Show simple item record

dc.contributor.authorโกวิทย์ พวงงาม
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2015-09-07T07:30:59Z
dc.date.available2015-09-07T07:30:59Z
dc.date.issued2014
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/63
dc.description.abstractThe research project on ‘the Assessment of the Strength of the Civil Politics’ has the objectives of assessing the strength of the civil politics of the Civil Society Network (CSN) of each province of Thailand, assessing the strength and performances of provincial CSNs, and attaining the suggestions for the development of provincial CSNs. This research methodology is a mixed one because both quantitative and qualitative research disciplines are implemented in order to attain the findings that make the accomplishment of the research objectives possible. The quantitative research tool used is a set of questionnaire. The populations of this research project are divided into 2 groups, namely, (1) the Civil Society Networks (CSNs) of 77 provinces of Thailand, the performances of which are assessed, and (2) 70 members of the CSN of each province, making the total number of the studied samples is 5,390, randomly selected in order to assess the performances of their networks, the democratic traits of their networks and their civil characteristics. The findings from the research reveal the following facts. The assessment of the strength and performances of the CSNs show that each CSN is a governmental-civil network. Concerning the composition and status of CSNs, it is discovered that most of the studied samples deem that the structure of a CSN that is divided into 6 sections is appropriate. However, the authority of selecting work units and people to be the members of the network should belong to the CSN. A CSN can be a formal, semi-formal or informal association, depending on the decision of CSN of each province. The assessment of the performances of each CSN relies on 7 indicators, namely, (1) the internal communication and collaboration of each CSN, (2) the exchange and collaboration with external work units, (3) the participation of members of each CSN, (4) the activities in accordance with the CSN’s authorities, (5) the dissemination of CSN’s information and tidings, (6) the review and evaluation of each CSN’s performances, and (7) the making of strategic and operational plans for civil politics. It is also discovered that most of the studied CSNs 0r 80% of all have carried out all the 7 activities. The activities practiced less than others are the making of strategic and operational plans for civil politics and the making of CSN database. Concerning CSNs’ civil politics works, it is discovered that most of the studied CSNs work through the operations of the community organization councils, and the operations with the compliance with the registration framework determined by the Political Development Council, and the operations in accordance with the policies of work unit that each CSN member works for. This makes each CSN lack of the joint strategy to drive its operations or to link or drive its political development plans to be put in the provincial development plan. The strength of the civil politics can be assessed against the performances and the democracy traits of each CSN and the civil characteristics of the samples. It is found out that most of the samples indicate that their CSNs’ performances and democracy traits are in moderate to high levels. Concerning their civil characteristics, the samples have high civil characteristics in accordance with all the studied indicators. However, the ‘CSN’s participation with Local Administrative Organizations (LAOs)’ indicator is lower than the others. The suggestions that enable CSNs to develop themselves are that each CSN should set clear visions, strategies and operational plans that promote civil politics; set a database that facilitate its operations; have its strategies and civil politics plans included in provincial development plans, and arrange demonstrative activities or projects that show the Best Practice of civil politics. Furthermore, each CSN should consult with LAOs in order to determine their collaborative operations. This can be done through the making of mutual MOUs concerning the promotion for civil politics. The Office of the Political Development Council should act as a supportive work unit that facilitates CSNs’ making of their civil politics strategies. The Political Development Council should spent the Civil Politics Development Fund on supporting CSNs’ strategies and civil politics plans in order to allow CSNs to work with LAOs in creating ‘Civil Politics’ mechanism that can strengthen civil politics.en
dc.description.abstractโครงการศึกษาวิจัยเพื่อวัดความเข้มแข็งการเมืองภาคพลเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับความเข้มแข็งของการเมืองภาคพลเมืองในคณะทำงานเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัด (คปจ.) และการวัดความเข้มแข็งกับวัดผลการดำเนินงานของคณะทำงานเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัด รวมทั้งเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองในคณะทำงานเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัด ระเบียบวิธีวิจัย ใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผสมผสานกัน เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ โดยในเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือ กับประชากร (Population) 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) คณะทำงานเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัด (คปจ.) วัดผลการดำเนินงานทั้ง 77 จังหวัด และ (2) กลุ่มในเครือข่าย คปจ.และสมาชิก จำนวนจังหวัดละ 70 คน รวมเป็น 5,390 ตัวอย่าง ซึ่งมาจากการสุ่มตัวอย่างเพื่อวัดผลการดำเนินงานกลุ่มและความเป็นประชาธิปไตยในกลุ่ม และวัดคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของสมาชิก ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ ปรากฏผลดังนี้ การวัดความเข้มแข็งของ คปจ.และผลการดำเนินงาน ปรากฏว่า ลักษณะโครงสร้างของ คปจ. มีลักษณะเป็นองค์กรเครือข่ายแบบรัฐร่วมราษฎร์ ส่วนองค์ประกอบ และสถานะของ คปจ. พบว่า ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงสร้างที่กำหนดให้มี 6 ภาคส่วน แต่ในการพิจารณาคัดเลือกหน่วยงานและบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะทำงานฯให้เป็นอำนาจของ คปจ. ในการคัดเลือกตามความเหมาะสม และ การกำหนดสถานะของ คปจ.มีทั้งต้องการให้เป็นองค์กรเครือข่ายที่เป็นทางการ กึ่งทางการ และไม่เป็นทางการ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ คปจ.ในแต่ละจังหวัดเช่นกัน ผลการวัดผลการดำเนินงานของ คปจ. ประกอบด้วยตัวชี้วัด 7 ประเด็น ได้แก่ (1)การสื่อสารและร่วมมือภายในองค์กร คปจ. (2) การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือกับภายนอก (3) การมีส่วนร่วมของสมาชิก คปจ. (4) การทำกิจกรรมตามอำนาจหน้าที่ของ คปจ. (5) การเผยแพร่ข้อมูลข่าว สารของ คปจ. (6) การทบทวนและประเมินผลการทำงานของ คปจ. และ (7) การจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการเมืองภาคพลเมือง พบว่า คปจ.ส่วนใหญ่ระบุว่า ได้ทำกิจกรรมทั้ง 7 ประเด็น มากกว่าร้อยละ 80 และมีกิจกรรมในประเด็นที่ทำได้น้อยกว่าด้านอื่นๆ ได้แก่ การจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการเมืองภาคพลเมือง รวมถึงการจัดทำฐานข้อมูลของ คปจ.สำหรับการขับเคลื่อนงานการเมืองภาคพลเมืองของ คปจ. พบว่า ส่วนใหญ่ขับเคลื่อนอยู่บนฐานการทำงานของสภาองค์กรชุมชน และการทำตามกรอบระเบียบที่กำหนดจากสำนักงานสภาพัฒนาการเมือง กับการดำเนินงานตามหน่วยงานที่ คปจ.แต่ละคนสังกัด ทำให้ขาดยุทธศาสตร์ร่วมในการขับเคลื่อน และขาดการเชื่อมโยงหรือผลักดันแผนพัฒนาการเมืองไปบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด ส่วนวัตถุประสงค์การวัดความเข้มแข็งของการเมืองภาคพลเมือง เมื่อพิจารณาจากการวัดผลการดำเนินงานของกลุ่มและความเป็นประชาธิปไตยในกลุ่ม กับการวัดคุณลักษณะความเป็นพลเมือง พบว่า ส่วนใหญ่ระบุว่า มีผลการดำเนินงานกลุ่มและความเป็นประชาธิปไตยในกลุ่ม อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก และการวัดคุณลักษณะความเป็นพลเมือง พบว่า ส่วนใหญ่โดยภาพรวมระบุว่ามีความเป็นพลเมืองค่อนข้างสูงทุกตัวชี้วัด ยกเว้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พบว่า อยู่ในระดับต่ำกว่าตัวชี้วัดด้านอื่นๆ คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ คปจ.จัดทำวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์และแผนการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมือง รวมทั้งมีแผนปฏิบัติการส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองที่ชัดเจน และจัดทำฐานข้อมูลที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำงาน ขับเคลื่อนหรือผลักดันให้ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองไปบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด ตลอดจนให้ คปจ.แต่ละจังหวัดขับเคลื่อนให้มีตัวอย่างกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเมืองภาคพลเมืองที่เป็นแบบอย่าง (Best practice) นอกจากนี้ ให้ คปจ. ร่วมหารือกับ อปท. เพื่อหาแนวทางทำงานร่วมกัน โดยทำบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมือง ทั้งนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเมืองต้องเป็นหน่วยสนับสนุน อำนวยการ เพื่อส่งเสริมให้ คปจ. จัดทำยุทธศาสตร์การเมืองภาคพลเมือง และให้สภาพัฒนาการเมืองใช้กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเป็นหลักในการหนุนเสริมยุทธศาสตร์และแผนส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองของ คปจ. โดยให้คงรูปแบบ คปจ.ไว้ เพื่อให้ คปจ.ร่วมสร้างกลไก “สภาพลเมือง” ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การเมืองภาคพลเมืองมีความเข้มแข็งth
dc.description.sponsorshipสถาบันพระปกเกล้า. สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectภาคพลเมืองth
dc.subjectความเข้มแข็งการเมืองth
dc.titleการศึกษาวิจัยเพื่อวัดความเข้มแข็งการเมืองภาคพลเมือง
dc.title.alternativeAn Assessment in the Strengthening of Civil Politics
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสถาบันพระปกเกล้า. สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง
cerif.cfProj-cfProjId2557A00286
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)
turac.contributor.clientสถาบันพระปกเกล้า. สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

FilesSizeFormatView

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record