จ้างที่ปรึกษาจัดทำผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายหาดบางแสน
by ปราณิศา บุญค้ำ; Pranisa Boonkham
จ้างที่ปรึกษาจัดทำผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายหาดบางแสน | |
Bangsaen Beach Master Plan | |
ปราณิศา บุญค้ำ
Pranisa Boonkham |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2016 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การจัดทำผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายหาดบางแสน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลเมืองแสนสุข พ.ศ. 2558-2562 ที่มุ่งวางแผนด้านการจัดการและปรับปรุงภูมิทัศน์ของพื้นที่ชายหาดให้เกิดภาพลักษณ์ที่สวยงามและยั่งยืน กระบวนการศึกษาโครงการ เป็นการทำงานร่วมกันของคณะที่ปรึกษา นายกเทศมนตรี บุคลากรของเทศบาล รวมถึงประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม 3 ครั้ง เพื่อนำข้อมูลจากทุกภาคส่วนมาเป็นโจทย์ในการวางผังและออกแบบ และนำเสนอกรอบแนวคิดในการวางผังแม่บทการพัฒนาชายหาด รวมทั้งการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมขั้นต้นของพื้นที่สาธารณะ 3 โครงการ และรูปแบบแบบองค์ประกอบภูมิทัศน์ตามแนวชายหาด เพื่อให้เทศบาลเมืองแสนสุขได้มีแนวทางในการเลือกพัฒนาโครงการให้เหมาะสมกับแผนงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป ชายหาดบางแสนมีศักยภาพทั้งด้านที่ตั้งและประวัติศาสตร์ของพื้นที่ เป็นชายหาดท่องเที่ยวแห่งแรกของประชาชนชาวไทย มีความสวยงามด้วยความหลากหลายของภูมิประเทศ ตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร เข้าถึงได้สะดวก และยังมีวัฒนธรรมประเพณี อาหาร และเทศกาลท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ ประกอบกับนโยบายการบริหารที่มุ่งผลักดันให้เมืองแสนสุข เป็นเมืองแห่งสุขภาวะ (healthy city) และเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว ตอบรับความต้องการของคนท้องถิ่นร่วมไปกับนักท่องเที่ยวและประชากรเมืองที่กำลังเพิ่มมากขึ้นจากการขยายตัวของระเบียงอุตสาหกรรมภาคมตะวันออก อย่างไรก็ตาม การวางแผนพัฒนาชายหาดบางแสนจะต้องสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และพัฒนา เพื่อมิให้เกิดผลกระทบอย่างถาวรต่อระบบนิเวศและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยยึดหลักการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีรายได้จากการค้าขายและการให้บริการนักท่องเที่ยว ร่วมไปกับแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และแนวคิดการจัดการจราจรอย่างยั่งยืนโดยการสร้างทางเลือกของระบบสัญจรที่นอกเหนือจากรถส่วนตัว เพิ่มความสะดวก ปลอดภัยในการเข้าถึงพื้นที่ รวมทั้งการเพิ่มความหลากหลายของกิจกรรมชายหาด เพื่อให้บางแสนเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนที่สร้าง “ความสุข และความสนุก” ให้กับผู้ใช้งานทุกกลุ่ม ประเด็นสำคัญที่นำเสนอในผังแม่บทการพัฒนาชายหาดบางแสน ได้แก่ 1) การกำหนดโซนความเข้มข้นของการพัฒนาตามระดับความเปราะบางของระบบนิเวศชายหาด 2) การฟื้นฟูและขับเน้นอัตลักษณ์เดิม ได้แก่ บรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ กิจกรรมตามประเพณีดั้งเดิม เช่น การก่อทรายวันไหล การทำข้าวหลาม ตำนานเจ้าพ่อแสน-สาวมุข วิถีประมงชายฝั่ง เป็นต้น 3) การสร้างสรรค์อัตลักษณ์ใหม่ที่สอดคล้องกับของเดิม เช่น การเป็นเมืองแห่งกีฬาและสุขภาพ การสื่อสารเรื่องราวพื้นถิ่นผ่านงานศิลปะร่วมสมัย และการเป็นแหล่งเรียนรู้แบบผ่อนคลายให้กับคนทุกกลุ่มวัย ผังแม่บทการพัฒนาชายหาด ยังได้กำหนดโซนย่อยเพื่อสร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันตามความยาว 6 กม.ของชายหาด เพื่อให้เกิดการจดจำพื้นที่ได้ง่ายขึ้น แต่ละโซนย่อยประกอบด้วยศูนย์รวมกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับกลุ่มผู้ใช้แต่ละกลุ่ม ได้แก่ โซนแสนเฟส (ศูนย์ประวัติศาสตร์บางแสน) โซนแสนเพลิน (ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว) โซนแสนสุข (ศูนย์รวมกิจกรรมการท่องเที่ยว) และโซนแสนศิลป์ (ศูนย์รวมกิจกรรมชุมชน) นอกจากนั้น การศึกษาโครงการยังรวมถึงการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมขั้นต้นของโครงการย่อย 3 โครงการ ตามกรอบการพัฒนาของผังแม่บท ได้แก่ ลานอเนกประสงค์แหลมแท่น ลาน/ศาลาเฉลิมพระเกียรติ และสวนสาธารณะหาดวอนนภา |
|
ชายหาดบางแสน
ผังแม่บท ภูมิสถาปัตยกรรม เมืองสุขภาวะ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน Bangsaen beach master plan landscape architecture healthy city sustainable tourism |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/546 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|