Now showing items 1-13 of 13

    • type-icon

      การถอดบทเรียนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 

      ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน เป็นกิจกรรมทางสังคมในรูปแบบหนึ่งที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนด้วยความสมัครใจของคู่ขัดแย้ง และใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือก อันจะนำไปสู่การลดคดีเข้าสู่ชั้นศาล และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนอันเกิดจากการเข้าถึงจนออกจากกระบวนการยุติธรรมหลัก ในบทความนี้พยายามนำเสนอแนวทางและวิธีการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามบทบาทหน้าที่ของศูนย์ยุติธรรมชุมชนตัวอย่าง ๘๑ แห่งในสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ๒๗ จังหวัดทั้งที่มีอัตราการไกล่เกลี่ยสำเร็จสูงสุด และต่ำสุดจากสถิติย้อนหลัง ...
    • type-icon

      จ้างที่ปรึกษาจัดทำระบบทดลองการเชื่อมโยงข้อมูลกระบวนการยุติธรรมอิเลคทรอนิคส์ และกำหนดมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลและกระบวนการทำงานในคดีความมั่นคง จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

      ชวนัสถ์ เจนการ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      การจัดทำระบบทดลองต้นแบบเชื่อมโยงกระบวนการยุติธรรมเป็นแนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีสถานการณ์ก่อความไม่สงบอย่างต่อเนื่องซึ่งปัญหาความไม่เชื่อมั่นในระบบงานยุติธรรมก็เป็นปัญหาสำคัญหนึ่งที่เป็นต้นตอของปัญหา โครงการนี้เป็นการวิเคราะห์ระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่และกระบวนการทำงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ คุมประพฤติ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน แล้วทดลองพัฒนาระบบทดลองต้นแบบเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เป็นปัญหาต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การเชื่อมโยงฐานข้อมูลของหน่วยงา ...
    • type-icon

      จ้างเหมาบริการผู้เชี่ยวชาญทบทวนแผนที่นำทาง (Roadmap) การขับเคลื่อนเป้าหมายที่ 16 

      เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการยุติธรรม เพื่อให้สามารถอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในประเทศได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม นอกจากนี้แล้ว เป้าหมายที่ 16 ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และแผนแม่บทกระบวนการยุติธรรมฉบับที่ 3 อย่างไรก็ตาม การจะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ไปพร้อมกัน จำเป็นจะต้องมีแผนที่นำทาง (Road Map) ที่สามารถบูรณาการเป้าหมายของทุกนโยบายให้ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดเอกภาพในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังช่วยให้เกิดประสิทธิภ ...
    • type-icon

      จ้างเหมาบริการวิเคราะห์ข้อมูลตัวชี้วัด วิธีการจัดเก็บข้อมูล และกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัด 

      ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ในการติดตามประเมินผลในการดำเนินงาน ข้อมูลจากตัวชี้วัดสามารถวิเคราะห์ถึงการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายกำหนด ตัวชี้วัดที่ดีจะเป็นข้อมูลสำคัญให้กับผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจวางแผนนโยบายและบริหารงานพัฒนาสามารถคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาหรือวางแผนปฏิบัติงานในอนาคต เพื่อให้การปฏิบัติงานต่อไปประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในรายงานวิจัยนี้จึงพยายามที่จะสะท้อนประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมอาญาไทยผ่านตัวชี้วัดซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการในระดับชาติกำหนดไว้มี ...
    • type-icon

      ดำเนินการสร้างตัวชี้วัดการประเมินผลการดำเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และการบำบัดฟื้นฟูการแก้ไขผู้ติดยาเสพติด ตามแนวคิด (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด 

      ณัฐพล แสงอรุณ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      โครงการวิจัย “การสร้างตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการดำเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และการบำบัดฟื้นฟูการแก้ไขผู้ติดยาเสพติดตามแนวคิด (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด” มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศทางและเป้าหมายสำหรับการจัดทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลตาม (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด (2) เพื่อสร้างตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์สำหรับการประเมินผลการบังคับใช้ตาม (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติดและวิธีการรวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่แท้จริงของการดำเนินงานตามร่างกฎหมายดังกล่าว และ (3) เพื่อประเมินควา ...
    • type-icon

      ประเมินผลการดำเนินดำเนินการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 

      ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-06)

      บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอผลการจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การกำหนดค่ามาตรฐาน (Baseline) และค่ามาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmark) ของแต่ละตัวชี้วัด รวมทั้งประเมินผลการจัดเก็บข้อมูลประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในภาพรวม 2) นำเสนอผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมในแต่ละด้าน รวมทั้งประเมินจุดอ่อน-จุดแข็ง และโอกาสในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม 3) กำหนดทิศทาง และเป้าหมายในการปฎิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและขับเคลื่อนการพัฒนากระบวนการยุติธรรมตามแผนบูรณาการ และแผนระดับชาติต่าง ๆ ของรัฐบาลด้านกระบวนการยุติธรรม ...
    • type-icon

      พัฒนากระบวนการมาตรฐานในการสำรวจข้อมูลสถิติอาชญากรรมภาคประชาชน 

      ธันยพร สุนทรธรรม (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-06)

      งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการสำรวจข้อมูลสถิติอาชญากรรมภาคประชาชนของประเทศไทย ทั้งวงรอบการสำรวจ แผนการสำรวจ วิธีการจัดเก็บข้อมูล วิธีการเลือกตัวอย่าง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ด้วยการทบทวนกระบวนการสำรวจข้อมูลสถิติอาชญากรรมภาคประชาชนของไทยที่ผ่านมา และการศึกษาแนวทางการสำรวจตามมาตรฐานสากล เพื่อออกแบบการสำรวจเบื้องต้น และรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจากการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) จนนำไปสู่การออกแบบสอญ.1 สอญ.1 (โทรศัพท์) และแบบสอญ.2 ตลอดจนการออกแบบกระบวนการสำ ...
    • type-icon

      พัฒนาระบบสอบสวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบและคดีค้ามนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      รายงานวิจัยเรื่อง โครงการพัฒนาระบบการสอบสวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีค้ามนุษย์ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิขอบ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานของพนักงานสอบสวนและพนักงานไต่สวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีค้ามนุษย์ว่ามีความสอดคล้องกับกระบวนพิจารณาคดีในระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 และประการที่สอง ...
    • Thumbnail

      วิจัยกระบวนการยุติธรรมกับสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความรุนแรง : ปัญหาและแนวทางแก้ไข 

      ปกป้อง ศรีสนิท (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2012)
    • type-icon

      วิจัยการพัฒนาเครื่องมือเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย 

      พงษ์กฤษณ์ มงคลสินธุ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-04-02)

      การพัฒนาเครื่องมือเตรียมพร้อมก่อนปล่อย (ผู้ต้องขัง) เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบท่วมท้นไปด้วยผู้กระทำผิดในคดียาเสพติด จนก่อให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารจัดการงานยุติธรรมของประเทศทั้งระบบ โดยเฉพาะในส่วนของเรือนจำที่ต้องรับภาระอย่างหนักกับปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ แต่เรือนจำก็ไม่สามารถจำคุกผู้ต้องขังทุกคนไว้จนตาย สักวันหนึ่งไม่ช้าก็เร็วก็ต้องปล่อย โดยเฉพาะผู้ต้องขังส่วนใหญ่ที่เป็นคดีเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีมากกว่าร้อยละ 70 นั้น มักจะเป็นผู้กระทำผิดซ้ำถึงร้อยละ 62.64 และร้อยละ 73.13 ของผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำและศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเย ...
    • Thumbnail

      ศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ และบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมไทย 

      ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-06)

      ไฟล์บทคัดย่อตามไฟล์แนบ
    • type-icon

      ศึกษาและวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ด้านการกระทำผิดซ้ำ และติดตามผู้พ้นโทษจากระบบพัฒนาพฤตินิสัยของประเทศไทย จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

      ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา; ชวนัสถ์ เจนการ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการข้อมูลการกระทำผิดซ้ำทางอาญาและติดตามผู้พ้นโทษจากระบบพัฒนาพฤตินิสัยของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยในปัจจุบัน และวิเคราะห์แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและชั้นความลับของข้อมูลการกระทำผิดซ้ำที่สามารถเปิดเผยได้ ตลอดจนแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลการกระทำผิดซ้ำทางอาญาของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยศึกษาข้อมูลของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ 17 ประเทศ และจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบการจัดเก็บและเชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) วิธีการศึกษาเป็นก ...
    • type-icon

      สำรวจข้อมูลสถิติอาชญากรรมภาคประชาชน 

      ธันยพร สุนทรธรรม (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-06)

      งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลอาชญากรรมของประเทศไทยในประเด็นลักษณะของเหยื่ออาชญากรรม ลักษณะผู้กระทำผิด พฤติการณ์แห่งคดี เวลาและสถานที่เกิดเหตุ ความเสียหายและผลกระทบจากอาชญากรรมการรายงานเหตุต่อเจ้าหน้าที่ การตอบสนองต่ออาชญากรรมที่ได้รับแจ้งของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยทำการเก็บข้อมูล 440 ตัวอย่างต่อกองบัญชาการ (ตั้งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของส่วนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติทั้ง 11 หน่วยงานครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย ได้แก่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล, กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจ ...