SME ปรับตัวรับมือ VUCA World (ภาคบริการ) ปีงบประมาณ 2565
by อรพรรณ คงมาลัย
SME ปรับตัวรับมือ VUCA World (ภาคบริการ) ปีงบประมาณ 2565 | |
Project of SME Adapting to VUCA World for the Promotion and Development of SME Entrepreneurs (Service Sector) 2022 | |
อรพรรณ คงมาลัย | |
2022-11-24 | |
สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
|
หน่วยร่วมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนินโครงการ SME ปรับตัวรับมือ VUCA World เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SME (ภาคบริการ) ปีงบประมาณ 2565 การดำเนินโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ เสริมแกร่งและยกระดับความสามารถในการแข่งขันธุรกิจให้สอดรับกับกระแสนิยมของโลก และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของกลุ่มธุรกิจบริการ และเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วยุค VUCA World
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ยกระดับความสามารถการแข่งขันธุรกิจผ่านโปรแกรม SME VUCA PROACTIVE ประกอบไปด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การฝึกอบรม และการพัฒนาเชิงลึก กิจกรรมที่ 1 การฝึกอบรม เริ่มตั้งแต่การจัดกิจกรรม Business speed date เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกิจการ จากนั้นเป็นการฝึกอบรมทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ โดยในส่วนของการฝึกอบรมในรูปแบบออฟไลน์มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้ในสถานการณ์เศรษฐกิจและปัจจัยแวดล้อมการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่การฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ คือ VUCA Proactive : Expert Series ในกลุ่มทักษะที่จำเป็นต้องปฏิบัติงาน (Hard skills) ซึ่งมี 4 หลักสูตรย่อย ได้แก่ 1) หลักสูตร “SMEs Operation Expert” Drive changes in new era of service : ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้เกิดขึ้นจริง 2) หลักสูตร “SMEs Service Expert” ออกแบบกระบวนการบริการอย่างไรให้ได้มาตราฐาน เพื่อรับมือความไม่แน่นอน และการเติบโต 3) หลักสูตร “SMEs Data Expert” เก็บข้อมูลแค่ไหนถึงเรียกว่าพอดี คิดโปรโมชั่นอย่างไรให้ดึงดูดใจ และ 4) หลักสูตร “SMEs Finance Expert” วิเคราะห์ต้นทุนและงบการเงินเพื่อการเติบโตและขยายบริการ กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาเชิงลึก ทางทีมที่ปรึกษาจะทำหน้าที่โค้ชและให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ โดยผลักดันให้ผู้ประกอบการนำความรู้ที่ได้รับฝึกอบรมมาพัฒนาโมเดลธุรกิจบริการใหม่ (New service business model) หรือปรับเปลี่ยนธุรกิจให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น โดยจำแนกการพัฒนาผู้ประกอบการได้เป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ (1) New Service Innovation & Communication (2) Digital Experience (3) Software development – Service Front End (4) Customer Experience Development (5) Standard Operating Procedure (6) Analyzing Data for VUCA Strategic Moves และ (7) Software development – Service Back End
ในปีนี้ มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการมากถึง 182 กิจการ สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 35 กิจการซึ่งมีกิจการที่ผ่านเกณฑ์และการ Pitching สู่การพัฒนาเชิงลึก รวมทั้งสิ้นจำนวน 38 กิจการ แบ่งเป็น กลุ่มร้านอาหารจำนวน 10 กิจการ กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวจำนวน 9 กิจการ กลุ่มการแพทย์วิถีใหม่และการดูแลผู้สูงอายุจำนวน 10 กิจการ ธุรกิจบริการอื่น 9 กิจการ (บริการขนส่ง บริการเคลือบแก้วรถ บริการดูแลสุนัข บริการจัดหาแม่บ้าน บริการสปาผม บริการกําจัดปลวก และร้านขายยา) ทั้งนี้ ผลการดำเนินโครงการพบว่า ในช่วงระยะเวลาโครงการผู้ประกอบการสามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจมูลค่า 138.1 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 35 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าในระยะเวลา 1 ปีข้างหน้า จะสามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจมูลค่า 435.9 ล้านบาท โดยประมาณ |
|
SME
VUCA World |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1139 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View No fulltext.docx ( 12.11 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|