Now showing items 1-9 of 9

    • type-icon

      จ้างที่ปรึกษาจัดทำผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายหาดบางแสน 

      ปราณิศา บุญค้ำ; Pranisa Boonkham (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      การจัดทำผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายหาดบางแสน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลเมืองแสนสุข พ.ศ. 2558-2562 ที่มุ่งวางแผนด้านการจัดการและปรับปรุงภูมิทัศน์ของพื้นที่ชายหาดให้เกิดภาพลักษณ์ที่สวยงามและยั่งยืน กระบวนการศึกษาโครงการ เป็นการทำงานร่วมกันของคณะที่ปรึกษา นายกเทศมนตรี บุคลากรของเทศบาล รวมถึงประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม 3 ครั้ง เพื่อนำข้อมูลจากทุกภาคส่วนมาเป็นโจทย์ในการวางผังและออกแบบ และนำเสนอกรอบแนวคิดในการวางผังแม่บทการพัฒนาชายหาด รวมทั้งการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมขั้นต้นของพื้นที่สาธารณะ 3 โครงการ ...
    • Thumbnail

      พัฒนาสถานประกอบการเป้าหมายเพื่อเข้าสู่ AEC ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการและธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2559 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-23)

      จากการดำเนินโครงการพัฒนาสถานประกอบการเป้าหมายเพื่อเข้าสู่ AEC ภายใต้กิจกรรมเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการและธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 15 ราย โดยได้รับการให้คำปรึกษาแนะนำและร่วมกับทีมที่ปรึกษาในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาแล้วเสร็จทุกกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนด รวมทั้งสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมีความกระตือรือร้นและให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกับทีมที่ปรึกษาเป็นอย่างดี The project “Entrepreneur development ...
    • type-icon

      เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์) 

      คมน์ พันธรักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-23)

      สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินกิจกรรมการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ให้กับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ในการดำเนินการโครงการประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้คือ 1) พิจารณาคัดเลือกวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมดจำนวน 50 ราย 2) ดำเนินการสำรวจและประเมินสถานประกอบการเ ...
    • type-icon

      ประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร 

      เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

      การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร เพื่อนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาใช้ประกอบการประเมินผลการดำเนินงานโครงการอย่างเป็นระบบ นำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานรวมทั้งการต่อยอดและขยายผลโครงการลงสู่พื้นที่ในระดับตำบลที่ครอบคลุมทั้งประเทศไทยต่อไปในอนาคต โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่เข้าร่วมโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” จำนวน 40,000 ราย ในพื้นที่ 878 ตำบล ใน 878 อำเภอ ใน 76 จังหวัด ...
    • type-icon

      ประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการยกระดับ OTOP ใน 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ 

      เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

      การดำเนินงานที่ผ่านมา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำโครงการแผนงานขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจและสังคมฐานราก (ยกระดับ OTOP ในพื้นที่ 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ) ซึ่งนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาและจัดระเบียบองค์ความรู้แล้ว ไปถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการ OTOP โดยมีผลการศึกษาจำแนกตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อพัฒนากระบวนการ เครื่องมือ ตลอดจนทำการประเมินมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ...
    • type-icon

      กิจกรรมการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น (Value Added) พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ภายใต้โครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวประชารัฐ ประจำปีงบประมาณ 2561 

      คมน์ พันธรักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

      สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินกิจกรรมการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น (Value Added) ให้กับกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ“ปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร)” แก่วิสาหกิจชุมชนและกลุ่มเกษตรกรในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก จำนวน 150 กลุ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตร โดยการแปรรูปและพัฒนาวัตถุดิบ จากผลิตผลทางการเกษตร โดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ...
    • Thumbnail

      กิจกรรมการติดตามประเมินผลโครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ/การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค 

      กริช เจียมจิโรจน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-21)

      โครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ/การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาคในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน) ปี 2560 มีสถานประกอบการเข้าร่วมจำนวน 10 แห่ง แยกเป็นสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 3 แห่ง พะเยา 3 แห่ง แพร่ 2 แห่ง และน่าน 3 แห่ง ผลการดำเนินโครงการติดตามและประเมินผลโครงการ พบว่า ที่ปรึกษาโครงการมีการดำเนินกิจกรรมครบถ้วนตาม TOR ที่กำหนดไว้ จากการสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินการจำนวน 10 ด้าน สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจระดับมาก โดยได้รับคะแนนพึงพอใจเฉลี่ย ...
    • type-icon

      กิจกรรมติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาศูนย์ประสานงาน (Command Center) และนำร่องการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ นอร์ทเทิร์นไทยแลนด์ฟู๊ดวัลเลย์ ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-21)

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรเชิงนวัตกรรม ตลอดจนแผนงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรเชิงนวัตกรรม ตลอดจนแผนงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อสรุปผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา พื้นที่ดำเนินการ คือ จังหวัดในกลุ่มพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ...
    • type-icon

      พัฒนาระบบให้บริการการตลาดแบบดิจิตัลของศูนย์ส่งเสริมธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ 

      โมไนยพล รณเวช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-12)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบให้บริการการตลาดแบบดิจิทัลของศูนย์ส่งเสริมธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ เพื่อให้วิสาหกิจมีช่องทางการทำการตลาดออนไลน์ และมีสื่อออนไลน์ที่สามารถนำผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนเข้าสู่ตลาดออนไลน์ได้ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการพัฒนาเว็บฟ้าใสแกลอรี่ (www.fahsaigallery.com) คือ ควรพัฒนาเว็บไซต์ให้มีความสวยงามและรองรับการใช้งานผ่านมือถือ ควรปรับปรุงกระบวนการขายสินค้าโดยเพิ่มช่องทางการขายสินค้าให้หลากหลายมากขึ้น เช่น เปิดบัญชี LINE@ และเพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่านสื่อสังคม เป็นต้น รวมทั้งควรมีการส่งเสริมการตลาด ...