Browsing by Author "เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว"
Now showing items 1-19 of 19
-
การจัดการศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-27)
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อด้วยกัน คือ 1) เพื่อศึกษาผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดน และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดน โดยคณะผู้วิจัยได้เริ่มดำเนินงานด้วยการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาของประเทศจีน อินเดีย เวียดนาม และมาเลเซีย จากนั้นจึงเป็นการศึกษาการจัดการศึกษาของจังหวัดในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 5 ... -
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลระบบธนาคารหน่วยกิตและกลไกขับเคลื่อน ความเชื่อมโยงระหว่างภาคอุดมศึกษากับภาคแรงงาน/ภาคประกอบการ
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-06)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับ ที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 8 กำหนดให้การจัดการศึกษายึดหลักการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน โดยให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมาตรา 15 ระบุให้การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยสถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือทั้ง 3 รูปแบบก็ได้ รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถสะสมผลการเรียนไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกัน หรือต่างรูปแบบได้ ... -
ความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-27)
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน เป็นการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิควบคู่ไปกับข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวข้องกับความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ต่อยอดจากองค์ความรู้เรื่องแนวโน้มความต้องการกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) ให้เห็นความเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) อันจะส่งผลให้มีข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ในการจัดทำข้อเสนอเชื่อมโยงกับภาคการทำงาน รวมถึงยังเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนางานกลไก ... -
จ้างเหมาบริการผู้เชี่ยวชาญทบทวนแผนที่นำทาง (Roadmap) การขับเคลื่อนเป้าหมายที่ 16
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการยุติธรรม เพื่อให้สามารถอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในประเทศได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม นอกจากนี้แล้ว เป้าหมายที่ 16 ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และแผนแม่บทกระบวนการยุติธรรมฉบับที่ 3 อย่างไรก็ตาม การจะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ไปพร้อมกัน จำเป็นจะต้องมีแผนที่นำทาง (Road Map) ที่สามารถบูรณาการเป้าหมายของทุกนโยบายให้ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดเอกภาพในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังช่วยให้เกิดประสิทธิภ ... -
ประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการข้อร้องเรียน
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-19)
การประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการข้อร้องเรียน ประจำปี 2562 ผลการศึกษาจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น จำนวน 670 คน แบ่งเป็น มาตรา 57 ประเด็นการร้องเรียนมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุข จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 5.52 มาตรา 59 จำนวน 633 คน จำแนกตามประเด็นการร้องเรียน ประกอบด้วย ประเด็นถูกเรียกเก็บเงิน 128 คน คิดเป็นร้อยละ 19.10 ประเด็นไม่ได้รับความสะดวกตามสมควร 262 คน คิดเป็นร้อยละ 39.10 และ ประเด็นไม่ได้รับบริการตามสิทธิที่กำหนด 243 คน คิดเป็นร้อยละ 36.27 ตามลำดับ ผลการศึกษาจำแนกตามวัตถุประสงค์ดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อประเมินการจัดก ... -
ประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)
การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร เพื่อนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาใช้ประกอบการประเมินผลการดำเนินงานโครงการอย่างเป็นระบบ นำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานรวมทั้งการต่อยอดและขยายผลโครงการลงสู่พื้นที่ในระดับตำบลที่ครอบคลุมทั้งประเทศไทยต่อไปในอนาคต โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่เข้าร่วมโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” จำนวน 40,000 ราย ในพื้นที่ 878 ตำบล ใน 878 อำเภอ ใน 76 จังหวัด ... -
ประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการยกระดับ OTOP ใน 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)
การดำเนินงานที่ผ่านมา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำโครงการแผนงานขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจและสังคมฐานราก (ยกระดับ OTOP ในพื้นที่ 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ) ซึ่งนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาและจัดระเบียบองค์ความรู้แล้ว ไปถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการ OTOP โดยมีผลการศึกษาจำแนกตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อพัฒนากระบวนการ เครื่องมือ ตลอดจนทำการประเมินมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ... -
พัฒนาตัวชี้วัดและวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-29)
เชื่อมโยง Link: http://kpi.ac.th/knowledge/research/data/1070 -
พัฒนาตัวชี้วัดและวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย (Thai Peace Index)
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-09-10)
การศึกษานี้เป็นการพัฒนาดัชนีสันติภาพไทย (TPI) ประกอบด้วย 4 ดัชนีหลัก 34 ดัชนีย่อย ดัชนีเหล่านี้ทั้งหมดได้รับการพัฒนาตามมาตรการที่ใช้ในระดับสากล แต่ได้รับการคัดเลือกและปรับให้เข้ากับบริบทของไทย ดัชนีหลัก 4 ตัว ได้แก่ การขาดความรุนแรงทางกายภาพ ความปลอดภัยและประกันสังคม การยอมรับความหลากหลายและสิทธิมนุษยชน และความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยพบว่า ค่า TPI อยู่ที่ 3.37 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับปานกลางเพื่อสันติภาพ ในบรรดาดัชนีทั้ง 4 ด้าน ด้านความปลอดภัยและประกันสังคมได้คะแนนต่ำสุดที่ 3.29 การระบาดของ COVID-19 ไม่ส่งผลกระทบต่อคะแนนดัชนีสันติภาพโดยรวม อย่างไรก็ตาม ... -
พัฒนาหลักเกณฑ์ตัวชี้วัดด้านสันติภาพ จัดเก็บข้อมูลด้านสันติภาพและวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
การศึกษาครั้งนี้เป็นออกแบบและจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดเป้าหมายที่ 16 เฉพาะตัวชี้วัดที่ ตัวชี้วัดที่ 16.1.3 สัดส่วนของประชากรที่ได้รับความรุนแรงทางร่างกาย จิตใจหรือทางเพศ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ตัวชี้วัดที่ 16.1.4 สัดส่วนประชากรที่รู้สึกปลอดภัยเมื่อเดินบริเวณพื้นที่ที่อาศัยเพียงลำพัง และตัวชี้วัดที่ 16.3.1 สัดส่วนของเหยื่อความรุนแรงในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้รายงานการกระทำอันรุนแรงนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในการแก้ปัญหาเหล่านี้ จากการศึกษาถึงแนวทางการเก็บข้อมูลในต่างประเทศ เช่น ... -
วิจัยมาตรฐานอัตราค่าใช้จ่ายในการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมกรณีศึกษาอัตราค่าจ้างทนายความกองทุนยุติธรรม
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-12)
เอกสารตามไฟล์แนบ -
ศึกษาความเป็นไปได้และจัดทำแนวทางสู่การต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากฐานชีวภาพ
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-12)
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ“สพภ.” เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ส่งเสริม และสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และธุรกิจชีวภาพด้วยการใช้สหวิทยาการเพื่อยกระดับ และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งมีแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมในยุคโลกาภิวัฒน์ นอกจากนี้แล้ว เนื่องจากปัจจุบันปัญหาที่เกิดขึ้นมีความสลับซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว การแก้ปัญหาจึงจำเป็นต้องมีความรอบคอบโดยคำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน ต้องมีความรอบรู ... -
ศึกษารูปแบบการให้สินเชื่อกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-02-16)
รายละเอียดตามเอกสารแนบ -
ศึกษาแนวทางการพัฒนาบริหารจัดการสนาม และสถานการกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-06-21)
การศึกษานี้ประกอบด้วยวัตถุประสงค์หลักสองประการ สิ่งแรกคือการออกแบบศูนย์กีฬาของจังหวัดสระบุรีใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรในจังหวัด วัตถุประสงค์ประการที่สองคือการพัฒนาแผนการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมเพื่อให้ศูนย์กีฬาแห่งใหม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสองกิจกรรมดังต่อไปนี้ได้ดำเนินการ ดังนี้ 1. การสำรวจผู้ใช้ของผู้เข้าร่วม 400 คน ดำเนินการที่ศูนย์กีฬาและพื้นที่ใกล้เคียงในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ของศูนย์กีฬาในปัจจุบัน มีการรวบรวมคำแนะนำวิธีการปรับปรุงสนามกีฬา 2. มีการอภิปรายกลุ่มสองครั้งด้วยแบบฝึกหั ... -
ศึกษาแนวโน้มความต้องการกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based)
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-10)
การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาใช้แนวทางในการเตรียมกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน โดยมี 6 จังหวัดที่ใช้เป็นพื้นที่ทำการศึกษา ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดนราธิวาส จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการศึกษาโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิควบคู่ไปกับข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการจากการสัมภาษณ์ หรือสนทนากลุ่ม ของตัวแทนจากภาครัฐ สถานศึกษา ภาคเอกชน ชุมชน และตัวผู้เรียนรวมทั้งสิ้น 183 คน โดยจะเริ่มจากการศึกษาบทเรียนจากต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป ประเทศญี่ปุ่น และมาเลเซีย จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ผ ... -
สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ผู้ให้บริการ และองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2562
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-19)
การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ผู้ให้บริการและเครือข่ายองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2562 คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่าง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ประชาชน จำนวน 3,270 ครัวเรือน ประชากรตัวอย่าง 7,558 คน 2) ผู้ให้บริการ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 5,855 คน 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 4,150 แห่ง จำนวน 5,960 คน และ 4) เครือข่ายองค์กรภาคี จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 408 คน ผลการศึกษาพบว่า จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คะแนนความพึงพอใจของประชาชน เท่ากับ 8.98 คะแนน1 ผู้ให้บริการ คะแนนความพึงพอใจ เท่ากับ 6.73 คะแนน2 ... -
เพื่อประเมินมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมจากภารกิจ ของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ประจำปี 2561
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-07-20)
จากการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมจากการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) มีการสร้างมูลค่ารวมทั้งหมด 2,691.72 ล้านบาท ซึ่งเป็นการประมาณการจากโครงการจำนวน 30 โครงการ แบ่งตามยุทธศาสตร์ได้ดังนี้ 1. มูลค่าที่เกิดขึ้นตามยุทธศาสตร์ที่ 1 เท่ากับ 108.24 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.01 2. มูลค่าที่เกิดขึ้นตามยุทธศาสตร์ที่ 2 เท่ากับ 32.06 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.19 3. มูลค่าที่เกิดขึ้นตามยุทธศาสตร์ที่ 3 เท่ากับ 2,395.81 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 89.01 4. มูลค่าที่เกิดขึ้นตามยุทธศาสตร์ที่ 4 เท่ากับ 83.32 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ... -
แผนการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่พิเศษเลย
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-07-02)
ตามไฟล์แนบ -
แผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว ภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น - เขาใหญ่
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-12)
ตามไฟล์แนบ