• Login
    View Item 
    •   TU-RAC Repository Home
    • สาขาการวิจัยและการประเมินผล
    • โครงการที่ปรึกษา
    • View Item
    •   TU-RAC Repository Home
    • สาขาการวิจัยและการประเมินผล
    • โครงการที่ปรึกษา
    • View Item
    JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

    Browse

    All of TU-RAC RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateBy Submit DateResource TypesProject TypesResearch SectorsSubjectsTitlesAuthorsClientsFundersThis CollectionBy Issue DateBy Submit DateResource TypesProject TypesResearch SectorsSubjectsTitlesAuthorsClientsFunders

    My Account

    LoginRegister

    การพัฒนาสิทธิประโยชน์ประกันการจ้างงาน เพื่อพัฒนากำลังแรงงานอย่างยั่งยืน

    by ธีระ สินเดชารักษ์
    การพัฒนาสิทธิประโยชน์ประกันการจ้างงาน เพื่อพัฒนากำลังแรงงานอย่างยั่งยืน
    Employment Benefitial Insurent Development fursustainable Labour Resources
    ธีระ สินเดชารักษ์
    2022-12-23
    สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    สถานการณ์การจ้างงานในประเทศไทยมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงอัตราการว่างงานของแรงงานในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี การสร้างหลักประกันทางสังคมให้กับแรงงานไทยจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาสู่การศึกษาเพื่อพัฒนาสิทธิประโยชน์ประกันการจ้างงานเพื่อการพัฒนาแรงงานอย่างยั่งยืนนี้มีวัตถุประสงค์หลักสำคัญ คือ 1) เพื่อพัฒนา/ขยายสิทธิประโยชน์การว่างงานแต่เดิมที่มีให้ครอบคลุมการประกันการจ้างงานด้วย 2) เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่เป็นทางเลือก ทั้งในการกำหนดแหล่งที่มา รูปแบบการจ่ายเงินสมทบ และสิทธิประโยชน์ รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้วิธีวิทยาในการศึกษาทั้งจากการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร การสำรวจด้วยตัวอย่างทั้งกลุ่มผู้ประกันตนและนายจ้าง การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย การจัดประชุมกลุ่มย่อย และการนำเสนอผลการศึกษาต่อผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานประกันสังคมเพื่อรับฟังความคิดเห็น ผลการศึกษา พบว่า สิทธิประโยชน์การประกันการจ้างงานควรที่จะเป็นไปในลักษณะของการขยายความคุ้มครองผู้ประกันตน (และอาจจะหมายรวมถึงผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน) จากการว่างงานเดิมที่ให้เงินทดแทนในการช่วยเหลือทันทีที่ไม่มีงานทำและขาดรายได้ แต่ควรจะประกันในลักษณะของการทำอย่างไรให้เขาเหล่านี้กลับเข้าไปสู่การจ้างงานให้เร็วที่สุด โดยคณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้แหล่งที่มาของกองทุนควรเป็นไปในลักษณะร่วมสมทบทั้งผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน รูปแบบการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนควรยืดหยุ่นได้ และอยู่บนพื้นฐานของความสามารถในการจ่ายแต่มีการกำหนดเงินสมทบขั้นต่ำไว้ ในขณะที่นายจ้างกับรัฐจ่ายในสัดส่วนที่เท่ากันและคงที่ สำหรับสิทธิประโยชน์การจ้างงานควรครอบคลุมใน 4 ลักษณะ ได้แก่ สิทธิประโยชน์เงินทดแทนกรณีว่างงาน สิทธิประโยชน์การพัฒนาทักษะ สิทธิประโยชน์การจัดหางาน และสิทธิประโยชน์ทางภาษี
    The situation of employment in Thailand tends to rapidly change, particularly unemployment. Rate of unemployment has increased in Thailand. Employment insurance (EI) is therefore a critical issue to develop ensure unemployed people’ well-being. For this reason, this study aimed to develop employment insurance benefits for sustainable labor development. There are two main objectives on this research including 1) To develop or extend the existing unemployment benefits to cover employment insurance and 2) To provide alternative recommendations in determining the source contribution payment format and benefits including other related matters. The methodology in this study included documentary research, sample survey of both insurers and employers, in-depth interviews from stakeholders, focus groups, and presenting the results of the study to the executives and workers of the Social Security Office for their opinions. The results found that employment insurance benefits (EI benefits) should be in the form of extending insurers' coverage (possibly including those who are graduating to enter the labor market). The unemployment insurance that provides immediate assistance in unemployment and lack of income should include employment benefits that insured in such a way as to get them back into employment as quickly as possible. The researchers suggested that the source of the fund should be collected from the employee, employer, and government in equal proportions. The employee should flexibly pay into unemployment insurance system in each month with fixed minimum rate. While employers and government pay equally with fixed proportions. For additional employment benefits, there are four alternatives for consideration including unemployment compensation benefit, skill development benefit, employment benefit, and taxation benefit.

    สิทธิประโยชน์การว่างงาน
    สิทธิประโยชน์การจ้างงาน
    รายงานวิจัย
    Text
    application/pdf
    tha
    เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
    บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้
    สำนักงานประกันสังคม
    https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1149
    Show full item record

    Files in this item (CONTENT)

    type-icon
    View
    No fulltext.docx ( 12.11 KB )

    This item appears in the following Collection(s)

    Collections
    • โครงการที่ปรึกษา [86]
    Thammasat University Research and Consultancy Institute
    Anekprasong 1 Buliding, 7th Floor, 2 Prachan Road, Phraborommaharajchawang Phranakorn, Bangkok 10200
    8.30 – 16.30
    0-2613-3120-2, 0-2223-3757
    0-2224-1376
    Copyright © Thammasat University. All Rights Reserved.

    ‹›×