Now showing items 1-20 of 26

    • type-icon

      แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว : กรณีศึกษาเฉพาะนักท่องเที่ยวอายุ 50 ปีขึ้นไปที่เดินทางมาเพื่อการพักผ่อน 

      ประยูร บุญประเสริฐ; บัวรัตน์ ศรีนิล; ไว จามรมาน; พรรณพัชร อิทธิโอภาสกุล; อลิสรา เจริญสวัสดิ์; ปราโมทย์ รัตนปิติกรณ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2002)

      การวิจัยนี้ได้ยามความหมายของ “การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว” หมายถึง การเดินทางหรือการท่องเที่ยวมาเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจในประเทศไทย โดยผู้มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งมีสุขภาพดีและแข็งแรง และมีระยะเวลาในการพำนักนานวัน ไม่น้อยกว่า 1 เดือนขึ้นไป วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุปสงค์ (Demand) ด้านการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว ศึกษาด้านอุปทาน (Supply) โอกาส และข้อจำกัดในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวในประเทศไทย ศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว กฎหมาย กฎระเบียบ ตลอดจนวิธีการดำเนินงานในการสนับสนุน ...
    • Thumbnail

      Research project on the service user satisfaction and the satisfaction of those affected by the operations of the Tourism Authority of Thailand 

      Research and Consultancy Institute, Thammasat University (Thammasat University Research and Consultancy Institute, 2002)
    • Thumbnail

      แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2549-2552 

      สกนธ์ วรัญญูวัฒนา; ไพรัช บวรสมพงษ์; สมศรี ศิริขวัญชัย; พงษ์ธร วราศัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2007)

      โครงการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวม 5 กลุ่ม ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้จังหวัดจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดพ.ศ. 2549-2552 เป็นกรอบในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและยั่งยืน กำหนดทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดและบูรณาการแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเข้ากับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่าง ๆ
    • Thumbnail

      แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก พ.ศ. 2549-2552 

      สกนธ์ วรัญญูวัฒนา; ไพรัช บวรสมพงษ์; สมศรี ศิริขวัญชัย; พงษ์ธร วราศัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2007)

      โครงการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกรวม 4 จังหวัด ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้จังหวัดจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัด พ.ศ. 2549-2552 เป็นกรอบในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและยั่งยืน กำหนดทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดและบูรณาการแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเข้ากับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่าง ๆ
    • Thumbnail

      ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคใต้ พ.ศ. 2549-2552 

      สกนธ์ วรัญญูวัฒนา; ไพรัช บวรสมพงษ์; สมศรี ศิริขวัญชัย; พงษ์ธร วราศัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2007)

      โครงการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้รวม 5 กลุ่ม ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้จังหวัดจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดพ.ศ. 2549-2552 เป็นกรอบในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและยั่งยืน กำหนดทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดและบูรณาการแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเข้ากับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่างๆ
    • Thumbnail

      แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคกลาง พ.ศ. 2549-2552 

      สกนธ์ วรัญญูวัฒนา; ไพรัช บวรสมพงษ์; สมศรี ศิริขวัญชัย; พงษ์ธร วราศัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2007)

      โครงการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคกลางรวม 5 กลุ่มดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้จังหวัดจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดพ.ศ. 2549-2552 เป็นกรอบในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและยั่งยืน กำหนดทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดและบูรณาการแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเข้ากับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่างๆ
    • Thumbnail

      แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ พ.ศ. 2549-2552 

      สกนธ์ วรัญญูวัฒนา; ไพรัช บวรสมพงษ์; สมศรี ศิริขวัญชัย; พงษ์ธร วราศัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2007)

      โครงการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด 19 จังหวัดในภาคเหนือดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้จังหวัดจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดพ.ศ. 2549-2552 เป็นกรอบในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ กำหนดทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดและบูรณาการแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเข้ากับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่างๆ
    • type-icon

      ท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจบัตรช้าง (บัตรมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 

      อาณัติ ลีมัคเดช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      The project will develop website and mobile application to support tourists in seeking the shops/hotels where the Tourism department awarded the TTS. In addition, we produce 10,000 plastic cards for TTS membership to promote tourism and publicize the activities through various media.
    • type-icon

      การจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

      สมคิด เลิศไพฑูรย์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      Ministry of Tourism and Sports and Thammasat University (Thammasat University Research and Consultancy) issued the Sufficiency Economic Community-Based Tourism Plan in order to support the community-based tourism in Thailand. The process consists of analyzing the primary and secondary data of the community-based tourism. In addition, more than 30 respondents who related to the community-based tourism were interviewed. There were also workshops and seminars in 9 provinces to develop knowledge on the community-based tourism. The expected results ...
    • type-icon

      จ้างจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลผลงานวิจัยและวิชาการด้านการท่องเที่ยว 

      นฤตย์ นิ่มสมบุญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      The objective of the Thailand tourism research database was to collect the research papers, theses, and independent studies related to Thailand tourism that published during 2002-2012. The relevant works were retrieved from the Thai university databases countrywide. In case of foreign universities , only the information from open access sources were included. The fulltext database is available online at http://tatrd.tourismthailand.org. The database content included bibliographic information, keywords, subject headings, abstracts and full text.
    • type-icon

      จัดทำแนวทางในการปฏิรูปการท่องเที่ยวของประเทศไทย 

      สมคิด เลิศไพฑูรย์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินงาน “โครงการจัดทำแนวทางในการปฏิรูปการท่องเที่ยวของประเทศไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวทางการปฏิรูปการท่องเที่ยวของประเทศไทย และเผยแพร่แนวทางการปฏิรูปการท่องเที่ยวของประเทศไทยไปยังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ มีแนวทางในการปฏิรูปการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่มาจากการบูรณาการและบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันตามมาตรฐานระดับสากล รวมทั้งเผยแพร่แนวทา ...
    • type-icon

      ศึกษาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มจากตราสัญลักษณ์รางวัล กินรี 

      วิทวัส รุ่งเรืองผล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      One strategic objectives of Tourism Authority of Thailand (TAT) is to increase organization revenue via TAT Products and Services Revenue by developing “Value Creation” of its product and service in tourism market. Thailand Tourism Awards (TTA), Kinnaree Award, is TAT’s prominent intellectual property and has been selected for the pilot project of increasing value of TAT’s award. The project result will be used as case study for other TAT’s property. After project result has been analyzed completely, business model for Kinnaree Award has been ...
    • type-icon

      การศึกษาการรับรู้ด้าน Low Carbon Tourism ของนักท่องเที่ยวที่เลือกพักในโรงแรมที่พักภาคีเครือข่ายของ อพท. 

      ธีระ สินเดชารักษ์; อรอุมา เตพละกุล; จุฑาศินี ธัญปราณีตกุล; Teera Sindecharak; Ornuma Teparakul; Juthasinee Thanyapraneedkul (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      การท่องเที่ยวแบบ Low Carbon Tourism เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของ อพท. เป็นการท่องเที่ยวที่สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการท่องเที่ยวทางเลือกในการช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนให้น้อยลง เมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวแบบปกติ ในขณะที่นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่มีส่วนร่วมในการลดโลกร้อน โดยยังคงไว้ซึ่งความสะดวกสบายและความสุขที่ได้รับจากการท่องเที่ยวที่มีความแตกต่างกับการดำเนินการตาม ๔ มาตรการลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นการดำเนินการที่เน้นให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการ โดยเป้าหมายหลัก คือ ลดการใช้ทรัพยากร หรือลด Carbon Emission ...
    • type-icon

      พัฒนาสื่อข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวโดยผ่านเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติ (QR Code : Quick Response Code) 

      ชาวี บุษยรัตน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      การจัดการข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในแนวทางวิจัยที่มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวนั้นมีความซับซ้อน หลากหลายที่มา หลากหลายการเข้าถึง รวมทั้งต้องการวิธีและพื้นที่นำเสนอหรือแพลตฟอร์มที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งในปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ได้เปิดทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวได้เข้าถึงข้อมูลอย่างไม่มีขีดจำกัด การบริการจัดการข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องผ่านการกลั่นกรอง คัดเลือก ทั้งกระบวนการจัดเก็บและนำเสนอทุกวันนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก และมีแอพพลิเคชั่นมากมายที่สามารถใช้ ...
    • type-icon

      การประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 

      ธีระ สินเดชารักษ์; Teera Sindecharak (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      เนื่องจากรายได้จากอุตสาหกรรมการท้องเที่ยวถือเป็นรายได้ที่กระจายสู่ระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย มีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดการผลิตและการนําเอาทรัพยากรมาใช้ ปรากฏการณ์นี้สามารถประเมินผลกระทบเศรษฐกิจได้ผ่านการคํานวณหาตัวทวีคูณของเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวหรือ “Multiplier Effects of Tourism” บทความนี้ได้นําเสนอค่าตัวทวีคูณจากการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษในประเทศไทย 6 พื้นที่พิเศษที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. วิธีการที่ใช้ในการหาตัวทวีคูณนี้ใช้วิธีพื้นฐาน เก็บข้อมูล ...
    • type-icon

      ศึกษาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism) 

      สุรพิชย์ พรหมสิทธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism) มีความสำคัญต่อการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยมีกรอบและแนวทางการส่งเสริมสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวที่เหมาะสมกับประเทศไทย รวมทั้งการศึกษาและวิเคราะห์การบริหารจัดการพื้นที่ที่มีการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาต้นแบบในประเทศไทย มีฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของประเทศไทยที่มีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวในประเด็นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism) โดยมีเป้าหมาย ...
    • type-icon

      พัฒนารูปแบบการจัดการข้อร้องเรียนตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 

      ทวีศักดิ์ กิจกาญจนารัตน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการข้อร้องเรียนตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โครงการฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา รวบรวมข้อมูลในการพัฒนาแนวทางการจัดการข้อร้องเรียนตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 และเพื่อจัดทำคู่มือการจัดการข้อร้องเรียนสำหรับผู้ปฏิบัติงานขอบเขตของการดำเนินงานโครงการ ประกอบด้วย การศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของกรมการท่องเที่ยวในการจัดการข้อร้องเรียนของนักท่องเที่ยวผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อดี ...
    • type-icon

      ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินความเหมาะสมพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อกำหนดเป็นเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเพิ่มเติม 

      ธนวัต ลิมป์พาณิชย์กุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      จากเขตพัฒนาการท่องเที่ยวที่ได้ประกาศได้แล้วจำนวน 9 เขต โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อกำหนดเป็นเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเพิ่มเติม โดยจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบายการท่องเที่ยว รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยว ประกอบกับการลงพื้นที่รับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละภูมิภาคจานวน 6 ครั้ง ใน 4 ภูมิภาค อันได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ สามารถกำหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้จำนวน 6 เขต คือ 1) เขตพัฒนาการท่องเที่ย ...
    • type-icon

      ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวเชื่อมโยงพื้นที่ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 จังหวัดเชียงราย 

      วิทวัส รุ่งเรืองผล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      โครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวเชื่อมโยงพื้นที่ท่าเรือเชียงแสน แห่งที่ 1 จังหวัดเชียงราย เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อดำเนินการศึกษาและจัดทำแนวทางการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอเชียงแสน และเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับท่าเรือเชียงแสน แห่งที่ 1 จังหวัดเชียงรายไปยังภาคเหนือตอนบนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยให้เกิดความยั่งยืนทั้งมิติทางสังคมและเศรษฐกิจ จากการศึกษาวิเคราะห์ของสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการพบว่า ศักยภาพของพื้นที่ ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานของอำเภอ ...
    • type-icon

      รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยวรายไตรมาส ประจำปี พ.ศ. 2560 

      อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยวรายไตรมาส ได้จัดทำกรอบในการจัดเก็บข้อมูลและจัดทำแบบจำลองในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยได้ประมาณการผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวและแนวโน้มด้านการท่องเที่ยวในระยะสั้นและระยะกลาง (รายไตรมาสและรายปี) นอกจากนั้น ยังได้เน้นการจัดทำงานวิจัยผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในรายสาขา และจัดให้มีการทำวิจัยเชิงนโยบายการกระจายรายได้ทางการท่องเที่ยว ตลอดจนรูปแบบทางธุรกิจ (Business Model) ที่ควรจะเป็นในการพัฒนาการท่องเที่ยวในแต่ละประเด็น ตามแนวทางแผนพัฒนาการท่อ ...