คุณค่าของการใช้ Five time sit to stand สำหรับการคัดกรองและการประเมินการหกล้มในผู้สูงอายุไทย
by สุขวิดา มโนรังสรรค์; Manorangsan, Sukwida
Title: | คุณค่าของการใช้ Five time sit to stand สำหรับการคัดกรองและการประเมินการหกล้มในผู้สูงอายุไทย |
Other title(s): | The value of using Five time sit to stand for fall screening and assessment in Thai older people |
Author(s): | สุขวิดา มโนรังสรรค์
Manorangsan, Sukwida |
Funder: | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
Contributor(s): | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publisher: | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Issued date: | 2012 |
Research Sector: | สาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE) |
Project Type: | โครงการวิจัย |
Project ID: | 2555A00387 |
Project Status: | สิ้นสุดโครงการ |
Sponsorship: | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) |
Abstract: |
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่า sensitivity และ specificity รวมถึงหาค่าจุดตัด (cutoff score) ของการทดสอบ Five Times sit to stand (FTSTS) สําหรับคัดกรองผู้สูงอายุไทยสุขภาพดีที่มีแนวโน้มจะเสี่ยงต่อการหกล้ม วิธีการวิจัย อาสาสมัครผู้สูงอายุ60 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยตามชุมชนในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปทุมธานี จำนวน 330 คน สามารถเดินและทำกิจวัตรประจําวันได้ตามปกติได้รับการอธิบายขั้นตอนและยินดีเข้าร่วมวิจัย ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลสุขภาพและบันทึกประวัติการหกล้ม จากนั้นรับการทดสอบ FTSTS และการติดตามข้อมูลการหกล้ม โดยโทรศัพท์ สอบถามผู้สูงอายุทุก ๆ สองเดือน จนครบหกเดือน เพื่อบันทึกผลการล้มซ้ำที่อาจเกิดขึ้ น ในการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้โปรแกรม SPSS สถิติ Receiver-operator-characteristic (ROC) ในการหาจุดตัด (cutoff value) ค่า sensitivity และ specificity ของเวลาในการทดสอบ FTSTS กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที 0p < .05 ผลการศึกษา ผู้สูงอายุในการศึกษานี้ อายุเฉลี่ย 69.03±6.44 ปี (60 - 86 ปี) ในจำนวน 330 คน พบผู้สูงอายุมีประวัติการล้มมาแล้ว (Fallers= 67 คน หรือ ร้อยละ 20.3) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และผู้สูงอายุที่ไม่เคยล้ม (Non-Fallers=263 หรือ ร้อยละ 79.7) เมื่อติดตามไปทุกๆ สองเดือนจนครบหกเดือน ไม่พบว่ามีคนรายงานการหกล้มซ้ำ นอกจากนี้ ยังพบว่า เวลาโดยเฉลี่ยที่ใช้ลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ห้าครั้ งต่อเนื่องกัน (FTSTS) เท่ากับ 13.02±4.05 วินาที (5.47 - 50.00 วินาที) ขณะที่แบ่งตามช่วงอายุ พบค่าเฉลี่ยเวลาในการทํา FTSTS ดังนี้ อายุ 60-69 ปี (11.97±3.26 วินาที), อายุ 70-79 ปี (14.17±4.54 วินาที), อายุ 80 ปี ขึ้นไป (16.90±9.35 วินาที) และค่าจุดตัดของเวลาในการทดสอบ FTSTS เท่ากับ 12.48 วินาที พื้นที่ใต้กราฟเท่ากับ 0.65, sensitivity เท่ากับ 0.70 และค่า specificity เท่ากับ 0.60 สรุปผลการศึกษา การติดตามประวัติการหกล้มในช่วงสองเดือนถึงหกเดือน ยังไม่พบรายงานการหกล้มซ้ำในผู้สูงอายุ สําหรับการศึกษานี้ อาจเนื่องจากเวลาในการติดตามผลเป็นช่วงสั้นๆ แต่การศึกษานี้ ก็สามารถสรุปว่า ในการคัดกรอง และประเมินความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุไทยโดยใช้การทดสอบ FTSTS พบว่า ถ้าผู้สูงอายุใช้เวลาลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ห้าครั้งต่อเนื่องกันนานกว่า 12.48 วินาที อาจมีความเสี่ยงต่อการหกล้มขณะเปลี่ยนท่าจากนั่งไปยืนในผู้สูงอายุ ซึ่งผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจประเมินขั้นต้นในทางกายภาพบำบัดสําหรับคลินิกผู้สูงอายุ เพื่อวางแผน ป้องกันและวางแนวทางการรักษาต่อไป |
Keyword(s): | การหกล้ม
การลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ห้าครั้งต่อเนื่องกัน ผู้สูงอายุไทย |
Resource type: | บทความ |
Type: | Text |
Language: | tha |
Rights: | เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร |
Access rights: | สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
URI: | https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/308 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|