dc.contributor.author | สุขวิดา มโนรังสรรค์ | |
dc.contributor.author | Manorangsan, Sukwida | |
dc.contributor.other | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2017-05-22T06:47:06Z | |
dc.date.available | 2017-05-22T06:47:06Z | |
dc.date.issued | 2012 | |
dc.identifier.uri | https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/308 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่า sensitivity และ specificity รวมถึงหาค่าจุดตัด (cutoff score) ของการทดสอบ Five Times sit to stand (FTSTS) สําหรับคัดกรองผู้สูงอายุไทยสุขภาพดีที่มีแนวโน้มจะเสี่ยงต่อการหกล้ม วิธีการวิจัย อาสาสมัครผู้สูงอายุ60 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยตามชุมชนในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปทุมธานี จำนวน 330 คน สามารถเดินและทำกิจวัตรประจําวันได้ตามปกติได้รับการอธิบายขั้นตอนและยินดีเข้าร่วมวิจัย ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลสุขภาพและบันทึกประวัติการหกล้ม จากนั้นรับการทดสอบ FTSTS และการติดตามข้อมูลการหกล้ม โดยโทรศัพท์ สอบถามผู้สูงอายุทุก ๆ สองเดือน จนครบหกเดือน เพื่อบันทึกผลการล้มซ้ำที่อาจเกิดขึ้ น ในการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้โปรแกรม SPSS สถิติ Receiver-operator-characteristic (ROC) ในการหาจุดตัด (cutoff value) ค่า sensitivity และ specificity ของเวลาในการทดสอบ FTSTS กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที 0p < .05 ผลการศึกษา ผู้สูงอายุในการศึกษานี้ อายุเฉลี่ย 69.03±6.44 ปี (60 - 86 ปี) ในจำนวน 330 คน พบผู้สูงอายุมีประวัติการล้มมาแล้ว (Fallers= 67 คน หรือ ร้อยละ 20.3) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และผู้สูงอายุที่ไม่เคยล้ม (Non-Fallers=263 หรือ ร้อยละ 79.7) เมื่อติดตามไปทุกๆ สองเดือนจนครบหกเดือน ไม่พบว่ามีคนรายงานการหกล้มซ้ำ นอกจากนี้ ยังพบว่า เวลาโดยเฉลี่ยที่ใช้ลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ห้าครั้ งต่อเนื่องกัน (FTSTS) เท่ากับ 13.02±4.05 วินาที (5.47 - 50.00 วินาที) ขณะที่แบ่งตามช่วงอายุ พบค่าเฉลี่ยเวลาในการทํา FTSTS ดังนี้ อายุ 60-69 ปี (11.97±3.26 วินาที), อายุ 70-79 ปี (14.17±4.54 วินาที), อายุ 80 ปี ขึ้นไป (16.90±9.35 วินาที) และค่าจุดตัดของเวลาในการทดสอบ FTSTS เท่ากับ 12.48 วินาที พื้นที่ใต้กราฟเท่ากับ 0.65, sensitivity เท่ากับ 0.70 และค่า specificity เท่ากับ 0.60 สรุปผลการศึกษา การติดตามประวัติการหกล้มในช่วงสองเดือนถึงหกเดือน ยังไม่พบรายงานการหกล้มซ้ำในผู้สูงอายุ สําหรับการศึกษานี้ อาจเนื่องจากเวลาในการติดตามผลเป็นช่วงสั้นๆ แต่การศึกษานี้ ก็สามารถสรุปว่า ในการคัดกรอง และประเมินความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุไทยโดยใช้การทดสอบ FTSTS พบว่า ถ้าผู้สูงอายุใช้เวลาลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ห้าครั้งต่อเนื่องกันนานกว่า 12.48 วินาที อาจมีความเสี่ยงต่อการหกล้มขณะเปลี่ยนท่าจากนั่งไปยืนในผู้สูงอายุ ซึ่งผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจประเมินขั้นต้นในทางกายภาพบำบัดสําหรับคลินิกผู้สูงอายุ เพื่อวางแผน ป้องกันและวางแนวทางการรักษาต่อไป | th |
dc.description.abstract | Objective: To determine the sensitivity, specificity and cutoff score of five times sit to stand (FTSTS) for fall screening in Thai older people. Method: Three hundred thirty community-dwelling older people aged 60 years and over who live in community in Bangkok and Pathumthani province. They performed normally activity daily of life. All data protocol were explained to subjects who had willing to participated in study. Health questionnaires and fall history were recored. Subjects then were tested by FTSTS. Each subject was followed by phone every two months until six months to record a fall incident. The data were analyzed by using SPSS and applied statistical Receiver-operator-characteristic (ROC) to determine cutoff score, sensitivity, and specificity of FTSTS test. Statistical significance was setted at p-value less than .05. Results: The subjects had mean age of 69.03 ± 6.44 years (60-86 years). All subjects were classified in to people who had a history of fall (Fallers, n=67 or 20.3 percent), and people who never had fall before (Non-Fallers, n=263 or 79.7 percent) from all subjects. At 2-6 months follow up, there were no reports of people who had a recurent fall or fall incident. This study also found that the mean time spent getting up from a chair for five times (FTSTS) was 13.02 ± 4.05 seconds (5.47 to 50.00 seconds). The mean time to taken complete FTSTS based on age were reported as aged 60-69 years (11.97 ± 3.26 seconds), aged 70-79 years (14.17 ± 4.54 seconds), 80 years and over (16.90 ± 9.35 seconds). The cutoff score of FTSTS for fall screening in Thai older people was 12.48 seconds (area under the (AUC) = 0.65, sensitivity = 0.70, specificity = 0.60) Conclusion: At 2-6 month follow up, there were no reports of recurrent falls or fall incident in the older people. This might need a longer time to follow the fall incident. In addition, this study found that people who take FTSTS getting up from a chair five times consecutively for more than 12.48 seconds may be at risk of falls while changing posture from sitting to standing. The results of this study will be useful for the geriatric physical therapy clinic in order to plan treatment and promote prevention in Thai older people. | th |
dc.description.sponsorship | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | tha | en |
dc.publisher | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
dc.rights | เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
dc.subject | การหกล้ม | th |
dc.subject | การลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ห้าครั้งต่อเนื่องกัน | th |
dc.subject | ผู้สูงอายุไทย | th |
dc.title | คุณค่าของการใช้ Five time sit to stand สำหรับการคัดกรองและการประเมินการหกล้มในผู้สูงอายุไทย | |
dc.title.alternative | The value of using Five time sit to stand for fall screening and assessment in Thai older people | |
dc.type | Text | |
dcterms.accessRights | สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
cerif.cfProj-cfProjId | 2555A00387 | |
mods.genre | บทความ | |
mods.location.physicalLocation | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
turac.projectType | โครงการวิจัย | |
turac.researchSector | สาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE) | |
turac.contributor.funder | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ | |
turac.fieldOfStudy | สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
cerif.cfProj-cfProjStatus | สิ้นสุดโครงการ | |