สาขาสาธารณสุข
Collections in this community
-
โครงการที่ปรึกษา [4]
(Consultancy projects) -
โครงการวิจัย [25]
(Research projects)
Recent Submissions
การส่งเสริมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของแรงงานข้ามชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ ในประเทศไทยผ่านการสื่อสารสุขภาพดิจิทัล
(สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-26)
รายละเอียดตามไฟล์แนบ
การพัฒนานวัตกรรมการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกและฟันขึ้นใหม่โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากช่องปากและวัสดุจากธรรมชาติเพื่อบูรณะการบดเคี้ยวและส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-11)
ปัญหา เนื่องจากการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุเป็นสาเหตุให้เกิดการละลายตัวของกระดูกเบ้า ทำให้ผู้สูงอายุมีกระดูกเบ้าฟันที่มีขนาดไม่เพียงพอในการรองรับรากฟันเทียมและฟันเทียม จำเป็นต้องใช้วัสดุทดแทนกระดูก
ที่มีราคาสูงและยังต้องปรับปรุงคุณภาพเพื่อการปลูกกระดูกทดแทน ส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาจากการสูญเสียฟันอย่างทั่วถึง
วัตถุประสงค์ แผนการวิจัยนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาวัสดุทดแทนกระดูกเพื่อใช้ส่งเสริมการสร้างปลูกกระดูกเบ้าฟัน และกระดูกขากรรไกร โดยใช้วัสดุทางธรรมชาติ ที่หาได้ภายในประเทศ
วิธีดำเนินการ การวิจัยดำเนินงานโดย 4 โครงการย่อยภายใต้แผ...
ตัวบ่งชี้ทางพันธุกรรมและการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัย ณ จุดดูแลผู้ป่วยเพื่อการมีสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ
(สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-11)
แผนงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจความชุกของยีนสำคัญที่มีรายงานความสัมพันธ์กับการเกิด ภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ยีน APP, APOE, PSEN1 และ PSEN2 และศึกษาสารเมตาบอไลท์ในพลาสมาของ อาสาสมัครที่มีรูปแบบยีน APOE ต่างๆ และพัฒนาไบโอเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดน้ำตาลสะสม (Hemoglobin A1c: HbA1c) ในเลือดเพื่อใช้ ณ จุดดูแลผู้ป่วย (Point-of-care test)
การศึกษาความชุกของยีนที่ความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อมในอาสาสมัครสุขภาพดีที่อายุ น้อยกว่า 50 ปี จำนวน 97 คน อาสาสมัครดีที่อายุมากกว่า 50 ปี จำนวน 77 คน และอาสาสมัครกลุ่ม
สมองเสื่อม จำนวน 74 คน ไม่พบการกลายพันธ...
เภสัชพันธุศาสตร์ของยา 5-ฟลูออโรยูราซิลกับผลกระทบทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักไทย
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-09-27)
ความสำคัญงานวิจัยชิ้นนี้คือการเกิดความหลากหลายทางพั นธุกรรมของยีน DPYD มีความสัมพันธ์กับการเกิดพิษจาการใช้ยา 5-ฟลูออโรยูราซิล เช่นเดียวกับการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน MTHFR พบว่าอาจส่งผลต่อการเกิดพิษจาการใช้ยา 5-ฟลูออโรยูราซิลในผู้ป่วยมะเร็งได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน DPYD ทั้งหมด 5 สนิปส์และการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน MTHFR ทั้งหมด 2 สนิปส์กับการเกิดพิษทางโลหิตวิทยาจากการใช้ยา 5-ฟลูออโรยูราซิลในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักไทย ขั้นตอนการทดลอง: ...
ต้นแบบระบบเคลือบผิวสิ่งทอทางการแพทย์ให้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าอย่างยาวนาน
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-04)
โครงการวิจัยนี้เป็นการต่อยอดนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและป้องกันการระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพ โดยทำให้พื้นผิววัสดุสิ่งทอมีสมบัติฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าด้วยตัวเองตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องและ ยาวนาน และสามารถขยายสเกลไปสู่ภาคอุตสาหกรรมได้ โดยทำการพัฒนาเพื่อให้ได้ 1. ต้นแบบน้ำยาเคลือบที่ใช้นวัตกรรม TiO2@Ag/WPU nanocomposite (Smart anti-coronavirus coating (SAC)) เป็นวัสดุฉลาดที่มีฤทธิ์ ฆ่าเชื้อโคโรน่าไวรัส ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยระบบการปลดปล่อยสารฆ่าเชื้อแบบควบคุม ที่ผ่านมาตรฐานสากล (Measurement of antiviral activity, ISO 18184: 2019) แ...
ระบบเฝ้าระวังอัตโนมัติในการประเมิน ติดตาม ป้องกัน และเเสดงแนวทางการบริหารจัดการเมื่อเกิดภาวะการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำในระหว่างการให้ยาหรือสารน้ำชนิดยานอร์ริพิเอฟฟรินจากภาพถ่ายผิวหนังโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึกในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-17)
การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยา คือ ภาวะที่ยาที่มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดในระหว่างการให้ยาทางหลอดเลือดดำ ส่งผลอันตรายต่อเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบที่ให้ยาทางหลอดเลือดดำ และอาจลุกลามถึงเส้นประสาท เส้นเอ็น ข้อของอวัยวะต่าง ๆ ที่ได้รับหรือสัมผัสกับยาดังกล่าว ในกรณีที่รุนแรง อาจทำให้สูญเสียอวัยวะบริเวณนั้นได้ ปัจจุบันการตรวจคัดกรองภาวะการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยา พยาบาลในห้องผู้ป่วยจะต้องสังเกตผู้ป่วยในทุกช่วงระยะหลังการฉีดสารน้ำ ซึ่งมีข้อจำกัดคือ เมื่อมีการเปลี่ยนช่วงเวลาทำงาน ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากพยาบาลท่า...
การพัฒนาวัสดุโครงร่างไฮโดรเจลสำหรับการปลดปล่อยยาเพื่อป้องกันภาวะกระดูกขากรรไกรตายในผู้ป่วยที่ใช้ยาบิสฟอสโฟเนต
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-16)
ยาโซเลโดรนิคเอซิดเป็นยาในกลุ่มบิสฟอสโฟเนตที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคกระดูกที่เกี่ยวกับภาวะที่มีการสลายกระดูกโดยเซลล์สลายกระดูกมากผิดปกติ เช่น โรคกระดูกพรุน ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มนี้อาจเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตายหลังจากที่มีการทำอันตรายกับกระดูกโดยยาโซเลโดรนิคเอซิดเป็นพิษและยับยั้งพัฒนาการและการทำงานของเซลล์สลายกระดูกและเซลล์สร้างกระดูก ทำให้เกิดกระดูกขากรรไกรตายและติดเชื้ือที่กระดูกตายนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตายนี้ีได้ วัตถุประสงค์ในโครงการวิจัยนี้คือ พัฒนาโครงร่างไฮโดรเจลที่สามารถปลดปล่อยยาเจอรานิลเจอรานิออลหรื...
การประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายโดยใช้กฎ ABCD ในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาขั้นตอนวิธีการประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายโดยใช้กฎ ABCD กล่าวคือ A คือ ความไม่สมมาตรของรอยโรคผิวหนัง (Asymmetry) B คือ ลักษณะขอบของรอยโรคผิวหนัง (Border) C คือ สีของโรยโรคผิวหนัง (Color) และ D คือ ลักษณะโครงสร้างของรอยโรคผิวหนัง (Dermoscopic Structure) ในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน โดยขั้นตอนวิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายรอยโรคโดยใช้การประมวลผลภาพดิจิทัล การเรียนรู้เชิงลึกและการเรียนรู้เครื่อง ในการสกัดลักษณะเด่นจากภาพถ่ายรอยโรคและจำแนกประเภทรอยโรคผิวหนังว่าเป็นเ...
ขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูเเลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-20)
โครงการวิจัย "การขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน" เป็นโครงการวิจัยระยะที่ 2 ซึ่งพัฒนาต่อเนื่องมาจากโครงการวิจัยการพัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อผลักดันนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อหนุนเสริมเครือข่ายภาคีความร่วมมือ ในการนำนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานครสู่การปฏิบัติ และ 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายระบบการดูแล...
การเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการตรวจคัดกรองและจำแนกประเภทโรคมะเร็งปอดและวัณโรค
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-11)
แต่ละปีมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากวัณโรค มะเร็งปอด และหัวใจผิดปกติเป็นจำนวนมาก องค์การอนามัยโลกได้ทำการประมาณว่า มีจำนวนผู้ติดเชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) สูงถึง 1,800 ล้านคนทั่วโลก(เทียบเท่า 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรโลก) โดยในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยวัณโรคมากกว่า 10 ล้านคนทั่วโลกและมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 1.6 ล้านคน สำหรับมะเร็งปอด มีผู้ป่วยเกิดขึ้นใหม่ประมาณ 2.1 ล้านคนทั่วโลกและมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 1.8 ล้านคน สำหรับหัวใจผิดปกติ (heart failure) มีผู้ป่วยมากว่า 26 ล้านคนทั่วโลกเอกซ์เรย์ทรวงอกเป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อใช้ว...
การวัดปริมาณชิ้นส่วนดีเอ็นเอชนิด signal-joint T cell receptor excision circles (sjTREC) ในเซลล์เม็ดเลือดขาวเพื่อคาดคะเนอายุในประชากรไทย
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-04)
การคาดคะเนอายุเป็นหนึ่งในข้อมูลที่สำคัญในการสืบสวนและสอบสวนเพื่อระบุตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ งานวิจัยในหลายประเทศพบว่า ชิ้นส่วน DNA ในเม็ดเลือดขาวชนิด T cell ที่เรียกว่า Signal joint T-cell receptor excision circle (sjTREC) มีปริมาณลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาในประชากรไทยซึ่งมีปัจจัยทางด้านพันธุกรรมที่แตกต่างจากประชากรประเทศอื่น ๆ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณ sjTREC กับอายุในประชากรไทยที่มีสุขภาพแข็งแรง และเพื่อสร้างสมการสำหรับคาดคะเนอายุที่มีความจำเพาะในประชากรไทยจากป...
ความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ปีที่ 3 (พ.ศ.2561-2562)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-26)
การดำเนินงานโครงการความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ปีที่ 3 (พ.ศ.2561-2562) มีดังนี้กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมตามมาตรา 12
- จัดร่วมกับหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข (8 ครั้ง) ได้แก่
1) การสัมมนาวิชาการ “การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและสิทธิการตายดีตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ” ร่วมกับ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุมนพเกล้า โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
2) การสัมมนาวิชาการ “การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และสิทธิการตายดีตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ” ร่วม...
ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบวิธีการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มาจากกระบวนการเลือกกันเอง
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-26)
การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้จะต้องนำไปดำเนินการ (Implement) กับผู้มีสิทธิภายใต้ระบบเลือกกันเอง ซึ่งก่อนที่จะสามารถนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาให้ภาคท้องถิ่นใช้ในการลงคะแนนได้นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ประชาชนรับทราบเสียก่อน เช่น การสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ท้องถิ่น รวมไปถึงต้องมีการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในระดับเขตและระดับจังหวัด และควรดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ The use of electronic systems must ...
ศึกษา สำรวจและออกแบบโครงการ Medical Hub
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-01-30)
ปัจจุบันมีการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)เพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาล และหนึ่งในโครงการที่สำคัญของกองทัพเรือ คือ การขยายขีดความสามารถของสนามบินอู่ตะเภาสู่การเป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 ของกรุงเทพมหานคร กองทัพเรือได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของโครงการที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต และเห็นสมควรใช้โอกาสนี้ในกำหนดแผนยกระดับขีดความสามารถของโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ (โรงพยาบาลฯ) ซึ่งอยู่ติดกับเขตสนามบินอู่ตะเภา สู่การเป็นศูนย์การแพทย์ระดับสากลเพื่อรองรับความต้องการในด้านการท่องเที่ยวเชิงก...
การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยฝึกเดินสำหรับคนพิการอัมพาตครึ่งซีกและผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง : lwalk
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-07)
ในประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตและอันดับสองของความพิการ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากกว่า สองหมื่นล้านบาทต่อปีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและชดเชยจากความพิการ ในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น ควรเริ่มต้นเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และทำอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการขาดนักกายภาพบำบัดและอุปกรณ์กายภาพบำบัด ทำให้การฟื้นฟูสภาพร่างกายผู้ป่วยไม่ค่อยได้ผล ดังนั้น อุปกรณ์ที่ออกแบบให้ทำงานได้ง่ายและช่วยแบ่งเบาภาระของของนักกายภาพบำบัดจึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก เมื่อประมาณต้นปี 2558 อุปกรณ์ IWalk ได้มีการทดสอบการใ...
การศึกษาและพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะ โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษานำร่องสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
โครงการการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะ โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษานำร่องสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด (Social Innovation and Youth) เป็นโครงการที่ได้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ ฯ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง
เสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนและแกนนำเยาวชนต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางสังคมในระดับพื้นที่และจังหวัด 2) เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำสภาเด็กและเยาวชนและคนทำงานด้านการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ ที่สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายและกลไกสนับสนุ...
ความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ปีที่ 2 (พ.ศ.2560-2561)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมตามมาตรา 12 (1) การสัมมนาทางวิชาการร่วมกับ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2560 ณ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (2) การสัมมนาทางวิชาการร่วมกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมหรือฝ่ายปกครองในประเด็นการเสียชีวิตที่บ้าน ได้แก่ จัดการเสวนาวิชาการ “สิทธิการตายดีตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ และแนวปฏิบัติกรณีการเสียชีวิตที่บ้าน” ร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เมื่อวันพุธที่ 11 ตุลาคม 2560 ณ ห้องชนกนันท์ โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ (ซ.วิภาวดีรังสิต 64) (3) จั...
ไบโอเซ็นเซอร์ตรวจคัดกรองโรคเก๊าท์แบบพกพาสำหรับระบบสาธารณสุขไทย
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการเตรียมโฟมพอลิเมอร์เชิงประกอบจากพอลิแลคติกแอซิดผสมพอลิบิวทิลีนซัคซิเนตเสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลส โฟมพอลิเมอร์เชิงประกอบนี้เตรียมด้วยกระบวนการหลอมผสมด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวหนอนคู่ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาสมบัติเชิงกายภาพ สมบัติเชิงเคมี สมบัติเชิงความร้อน และสมบัติเชิงกล จากผลการทดสอบการไหลของพอลิเมอร์ พบว่าการเติมเส้นใยเซลลูโลส พบว่าการไหลของพอลิ-เมอร์ผสมเพิ่มขึ้นจากการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่าการเติมเส้นใยเซลลูโลสในพอลิแลคติกแอซิดผสมพอลิ-บิวทิลีนซัคซิเนต ทำให้ค่าความทนต่อแรงดึง ค่ามอดูลัส และร้อยละการยืด ณ จุดขาดเพิ่มขึ้น ...
พัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
โครงการวิจัย “การพัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคีเครือข่ายในกรุงเทพมหานคร และ 2. เพื่อนำเสนอแนวทางเชิงนโยบายให้กับทางภาครัฐ โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ระบบที่ใช้ดูแลมี 3 ระบบ ได้แก่ ระบบนำเข้า ระบบรักษา และระบบจำหน่ายหรือส่งต่อ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ได้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการดำเนินการของหน่วยงานหลายประการซึ่งมีผลทำให้ระบบการดูแลช่วยเหลือคนไร้บ้านขาดประสิทธิภาพ ทางผู้วิจัยจึงได้จัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาร...
วิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงานรับฟังความเห็นต่อ (ร่าง) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
รายงานฉบับนี้เป็นการรวบรวมความคิดเห็นของการทำประชาพิจารณ์(ร่าง)พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลจากการทำเวทีทั้งหมด 3 ช่องทาง ด้วยกัน คือ (1) การจัดรับฟังความเห็นผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเวที online สำหรับประชาชนทั่วไป (2) การจัดเวทีประชาพิจารณ์ (Public hearing) และ (3) การจัดเวทีปรึกษาสาธารณะ (Public consultation) ในภาพรวมของความคิดเห็น คือ รับรู้ว่าเป็นกฎหมายที่ใช้มา 15 ปี สำหรับส่วนที่เห็นด้วยมองว่า พรบ. ฉบับนี้จำเป็นต้องมีแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการบริการสาธารณสุขอย่...