Browsing by Author "ธีระ สินเดชารักษ์"
Now showing items 1-16 of 16
-
การจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาการสร้างความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระหว่างเมือง ในรูปแบบเมืองแฝด (Twin Cities) ระดับนานาชาติ ด้วยวิธีคัดเลือก
ธีระ สินเดชารักษ์; Teera Sindecharak (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
ความสัมพันธ์เมืองแฝด/เมืองพี่เมืองน้องนั้นเป็นความสัมพันธ์ในระดับที่เท่าเทียมกันระหว่างจังหวัดของไทยกับจังหวัด (หรือ เมืองหรือชื่อเรียกอีกอย่างที่มีฐานะเทียบเท่ากับจังหวัดไทย เช่น มลรัฐ มณฑล นคร) ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีจุดมุ่งหมายในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ความร่วมมืออันดีต่อกันและมีการแลกเปลี่ยนกันในด้านต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่น ด้านการศึกษา การสาธารณสุข การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม เป็นต้น เมืองที่จะสามารถเป็นเมืองแฝด/เมืองพี่เมืองน้องได้นั้น จำเป็นต้องมีความคล้ายคลึงกันในด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต/ความเป็นอยู่ ... -
การถอดบทเรียนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน เป็นกิจกรรมทางสังคมในรูปแบบหนึ่งที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนด้วยความสมัครใจของคู่ขัดแย้ง และใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือก อันจะนำไปสู่การลดคดีเข้าสู่ชั้นศาล และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนอันเกิดจากการเข้าถึงจนออกจากกระบวนการยุติธรรมหลัก ในบทความนี้พยายามนำเสนอแนวทางและวิธีการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามบทบาทหน้าที่ของศูนย์ยุติธรรมชุมชนตัวอย่าง ๘๑ แห่งในสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ๒๗ จังหวัดทั้งที่มีอัตราการไกล่เกลี่ยสำเร็จสูงสุด และต่ำสุดจากสถิติย้อนหลัง ... -
การประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ธีระ สินเดชารักษ์; Teera Sindecharak (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
เนื่องจากรายได้จากอุตสาหกรรมการท้องเที่ยวถือเป็นรายได้ที่กระจายสู่ระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย มีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดการผลิตและการนําเอาทรัพยากรมาใช้ ปรากฏการณ์นี้สามารถประเมินผลกระทบเศรษฐกิจได้ผ่านการคํานวณหาตัวทวีคูณของเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวหรือ “Multiplier Effects of Tourism” บทความนี้ได้นําเสนอค่าตัวทวีคูณจากการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษในประเทศไทย 6 พื้นที่พิเศษที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. วิธีการที่ใช้ในการหาตัวทวีคูณนี้ใช้วิธีพื้นฐาน เก็บข้อมูล ... -
การพัฒนาสิทธิประโยชน์ประกันการจ้างงาน เพื่อพัฒนากำลังแรงงานอย่างยั่งยืน
ธีระ สินเดชารักษ์ (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-12-23)
สถานการณ์การจ้างงานในประเทศไทยมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงอัตราการว่างงานของแรงงานในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี การสร้างหลักประกันทางสังคมให้กับแรงงานไทยจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาสู่การศึกษาเพื่อพัฒนาสิทธิประโยชน์ประกันการจ้างงานเพื่อการพัฒนาแรงงานอย่างยั่งยืนนี้มีวัตถุประสงค์หลักสำคัญ คือ 1) เพื่อพัฒนา/ขยายสิทธิประโยชน์การว่างงานแต่เดิมที่มีให้ครอบคลุมการประกันการจ้างงานด้วย 2) เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่เป็นทางเลือก ทั้งในการกำหนดแหล่งที่มา รูปแบบการจ่ายเงินสมทบ ... -
การศึกษาการรับรู้ด้าน Low Carbon Tourism ของนักท่องเที่ยวที่เลือกพักในโรงแรมที่พักภาคีเครือข่ายของ อพท.
ธีระ สินเดชารักษ์; อรอุมา เตพละกุล; จุฑาศินี ธัญปราณีตกุล; Teera Sindecharak; Ornuma Teparakul; Juthasinee Thanyapraneedkul (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
การท่องเที่ยวแบบ Low Carbon Tourism เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของ อพท. เป็นการท่องเที่ยวที่สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการท่องเที่ยวทางเลือกในการช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนให้น้อยลง เมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวแบบปกติ ในขณะที่นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่มีส่วนร่วมในการลดโลกร้อน โดยยังคงไว้ซึ่งความสะดวกสบายและความสุขที่ได้รับจากการท่องเที่ยวที่มีความแตกต่างกับการดำเนินการตาม ๔ มาตรการลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นการดำเนินการที่เน้นให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการ โดยเป้าหมายหลัก คือ ลดการใช้ทรัพยากร หรือลด Carbon Emission ... -
การศึกษาแนวทางที่เหมาะสมต่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ภายใต้โครงการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญในรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูปประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม
ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-15)
เข้าถึงข้อมูลได้ที่ http://kpi.ac.th/knowledge/research/data/10375 -
จ้างเหมาบริการวิเคราะห์ข้อมูลตัวชี้วัด วิธีการจัดเก็บข้อมูล และกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัด
ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ในการติดตามประเมินผลในการดำเนินงาน ข้อมูลจากตัวชี้วัดสามารถวิเคราะห์ถึงการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายกำหนด ตัวชี้วัดที่ดีจะเป็นข้อมูลสำคัญให้กับผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจวางแผนนโยบายและบริหารงานพัฒนาสามารถคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาหรือวางแผนปฏิบัติงานในอนาคต เพื่อให้การปฏิบัติงานต่อไปประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในรายงานวิจัยนี้จึงพยายามที่จะสะท้อนประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมอาญาไทยผ่านตัวชี้วัดซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการในระดับชาติกำหนดไว้มี ... -
ทุนทางสังคมในประเทศไทย
อาณัติ ลีมัคเดช; ธีระ สินเดชารักษ์; นวลนภา ธนศักดิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2010)
The objective of this paper is to introduce how to measure social capital in Thailand. In addition, the paper proves the significant role of social capital on socio-economic variables such as crime, health, income. Using the survey of the National Statistical Office in September 2007, the paper decomposes Thai social capital into five components, namely social cooperation, trust, social support, family ties, and social network. -
ประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ โดยบุคคลภายนอก ตามมาตรา 38 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554
ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-04)
โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ โดยบุคคลภายนอก ตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) พ.ศ.๒๕๕๔ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคุ้มค่าในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ศลช. เมื่อมีการดำเนินงานครบ ๓ ปี โดยจะทำการประเมินผลการดำเนินงานที่ครอบคลุมปีงบประมาณ ๒๕๕๙-๒๕๖๑ และใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) คะแนน ๑-๕ ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินกำหนดตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายจากแผนยุทธศาสตร์ของ ศลช. (พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๑) ... -
ประเมินผลการดำเนินดำเนินการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-06)
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอผลการจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การกำหนดค่ามาตรฐาน (Baseline) และค่ามาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmark) ของแต่ละตัวชี้วัด รวมทั้งประเมินผลการจัดเก็บข้อมูลประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในภาพรวม 2) นำเสนอผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมในแต่ละด้าน รวมทั้งประเมินจุดอ่อน-จุดแข็ง และโอกาสในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม 3) กำหนดทิศทาง และเป้าหมายในการปฎิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและขับเคลื่อนการพัฒนากระบวนการยุติธรรมตามแผนบูรณาการ และแผนระดับชาติต่าง ๆ ของรัฐบาลด้านกระบวนการยุติธรรม ... -
พัฒนาด้านสถิติและตัวชี้วัดกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และการสำรวจความคิดเห็นประชาชนและนักปฏิบัติเกี่ยวกับคุณค่าของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
ธีระ สินเดชารักษ์; ปกป้อง ศรีสนิท; จุฑาศินี ธัญปราณีตกุล; อรอุมา เตพละกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-20)
ประเทศไทยได้ทุ่มเททรัพยากรจำนวนมาก และมีความพยายามปฏิรูปกระบวนการทางอาญาอยู่หลายครั้งในหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่ไม่ปรากฏว่ามีการพัฒนาระบบข้อมูลและชุดตัวชี้วัดที่ประชาชนสามารถนำมาใช้ติดตามสถานะสภาพ และความเปลี่ยนแปลงของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบัติ ในหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย พบปัญหาของข้อมูลและตัวชี้วัด ดังนี้ 1. แต่ละหน่วยงานมีนิยามและมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน และทำการจัดเก็บและพัฒนาข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์เพียงแค่ในหน่วยงานของตน 2. ข้อมูลในกระบวนการยุติธรรมหลายประ ... -
ศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ และบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมไทย
ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-06)
ไฟล์บทคัดย่อตามไฟล์แนบ -
สำรวจความพึงพอใจ ความต้องการ ความคาดหวัง ความภักดีของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ต่อการดำเนินงานของนิคมอุตสาหกรรม ประจำปี 2557
พรชัย ตระกูลวรานนท์; ธีระ สินเดชารักษ์; จุฑาศินี ธัญปราณีตกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ให้เติบโตควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีภารกิจที่สำคัญตามกฎหมายและได้รับมอบหมายตามแนวทางนโยบายการพัฒนาของประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานสัมฤทธิ์ผลตามยุทธศาสตร์ กนอ. ในการสร้างสมดุลของการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม เพื่อการอยู่ร่วมกันของภาคนิคมอุตสาหกรรม สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม จึงได้เกิดโครงการสำรวจความพึงพอใจ ความต้องการ ความคาดหวังของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมต่อการให้บริการของ กนอ. โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจและศึกษาระดับความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ... -
สำรวจความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Engagement Survey) ประจำปี 2561
ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
โครงการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Engagement Survey) ประจำปี 2561 เป็นการสำรวจอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา เพื่อนำความคิดเห็นของบุคลากรไปพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสำรวจระดับความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรใช้การสำรวจออนไลน์ผ่าน Google form ได้รับแบบสำรวจที่ใช้ในการประมวลผลได้ 515 ชุด คิดเป็นร้อยละ 87.73 จากจำนวนบุคลากรทั้งสิ้น 587 ราย ผลการสำรวจ พบว่า พนักงานมีความพึงพอใจในการทำงานอยู่ในระดับมากมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 ... -
สำรวจความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2562
ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-01-21)
การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) หรือ Engagement Survey นั้นตั้งอยู่บนแนวคิดที่ตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรอันเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งการสำรวจดังกล่าวทาง กนอ. ได้มีการดำเนินการสำรวจมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ทั้งนี้ ผลลัพธ์ของการสำรวจในแต่ละปีได้ถูกนำมาพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารจัดการบุคคลากรของ กนอ. เรื่อยมา ถึงกระนั้น ในช่วงของการสำรวจระหว่างปี พ.ศ. 2557 ถึง 2560 การสำรวจเป็นไปอย่างเอกเทศต่อกันในแง่ของระเบียบวิธีวิจัยและกรอบแนวคิด ทำให้ กนอ. ไม่สามารถติดตามผ ... -
สำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของกองทัพบก ประจำปีงบประมาณ 2563
ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-21)
โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาทัศนคติความคิดเห็นของประชาชนต่อกองทัพบกโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของกองทัพบก 2) เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นและความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาท หน้าที่ และการปฏิบัติภารกิจของกองทัพบก และ 3) เพื่อนำไปใช้กำหนดแนวทาง การสื่อสารและแนวทางการดำเนินงานของกองทัพบกต่อไปในอนาคต ผลการศึกษา พบว่า (1) ภาพลักษณ์ของกองทัพบก มิติที่ 1 ภาพลักษณ์แต่เดิมมีระดับภาพลักษณ์อยู่ในระดับดี มิติที่ 2 ภาพลักษณ์ปัจจุบันระดับภาพลักษณ์อยู่ในระดับดี มิติที่ 3 ภาพลักษณ์ด้านผู้นำกองทัพบกมีระดับภาพล ...