Now showing items 21-29 of 29

    • type-icon

      ขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูเเลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน 

      นิฤมน รัตนะรัต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-20)

      โครงการวิจัย "การขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน" เป็นโครงการวิจัยระยะที่ 2 ซึ่งพัฒนาต่อเนื่องมาจากโครงการวิจัยการพัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อผลักดันนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อหนุนเสริมเครือข่ายภาคีความร่วมมือ ในการนำนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานครสู่การปฏิบัติ และ 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายระบบการดูแล ...
    • type-icon

      การประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายโดยใช้กฎ ABCD ในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาขั้นตอนวิธีการประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายโดยใช้กฎ ABCD กล่าวคือ A คือ ความไม่สมมาตรของรอยโรคผิวหนัง (Asymmetry) B คือ ลักษณะขอบของรอยโรคผิวหนัง (Border) C คือ สีของโรยโรคผิวหนัง (Color) และ D คือ ลักษณะโครงสร้างของรอยโรคผิวหนัง (Dermoscopic Structure) ในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน โดยขั้นตอนวิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายรอยโรคโดยใช้การประมวลผลภาพดิจิทัล การเรียนรู้เชิงลึกและการเรียนรู้เครื่อง ในการสกัดลักษณะเด่นจากภาพถ่ายรอยโรคและจำแนกประเภทรอยโรคผิวหนังว่าเป็นเ ...
    • type-icon

      การพัฒนาวัสดุโครงร่างไฮโดรเจลสำหรับการปลดปล่อยยาเพื่อป้องกันภาวะกระดูกขากรรไกรตายในผู้ป่วยที่ใช้ยาบิสฟอสโฟเนต 

      วีรชัย สิงหถนัดกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-16)

      ยาโซเลโดรนิคเอซิดเป็นยาในกลุ่มบิสฟอสโฟเนตที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคกระดูกที่เกี่ยวกับภาวะที่มีการสลายกระดูกโดยเซลล์สลายกระดูกมากผิดปกติ เช่น โรคกระดูกพรุน ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มนี้อาจเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตายหลังจากที่มีการทำอันตรายกับกระดูกโดยยาโซเลโดรนิคเอซิดเป็นพิษและยับยั้งพัฒนาการและการทำงานของเซลล์สลายกระดูกและเซลล์สร้างกระดูก ทำให้เกิดกระดูกขากรรไกรตายและติดเชื้ือที่กระดูกตายนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตายนี้ีได้ วัตถุประสงค์ในโครงการวิจัยนี้คือ พัฒนาโครงร่างไฮโดรเจลที่สามารถปลดปล่อยยาเจอรานิลเจอรานิออลหรื ...
    • type-icon

      ระบบเฝ้าระวังอัตโนมัติในการประเมิน ติดตาม ป้องกัน และเเสดงแนวทางการบริหารจัดการเมื่อเกิดภาวะการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำในระหว่างการให้ยาหรือสารน้ำชนิดยานอร์ริพิเอฟฟรินจากภาพถ่ายผิวหนังโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึกในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต; ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์; บวรลักษณ์ ทองทวี; พัดชา พงษ์เจริญ; ดุษฎี สกลยา; ปรารถนา สิทธิวัฒนาวงศ์; สินี เวศย์ชวลิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-17)

      การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยา คือ ภาวะที่ยาที่มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดในระหว่างการให้ยาทางหลอดเลือดดำ ส่งผลอันตรายต่อเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบที่ให้ยาทางหลอดเลือดดำ และอาจลุกลามถึงเส้นประสาท เส้นเอ็น ข้อของอวัยวะต่าง ๆ ที่ได้รับหรือสัมผัสกับยาดังกล่าว ในกรณีที่รุนแรง อาจทำให้สูญเสียอวัยวะบริเวณนั้นได้ ปัจจุบันการตรวจคัดกรองภาวะการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยา พยาบาลในห้องผู้ป่วยจะต้องสังเกตผู้ป่วยในทุกช่วงระยะหลังการฉีดสารน้ำ ซึ่งมีข้อจำกัดคือ เมื่อมีการเปลี่ยนช่วงเวลาทำงาน ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากพยาบาลท่านอื่น ...
    • type-icon

      ต้นแบบระบบเคลือบผิวสิ่งทอทางการแพทย์ให้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าอย่างยาวนาน 

      พิศุทธิ์สรัล ชิติโชติปัญญา (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-04)

      โครงการวิจัยนี้เป็นการต่อยอดนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและป้องกันการระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพ โดยทำให้พื้นผิววัสดุสิ่งทอมีสมบัติฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าด้วยตัวเองตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องและ ยาวนาน และสามารถขยายสเกลไปสู่ภาคอุตสาหกรรมได้ โดยทำการพัฒนาเพื่อให้ได้ 1. ต้นแบบน้ำยาเคลือบที่ใช้นวัตกรรม TiO2@Ag/WPU nanocomposite (Smart anti-coronavirus coating (SAC)) เป็นวัสดุฉลาดที่มีฤทธิ์ ฆ่าเชื้อโคโรน่าไวรัส ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยระบบการปลดปล่อยสารฆ่าเชื้อแบบควบคุม ที่ผ่านมาตรฐานสากล (Measurement of antiviral activity, ISO 18184: 2019) ...
    • type-icon

      เภสัชพันธุศาสตร์ของยา 5-ฟลูออโรยูราซิลกับผลกระทบทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักไทย 

      เฉลิมพร อรรถศิลป์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-09-27)

      ความสำคัญงานวิจัยชิ้นนี้คือการเกิดความหลากหลายทางพั นธุกรรมของยีน DPYD มีความสัมพันธ์กับการเกิดพิษจาการใช้ยา 5-ฟลูออโรยูราซิล เช่นเดียวกับการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน MTHFR พบว่าอาจส่งผลต่อการเกิดพิษจาการใช้ยา 5-ฟลูออโรยูราซิลในผู้ป่วยมะเร็งได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน DPYD ทั้งหมด 5 สนิปส์และการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน MTHFR ทั้งหมด 2 สนิปส์กับการเกิดพิษทางโลหิตวิทยาจากการใช้ยา 5-ฟลูออโรยูราซิลในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักไทย ขั้นตอนการทดลอง: ...
    • type-icon

      ตัวบ่งชี้ทางพันธุกรรมและการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัย ณ จุดดูแลผู้ป่วยเพื่อการมีสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ 

      เกศรา ณ บางช้าง (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-11)

      แผนงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจความชุกของยีนสำคัญที่มีรายงานความสัมพันธ์กับการเกิด ภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ยีน APP, APOE, PSEN1 และ PSEN2 และศึกษาสารเมตาบอไลท์ในพลาสมาของ อาสาสมัครที่มีรูปแบบยีน APOE ต่างๆ และพัฒนาไบโอเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดน้ำตาลสะสม (Hemoglobin A1c: HbA1c) ในเลือดเพื่อใช้ ณ จุดดูแลผู้ป่วย (Point-of-care test) การศึกษาความชุกของยีนที่ความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อมในอาสาสมัครสุขภาพดีที่อายุ น้อยกว่า 50 ปี จำนวน 97 คน อาสาสมัครดีที่อายุมากกว่า 50 ปี จำนวน 77 คน และอาสาสมัครกลุ่ม สมองเสื่อม จำนวน 74 คน ไม่พบการกลายพันธุ์ของยีน ...
    • type-icon

      การพัฒนานวัตกรรมการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกและฟันขึ้นใหม่โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากช่องปากและวัสดุจากธรรมชาติเพื่อบูรณะการบดเคี้ยวและส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ 

      เปรมจิต อาภรณ์แม่กลอง (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-11)

      ปัญหา เนื่องจากการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุเป็นสาเหตุให้เกิดการละลายตัวของกระดูกเบ้า ทำให้ผู้สูงอายุมีกระดูกเบ้าฟันที่มีขนาดไม่เพียงพอในการรองรับรากฟันเทียมและฟันเทียม จำเป็นต้องใช้วัสดุทดแทนกระดูก ที่มีราคาสูงและยังต้องปรับปรุงคุณภาพเพื่อการปลูกกระดูกทดแทน ส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาจากการสูญเสียฟันอย่างทั่วถึง วัตถุประสงค์ แผนการวิจัยนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาวัสดุทดแทนกระดูกเพื่อใช้ส่งเสริมการสร้างปลูกกระดูกเบ้าฟัน และกระดูกขากรรไกร โดยใช้วัสดุทางธรรมชาติ ที่หาได้ภายในประเทศ วิธีดำเนินการ การวิจัยดำเนินงานโดย 4 โครงการย่อยภายใต้แผนงาน ...
    • Thumbnail

      การส่งเสริมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของแรงงานข้ามชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ ในประเทศไทยผ่านการสื่อสารสุขภาพดิจิทัล 

      จิโรจ สินธวานนท์ (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-26)

      รายละเอียดตามไฟล์แนบ