พัฒนาสื่อข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวโดยผ่านเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติ (QR Code : Quick Response Code)
by ชาวี บุษยรัตน์
พัฒนาสื่อข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวโดยผ่านเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติ (QR Code : Quick Response Code) | |
QR Code : Quick Response Code | |
ชาวี บุษยรัตน์ | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2015 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การจัดการข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในแนวทางวิจัยที่มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวนั้นมีความซับซ้อน หลากหลายที่มา หลากหลายการเข้าถึง รวมทั้งต้องการวิธีและพื้นที่นำเสนอหรือแพลตฟอร์มที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งในปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ได้เปิดทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวได้เข้าถึงข้อมูลอย่างไม่มีขีดจำกัด การบริการจัดการข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องผ่านการกลั่นกรอง คัดเลือก ทั้งกระบวนการจัดเก็บและนำเสนอทุกวันนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก และมีแอพพลิเคชั่นมากมายที่สามารถใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยว หนึ่งช่องทางที่กำลังเป็นที่นิยมทั้งในและต่างประเทศคือการสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) ในงานวิจัยนี้ คณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นประโยชน์จากคุณสมบัติดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับกรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเพื่อพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อการนำเสนอข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด และได้ทำการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการกำหนดตำแหน่งพื้นที่นำเสนอสื่อข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม ภายในกรอบพื้นที่ของจังหวัด 12 เมืองต้องห้าม...พลาด อุทยานแห่งชาติ และพื้นที่มรดกโลก เพื่อจัดทำข้อมูลบนเว็บไซต์และแผนภาพอินฟอร์เมชั่นกราฟฟิก (InformationGraphics) โดยเนื้อหาประกอบไปด้วย ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลการเดินทาง คำแนะน ต่างๆ รวมไปถึงข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรมที่พักอาศัย และกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้น นำเสนอผ่านข้อความ ภาพ และเสียง โดยข้อมูลต่างๆ จะถูกนำมาบรรจุใส่คิวอาร์โค้ดในรูปแบบของยูอาร์เเอล (URL) สำหรับเปิดเว็บไซต์ นักท่องเที่ยวสามารถใช้แอพพลิเคชั่นสำหรับสแกนคิวอาร์โค้ดที่ติดตั้งอยู่บนป้ายตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างด้วยโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เพื่อรับทราบข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและทันสมัย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้กับการท่องเที่ยวในประเทศไทยในเรื่องการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวได้อีกด้วย ในโครงการวิจัยนี้ คณะผู้จัดทำได้คัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวเพื่อทำเป็นเว็บไซท์มาทั้งสิ้น 71 แหล่ง และได้ผลิตและติดตั้งป้ายคิวอาร์โค้ดทั้งหมด 308 ป้าย. |
|
QR Code
สื่อข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว เทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติ |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
กรมการท่องเที่ยว | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/353 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|