital ปีงบประมาณ 2560 

      จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ตามนโยบายของรัฐบาลได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โดยมุ่งการวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลให้เริ่มขับเคลื่อนได้อย่าง จริงจังซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ซึ่งหมายรวมถึง การผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัลโดยตรงทั้งฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์อุปกรณ์สื่อสารดิจิทัลอุปกรณ์โทรคมนาคม ดิจิทัลและการใช้ดิจิทัลรองรับการให้บริการของภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจบริการอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างการ ใช้ดิจิทัลรองรับการบริหารจัดการการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรร ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพของ SMEs ด้วยระบบ Visualize ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 

      จักร ชวนอาษา (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

      จากนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในประเทศไทยตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ซึ่งเป็นการประสานความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตเข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นเพื่อให้สอดรับกับประเทศไทย 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนพัฒนา SMEs ให้เข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ...
    • type-icon

      จัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนด้วย Water footprint ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการส่งออก ปี 2558 

      ไพรัช อุศุภรัตน์; Usubharatana, Phairat (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหัวข้อสำคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพสินค้าและระบบการบริหารจัดการ โดยเฉพาะโลกที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การค้าของ WTO สำหรับการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีแนวโน้มการใช้น้ำในปริมาณมาก เมื่อเทียบกับการผลิตจากอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ โดยการใช้น้ำอาจมาจากกิจกรรมต่างๆ อาจเป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อมในรูปของน้ำเสียที่อุตสาหกรรมต้องทำการบำบัดให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้นก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ในปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับร่องรอยการใช้น้ำ หรือ วอเตอร์ฟุตพริ้นท์จากการผลิตผลิตภัณฑ์ (water footprint of product) จึงเป็นโอกาสให้เกิดก ...
    • type-icon

      จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมระดับจังหวัด 

      พีระศักดิ์ อินทรไพบูลย์; ชินนะพงษ์ บำรุงทรัพย์; Intarapaiboon, Peerasak; Bumrungsup, Chinnaphong (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      ดัชนีอุตสาหกรรมระดับจังหวัดสามารถใช้เป็นเครื่องวัดสภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระดับจังหวัด รวมทั้งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลอุตสาหกรรมระดับประเทศได้ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำหนดให้โรงงานรายงานข้อมูลการผลิตต่อสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สสอ.) ทุกเดือน เพื่อนำมาวิเคราะห์และจัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือน ในโครงการนี้ ระบบจัดเก็บข้อมูลการผลิต และประมวลดัชนีแบบออนไลน์ ได้ถูกพัฒนาขึ้น และนำระบบนี้ไปทดสอบกับ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ พิจิตร นครราชสีมา ขอนแก่น ระยอง สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี และสงขลา โดยดัชนีอุตสาหกรรมที่ประมวลได้จากระบบประกอบด้วย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ...
    • type-icon

      จัดทำมาตรการส่งเสริมเเละเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในพื้นที่ชายแดน 

      วิทวัส รุ่งเรืองผล; Rungruangphon, Witawat (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      จากวิสัยทัศน์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งเป็นผู้นำในการกำหนดนโยบายและเป็นศูนย์กลางประสานระบบการทำงาน เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ สสว. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในพื้นที่ชายแดน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ นอกจากนี้ จากสถานการณ์การแข่งขันอย่างรุนแรงและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน SMEs ในพื้นที่ชายแดนของไทยต่างๆ ประสบปัญหาในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ...
    • type-icon

      จัดทำยุทธศาสตร์และแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีไทยเพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2564 

      ธีร์ เจียศิริพงษ์กุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      งานวิจัย เรื่อง โครงการจัดทำยุทธศาสตร์และแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีไทย เพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ปี พ.ศ.2560 ถึง พ.ศ. 2564 ภายใต้ โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาข้อมูลในการจัดทำยุทธศาสตร์และแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลไทย และจัดทำร่างยุทธศาสตร์และแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่ (1) ศึกษา วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารยุทธศาสตร์และน ...
    • type-icon

      จัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค 

      แก้วตา โรหิตรัตนะ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      โครงการนี้เป็นโครงการที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 และเป็นการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจโครงสร้างของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคอย่างมีส่วนร่วมที่ทุกภาคส่วนสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน และเพื่อพัฒนาบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรมในการจัดทาแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพร้อมทั้งการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 1.) ผู้บริหารและเจ้าหน้ ...
    • type-icon

      จัดทำรายงานอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE Industry Reports) 

      ชนินทร์ มีโภคี; Chanin Mephokee (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      การศึกษาวิจัยโครงการจัดทำรายงานอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE Industry Reports) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพ และแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) และอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) โดยศึกษาภาพรวมและทิศทางการเติบโต ตลอดจนการแข่งขันของอุตสาหกรรมในระดับนานาชาติ รวมทั้งวิเคราะห์จุดเชื่อมโยงที่อุตสาหกรรมไมซ์สามารถเข้าไปสนับสนุนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง 3 อุตสาหกรรม ทั้งนี้ เพื่อนำผลการศึกษาเผยแพร่ข้อมูลให้แก ...
    • Thumbnail

      จัดทำแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อ Green Supply Chain ของอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อการส่งออก 

      หาญพล พึ่งรัศมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
    • type-icon

      จัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ 

      สรายุทธ์ นาทะพันธ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      อ.อ.ป. ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาในการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร จากการระดมความเห็นผู้บริหารระดับสูงของ อ.อ.ป. เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556 ผู้บริหารระดับสูงมีความเห็นชอบร่วมกันที่จะกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ขององค์กร โดยมุ่งเน้น การเพิ่มสัดส่วนกิจกรรมด้านอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าไม้ในห่วงโซ่การผลิตให้มากขึ้น จากวิสัยทัศน์เดิมของ อ.อ.ป. ที่กำหนดว่า “เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน” มาเป็นวิสัยทัศน์ใหม่คือ "เป็น ผู้นำการจัดการสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไม้สู่สากล" ...
    • type-icon

      จับมือผู้ประกอบการโคนมไทยบุกตลาดต่างประเทศโดยใช้ประโยชน์จาก FTA 

      สุทธิกร กิ่งแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      “โครงการจับมือผู้ประกอบการโคนมไทยบุกตลาดต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จาก FTA” เกิดจากความริเริ่มของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากเล็งเห็นถึงผลกระทบจากการเปิดตลาดให้กับสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมนำเข้าจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในปี 2564 และ 2568 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับเป็นกลุ่มสินค้าที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีศักยภาพในการแข่งขันสูง เป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกของโลก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือให้กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมสามารถปรับตัว ...
    • Thumbnail

      ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดสำหรับอุตสาหกรรมรายสาขา (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (บูรณาการ)) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)