ยกระดับธุรกิจเริ่มต้น (Boost up New Entrepreneurs) ปี 2563
by อรพรรณ คงมาลัย
ยกระดับธุรกิจเริ่มต้น (Boost up New Entrepreneurs) ปี 2563 | |
Boost up New Entrepreneurs 2020 | |
อรพรรณ คงมาลัย | |
2565-03-04 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการพัฒนาผู้ประกอบการที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาคและทำธุรกิจใน ภาคผลิต ภาคการค้า ภาคบริการ และภาคการเกษตร ให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่งคั่งและยั่งยืน และใน 3 ปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่กว่า 30,000 ราย เพื่อกระตุ้นให้เกิดนักธุรกิจใหม่ขึ้นทั่วประเทศ โดยมีการพัฒนาแนวคิดและแผนธุรกิจที่มุ่งเน้นให้สามารถขายสินค้าได้ เป็นที่ยอมรับของสถาบันการเงิน และสามารถเพิ่มมูลค่า ก่อให้เกิดรายได้มากขึ้น การพัฒนาที่ผ่านมาเป็นเพียงการพัฒนาระยะเริ่มต้นธุรกิจ ผู้ประกอบการบางส่วนมีศักยภาพสามารถเติบโตเข้าสู่ระดับธุรกิจในกลุ่ม Regular ได้ แต่บางส่วนยังไม่สามารถก้าวผ่านการพัฒนาธุรกิจได้ดีพอแต่มีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อยอดให้สามารถยกระดับได้ จำเป็นจะต้องมีการผลักดันให้ผู้ประกอบการในกลุ่มที่มีศักยภาพ สามารถยกระดับธุรกิจให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตและกระบวนการบริหารจัดการ รวมถึงการพัฒนาสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของตลาดด้วยคุณภาพ และมาตรฐานสากล สสว. จึงได้จัดทำโครงการยกระดับธุรกิจเริ่มต้น (Boot up New Entrepreneurs) เพื่อพัฒนาและช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ผ่านกระบวนการพัฒนาในโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ในปี 2559 - 2561 และผู้ประกอบการนิติบุคคลได้ไม่เกิน 3 ปี ในภาคผลิต ภาคการค้า ภาคบริการ และภาคการเกษตรที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เข้มแข็งมากขึ้น มุ่งเน้นการยกระดับผู้ประกอบการ โดยการนำเทคโนโลยี งานวิจัย นวัตกรรม จากมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และภาครัฐ มาปรับใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการ เพื่อสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้ SME เป็นวาระแห่งชาติ และปฏิรูปภาคเกษตรไทยสู่ยุค 4.0 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้เข้ามาเป็นหนึ่งในหน่วยร่วมที่จะร่วมดำเนินการ โดยการนำความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี งานวิจัย และนวัตกรรม ต่าง ๆ มาช่วยพัฒนายกระดับผู้ประกอบการ โดยระยะเวลาในการดำเนินโครงการเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง สิงหาคม 2563 (ระยะเวลาดำเนินการโดยประมาณ 8 เดือน) ซึ่งโครงการยกระดับธุรกิจเริ่มต้น (Boot up New Entrepreneurs) ปีงบประมาณ 2563 มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) พัฒนาผู้ประกอบการใหม่ภายใต้ BCG โมเดลในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพในการเติบโต 2) พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่ให้สามารถแข่งขันได้ โดยการพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการให้สามารถใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และ 3) สนับสนุนการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้นโดยการเชื่อมโยงและผลักดันการใช้เทคโนโลยี งานวิจัย นวัตกรรม จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนสู่ผู้ประกอบการระยะเริ่มต้นการดำเนินโครงการได้ออกแบบไว้ 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีการยกระดับผู้ประกอบการ รวมทั้งทำการสำรวจความต้องการและวิเคราะห์ศักยภาพผู้ประกอบการ กิจกรรมยกระดับ/การสร้าง/การพัฒนาผู้ประกอบการในเชิงลึก และกิจกรรมทดสอบตลาดสินค้าพร้อมเชื่อมโยงสถาบันการเงิน กิจกรรมที่ 1: การอบรมให้ความรู้ การสำรวจความต้องการ และวิเคราะห์ศักยภาพผู้ประกอบการ มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 184 คน มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ 140 คน เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมจริง 133 คน และสุดท้ายมีผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์และพร้อมจะเข้าร่วมในกิจกรรมต่อไปของโครงการทั้งสิ้น 132 คน กิจกรรมที่ 2: การยกระดับ/การสร้าง/การพัฒนาผู้ประกอบการในเชิงลึก มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม 132 ราย อย่างไรก็ตาม ระหว่างการดำเนินโครงการการได้มีผู้ประกอบการขอถอนตัวจากการเข้าร่วมโครงการไป 7 ราย เนื่องจากไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมจนจบโครงการได้ และเหลือผู้ประกอบการที่ผ่านกิจกรรมที่ 2 อย่างครบถ้วน จำนวน 125 ราย ซึ่งมาจากประเภทธุรกิจต่าง ๆ 4 กลุ่ม ได้แก่ ภาคการผลิตอุตสาหกรรม 45 ราย ภาคการค้า 50 ราย ภาคการบริการ 15 ราย และภาคการผลิตเกษตร 15 ราย ซึ่งทางโครงการได้ทำการยกระดับผู้ประกอบการใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ 47 ราย ด้านบรรจุภัณฑ์ 7 ราย และด้านตรวจวิเคราะห์ 71 ราย กิจกรรมที่ 3: การทดสอบตลาดสินค้าพร้อมเชื่อมโยงสถาบันการเงิน มีผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบตลาด 62 คน และมีผู้ที่ผ่านเกณฑ์ประเมินเบื้องต้นโดยคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ CPN และ TV Direct จำนวน 48 ราย ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ พบว่าผู้ประกอบการพึงพอใจต่อการจัดโครงการและอยากให้มีการจัดกิจกรรมต่อยอดจากโครงการนี้ต่อไปอีกในปีหน้า ผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการยกระดับธุรกิจของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการผู้ประกอบการทั้ง 125 ราย ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพก่อให้เกิดมูลค่าผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจ โดยรวมประมาณ 197.98 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่ายอดขายทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นรวมกันประมาณ 45.69 ล้านบาท มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 75.11 ล้านบาท และมูลค่าการหาเงินทุน อาทิ ขอสินเชื่อ ขอทุนสนับสนุนจาก iTAP รวมกันประมาณ 77.20 ล้านบาท The Office of SMEs Promotion (OSMEP) is an agency with the primary mission of developing entrepreneurs spread all over the region and doing business in the manufacturing, trade, service, and agriculture sectors to be able to grow prosperously and sustainably. In the past 3 years, over 30,000 new entrepreneurs have been developed to encourage new businessmen across the country by developing concepts and business plans that focus on being able to sell products accepted by financial institutions and can increase the value to generate more income. The past development was just the initial stage of business development. Some of the entrepreneurs have the potential to grow into the business level in the Regular group, but some have not yet advanced enough to develop the business, but have the potential to further develop to be able to upgrade. There needs to be a push for entrepreneurs in the potential group to be able to upgrade the business to create continuous and sustainable development such as the use of technology in production processes and management processes, as well as product development to be acceptable in the market with quality and international standards. OSMEP has therefore created a Boot up New Entrepreneurs project to develop and assist entrepreneurs who have gone through the development process of the New Entrepreneur Development Project in 2016 - 2018 and juristic persons up to 3 years in the existing manufacturing, trade, service, and agricultural sectors to be stronger focusing on upgrading operators by using technology, research, innovation from universities, research institutes, and government sectors to apply for business development of entrepreneurs to comply with the government's policy that sets SME as a national agenda and reform Thai agriculture towards the 4.0 era. Thammasat University has been selected by the Office of SMEs Promotion (OSMEP) to become one of the joint units by bringing knowledge, ability, and expertise in technology, research, and various innovations to help develop and upgrade entrepreneurs. The duration of the project runs from January to August 2020 (approximately 8 months). The Boot up New Entrepreneurs project for the fiscal year 2020 has 3 objectives which are (1) Developing new entrepreneurs under BCG model in target industries which have high growth potential. (2) Developing new entrepreneurs to have competitive competency by improving their entrepreneurial skills and being able to use technology to increase business efficiency. (3) Supporting early-stage enterprises’ growth by integrating and driving the use of technology research innovation from government and private agencies The project has been designed in 3 main activities, including training activities to provide knowledge and understanding of principles and methods to upgrade entrepreneurs, as well as surveying needs and analyzing entrepreneurial potential, upgrading / building / in-depth entrepreneurship development activities, and product market testing activities, together with connecting financial institutions. Activity 1: Educational training, needs survey, and analysis of entrepreneurial potential. 184 people enrolled in the project. 140 people were qualified. 133 people attended activities of the project. Finally, 132 participants were qualified and ready to participate in further activities of the project. Activity 2: There were 132 entrepreneurs participating upgrading / building / in-depth entrepreneurship development activities. However, during the project, there were 7 entrepreneurs requesting to withdraw from the project due to lack of time to participate in activities until the end of the project. The remaining 125 entrepreneurs who have completed activities 2, which come from 4 different business groups, which are 45 industrial production sectors, 50 trading sectors, 15 service sectors, and 15 agricultural production sectors. The project has upgraded the entrepreneurs in 3areas, which are product development (47 people), packaging (7 people), and analysis (71 people) Activity 3: Product market testing, together with connecting financial institutions. There were 125 entrepreneurs participated the market testing activities. 48 people have passed the initial evaluation criteria from Thammasat University, CPN, and TV Direct. The result of satisfaction survey from 125 project participants found that the participants are satisfied with the project and would like the project to have more extensive activities next year. Economic value created from 125 project participants had generated the value of economic achievement up to 197.98 million. This value is divided into 45.69 million for domestic and international sales, investment value increasing up to 75.11 million and 77.20 million for financing (i.e. loan and funding from ITAP). |
|
Boost up New Entrepreneurs
ยกระดับธุรกิจเริ่มต้น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1059 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|