สำรวจความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2562
by ธีระ สินเดชารักษ์
สำรวจความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2562 | |
The Survey of satisfaction and Engagement s IEAT officers in Fiscal year 2019 | |
ธีระ สินเดชารักษ์ | |
2563-01-21 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) หรือ Engagement Survey นั้นตั้งอยู่บนแนวคิดที่ตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรอันเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งการสำรวจดังกล่าวทาง กนอ. ได้มีการดำเนินการสำรวจมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ทั้งนี้ ผลลัพธ์ของการสำรวจในแต่ละปีได้ถูกนำมาพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารจัดการบุคคลากรของ กนอ. เรื่อยมา ถึงกระนั้น ในช่วงของการสำรวจระหว่างปี พ.ศ. 2557 ถึง 2560 การสำรวจเป็นไปอย่างเอกเทศต่อกันในแง่ของระเบียบวิธีวิจัยและกรอบแนวคิด ทำให้ กนอ. ไม่สามารถติดตามผลของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากข้อค้นพบที่ได้ในแต่ละปี ดังนั้น การสำรวจในปี พ.ศ. 2562 จึงเป็นการต่อยอดจากการสำรวจปี พ.ศ. 2561 ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ยึดตามระเบียบวิธีวิจัยและกรอบในแนวคิดในการศึกษา เพื่อนำข้อมูลทั้งที่เป็นข้อมูลดิบและข้อค้นพบมาเปรียบเทียบกัน โดยข้อค้นพบที่ได้แสดงให้เห็นว่า พนักงาน กนอ. มีเกณฑ์ของความพึงพอใจอยู่ในระดับดี (4.34 และ 4.48 ตามลำดับ) ในขณะที่ความผูกพันต่อองค์กรนั้นหลังจากนำข้อเสนอแนะจากการสำรวจปี พ.ศ. 2561 มาปรับใช้พนักงาน กนอ. ได้ขยับความผูกพันต่อองค์กรจากระดับดีมากสู่ดีมาก (4.44 และ 4.55 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาถึงข้อแตกต่างที่น่าสนใจจากการสำรวจของทั้ง 2 ปีจะพบว่า ในปี พ.ศ. 2561 ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และความท้าทายในหน้าที่การงาน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พนักงาน กนอ. เกิดความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรมากที่สุด กล่าวคือ หาก กนอ. สามารถกำหนดระดับเพดานของเงินเดือน และค่ารักษาพยาบาล ให้สามารถต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ โดยควบคู่ไปกับการให้พนักงานรู้สึกว่าภาระงานที่รับผิดชอบนั้นมีความสำคัญกับองค์กร จะทำให้พนักงานเกิดความพึงพอใจต่อองค์กรและส่งผลให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์กรเหมือนบ้านหลังที่สองในที่สุด ถัดมา ในการสำรวจปี พ.ศ. 2562 เมื่อ กนอ. ได้นำข้อเสนอแนะจากปีก่อนหน้ามาปรับใช้กับระบบบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กรพบว่า พนักงานเกิดความพึงพอใจในค่าตอบแทนและสวัสดิการ และความท้าทายในหน้าที่การงาน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (Significant = 0.05) แต่ในทางกลับกันประเด็นการสื่อสารภายในองค์กรซึ่งเป็นปัจจัยที่พนักงาน กนอ. ไม่ให้ความสำคัญในปีที่ผ่านมากลับถูกให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดในปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารในลักษณะบนลงล่างหรือจากผู้บังคับบัญชาไปหาผู้ใต้บังคับบัญชา ดังนั้น โจทย์สำคัญของ กนอ. จากข้อค้นพบที่ได้จากการสำรวจทั้ง 2 ปีคือ เป็นไปได้หรือไม่ว่าการพยายามให้ความสำคัญกับปัจจัยใดมากเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาจากอีกปัจจัยหนึ่งขึ้นมา โดย กนอ. อาจรักษาสมดุลในทุก ๆ ปัจจัยเอาไว้ แม้จะทำให้คะแนนความพึงพอใจและความผูกพันไม่ขยับขึ้นสูงในปีถัดไป แต่จะเป็นการถ่วงปัจจัยที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ เพื่อส่งเสริมและปกปิดจุดอ่อนซึ่งกันและกัน A survey of satisfaction and commitment to the organization of the industrial estate authority of Thailand employees (IEAT) or Engagement Survey. Based on concepts that recognize the importance of personnel which is the teeth that are important for the organization to move forward. The survey said (IEAT) the survey has been conducted since 2014 the results of the survey each year are developed and improved. I have been managing personnel of the IEAT. Still, during the survey period between 2014 and 2017, the survey was conducted independently in terms of research methods and conceptual frameworks. Causing the IEAT to not be able to follow the result of the changes that occurred from the findings obtained each year. Therefore the police in 2019 is an extension of the 2017 survey. Which the research team seized According to the research methodology and educational framework to bring both raw data and findings compare. The findings showed that the IEAT staff had a satisfactory level of satisfaction (4.34 and 4.48 respectively). While the commitment to the organization after implementing recommendations from the survey in 2018, the IEAT staff has shifted the commitment to the organization from very good to very good (4.44 and 4.55 respectively). Considering the interesting differences from the two-year survey, it is found that in 2018, compensation and welfare And challenges in work Is an important factor that causes the IEAT staff to be most satisfied and committed to the organization. That is to say, if the IEAT is able to determine the threshold of salary and medical expenses to be able to fight inflation in parallel with letting employees feel that the workload of responsibility is important to the organization. Will make employees satisfied with the organization and result in Employees feel good about the organization like the second home in the end. Later survey in the year 2019, when the IEAT has introduced suggestions from previous years to adapt to the system. Human resource management in the organization found that Employees are satisfied with compensation and benefits and challenges in their work. Significant increase (Significant = 0.05). But on the other hand Issues of internal communication which are factors that IEAT employees did not give importance in the past year were returned to them. Great significance this year especially communication in a top-down manner or from supervisors to subordinate. Therefore, the key problem of the IEAT from the findings from the 2-year survey is whether it is possible that Trying to focus on too many factors. May cause problems from another factor. By the IEAT, may maintain a balance in all factors, even if the satisfaction and commitment scores do not move higher in the next year but it will stall the factors that are successful and unsuccessful to promote and cover each other's weaknesses. |
|
สำรวจความพึงพอใจ
ความผูกพันต่อองค์กร |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/700 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|