ดำเนินการสร้างตัวชี้วัดการประเมินผลการดำเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และการบำบัดฟื้นฟูการแก้ไขผู้ติดยาเสพติด ตามแนวคิด (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด
by ณัฐพล แสงอรุณ
ดำเนินการสร้างตัวชี้วัดการประเมินผลการดำเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และการบำบัดฟื้นฟูการแก้ไขผู้ติดยาเสพติด ตามแนวคิด (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด | |
The Study on Indicators for Evaluation of Narcotic Prevention and Suppression and Drug Addict Rehabilitation under the New Narcotic Code | |
ณัฐพล แสงอรุณ | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2018 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
โครงการวิจัย “การสร้างตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการดำเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และการบำบัดฟื้นฟูการแก้ไขผู้ติดยาเสพติดตามแนวคิด (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด” มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศทางและเป้าหมายสำหรับการจัดทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลตาม (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด (2) เพื่อสร้างตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์สำหรับการประเมินผลการบังคับใช้ตาม (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติดและวิธีการรวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่แท้จริงของการดำเนินงานตามร่างกฎหมายดังกล่าว และ (3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ได้พัฒนาขึ้น และพิจารณาถึงข้อจำกัดต่างๆ และทางเลือกข้อมูลที่มีความเหมาะสมที่สุดที่จะใช้เป็นตัวชี้วัด และข้อเสนอแนะในการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลตาม (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติดให้เกิดขึ้นจริงได้ต่อไป โดยการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้หลักการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเริ่มจากการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus group) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการจัดประชุมสัมมนาเพื่อนำเสนอผลการศึกษาและวิพากษ์ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ ทั้งนี้สามารถสรุปตัวชี้วัดออกเป็น 4 ด้าน จำนวน 20 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1.ด้านการพัฒนากลไกเชิงนโยบายและการขับเคลื่อนประกอบด้วย 1.1 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด และ 1.2 การดำเนินการของคณะกรรมการตาม (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด 2.ด้านการป้องกันและแก้ไข ประกอบด้วย 2.1 ระดับความสำเร็จของการควบคุมพื้นที่เสี่ยงในจังหวัดเพื่อป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 2.2 การสร้างสภาพแวดล้อมและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2.3 ความสำเร็จในการกำหนดเขตพื้นที่มาตรการพิเศษ และ 2.4 การสร้างความรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดแก่เด็กเยาวชนและประชาชน 3. ด้านการปราบปรามและสกัดกั้น ประกอบด้วย 3.1 การสกัดกั้นปริมาณยาเสพติด 3.2 การจับกุมปราบปราม 3.3 ผลสำเร็จการดำเนินคดี และ 3.4 การดำเนินการทางทรัพย์สิน 4. ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ประกอบด้วย 4.1 การนำผู้ต้องสงสัยว่าติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการคัดกรองเพื่อการบำบัดรักษา 4.2 อัตราผู้เสพรายใหม่ต่อจำนวนผู้เข้ารับการบำบัด 4.3 อัตราผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดและสามารถหยุดเสพได้ 4.4 จำนวนผู้เข้ารับการบำบัดที่ติดยาถึงขนาดต้องพึ่งพายาเสพติด 4.5 อัตราการกลับมาบำบัดซ้ำ 4.6 ขีดความสามารถในการให้บริการบำบัดรักษา (Capacity) 4.7 การให้การช่วยเหลือ/สงเคราะห์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม 4.8 อัตราการกระทำผิดซ้ำของผู้กระทำผิดในคดียาเสพติด 4.9 อัตราการคงอยู่ของผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูในระบบบำบัดรักษาทุกระบบ (Retention rate) และ 4.10 การลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm Reduction) โดยมีข้อเสนอแนะ คือ (1) การจัดทำตัวชี้วัดตามแนวคิด (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติดในหลายตัวจำเป็นจะต้องปรับลักษณะการรวบรวมข้อมูล เช่น ให้มีการใช้ข้อมูลย้อนหลังหลังจากคดีเสร็จสิ้นแล้วมาใช้แทนการปฏิบัติที่เกิดขึ้นในการดำเนินคดีภายในรอบปี เป็นต้น ดังนั้นการจัดทำตัวชี้วัดตามแนวคิด (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด จึงไม่สามารถนำตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติมาใช้แทนกันได้ในทุกประเด็นในตัวชี้วัดบางตัวจำเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงให้ตรงกับบริบทหรือต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบและรูปแบบการรายงาน (2) การกำหนดตัวชี้วัดเป็นการประเมินตามเป้าประสงค์ของ (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติดในภาพใหญ่เป็นหลัก ทั้งนี้หากมีการดำเนินการตามมาตรการควบคุมพิเศษก็ควรมีการวางระบบการประเมินผลการดำเนินการปลีกย่อยในแต่ละมาตรการไว้ควบคู่ด้วยและ (3) ตัวชี้วัดมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินผลการดำเนินการป้องกัน ปราบปราม บำบัดฟื้นฟู และแก้ไขปัญหายาเสพติดภายหลังจากมีการประกาศใช้และบังคับใช้กฎหมายแล้ว |
|
การสร้างตัวชี้วัด
การประเมินผล ยาเสพติด |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานกิจการยุติธรรม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/507 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|