พัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนทฤษฎีใหม่เพื่อการพัฒนาพื้นที่ในขั้นที่ 2 ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
by อรพรรณ คงมาลัย; อัญณิฐา ดิษฐานนท์
ชื่อเรื่อง: | พัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนทฤษฎีใหม่เพื่อการพัฒนาพื้นที่ในขั้นที่ 2 ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of guidelines for driving the new theory of the area development in the second stage based on philosophy of sufficiency economy |
ผู้แต่ง: | อรพรรณ คงมาลัย
อัญณิฐา ดิษฐานนท์ |
ลูกค้าหรือคู่สัญญา: | สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ |
ผู้ร่วมงาน: | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2017 |
สาขาการวิจัย: | สาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development sector : MID) |
ประเภทโครงการ: | โครงการวิจัย |
รหัสโครงการ: | 2560A00683 |
สถานะของโครงการ: | สิ้นสุดโครงการ |
การให้ความสนับสนุน: | สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
งานวิจัยนี้มุ่งหมายที่จะพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนทฤษฎีใหม่เพื่อการพัฒนาพื้นที่ในขั้นที่ 2 ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพได้ถูกนำมาใช้ทั้งการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ โดยการทบทวนวรรณกรรมมุ่งทำความเข้าใจแนวคิดและหลักการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนทั้งในและต่างประเทศ ครอบคลุมตั้งแต่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ การรวมกลุ่มทางสังคม (social cohesion) วิสาหกิจชุมชน (community enterprise) และสหกรณ์ (cooperative) ทั้งนี้ ได้มีการคัดเลือกกรณีศึกษา 10 แห่งจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อถอดบทเรียนการนำทฤษฎีใหม่ในขั้นที่ 2 ไปใช้ในการพัฒนาพื้นที่ การสัมภาษณ์ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียหลัก อาทิ ผู้ริเริ่มก่อตั้งกลุ่ม สมาชิกกลุ่ม ผู้บริหารกลุ่ม และหน่วยงานสนับสนุนทั้งที่จากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม การสังเกตการณ์ครอบคลุมทั้งกระบวนการบริหารจัดการกลุ่ม การผลิต และการขาย หลังการตรวจสอบสามเส้า (data triangulation) สามารถสรุปผลวิจัยได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างนวัตกรรมสังคม (social innovation) ในประเทศไทย การพัฒนาพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จมีการดำเนินอย่างเป็นลำดับขั้น ที่เรียกว่า บันได 7 ขั้นสู่การรวมกลุ่มอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ตรวจสอบความพร้อมของกลุ่ม ขั้นที่ 2 สร้างความเข้าใจในสิทธิหน้าที่และจัดสรรประโยชน์ให้เป็นธรรม ขั้นที่ 3 พัฒนาโมเดลธุรกิจและระบบการจัดการกลุ่มให้ทันสมัย ขั้นที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการขาย ขั้นที่ 5 กระตุ้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกในทุกขั้นตอนหลักของกลุ่ม ขั้นที่ 6 ส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลและองค์ความรู้เพื่อปรับปรุงการบริหารกลุ่ม และขั้นที่ 7 สร้างทักษะการทำงานร่วมกับหน่วยงาน ให้ตรงจุดสำคัญและต่อเนื่อง |
คำสำคัญ: | ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ขับเคลื่อนทฤษฎีใหม่ |
ประเภททรัพยากร: | บทความ |
ชนิดของสื่อ: | Text |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร |
สิทธิในการเข้าถึง: | สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ผู้ครอบครองสิทธิ์: | สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ |
URI: | https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/440 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|