พัฒนาระบบสอบสวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบและคดีค้ามนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559
by ณรงค์ ใจหาญ
พัฒนาระบบสอบสวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบและคดีค้ามนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 | |
Research on Development inquiry system of corruption and Human trafficking in Persons cases in order to harmonized to the process of Inquisitorial under the Act of corruption Procedure B.E. 2559 and the Act of Trafficking in Person B.E. 2559 | |
ณรงค์ ใจหาญ | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2017 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
รายงานวิจัยเรื่อง โครงการพัฒนาระบบการสอบสวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีค้ามนุษย์ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิขอบ
พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานของพนักงานสอบสวนและพนักงานไต่สวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีค้ามนุษย์ว่ามีความสอดคล้องกับกระบวนพิจารณาคดีในระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 และประการที่สอง เพื่อพัฒนาข้อเสนอหรือรูปแบบ (Model) ของระบบสอบสวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบและคดีค้ามนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือสอดรับกับวิธีพิจารณาคดีในระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 รวมถึงแนวทางที่จะส่งเสริมให้ประชาชนหรือผู้เสียหายได้รับการคุ้มครองสิทธิภายใต้ระบบไต่สวน
วิธีการศึกษา ศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ สนทนากลุ่ม และจัดสัมมนาเผยแพร่และระดมความคิดเห็น โดยศึกษากฎหมายต่างประเทศ 4 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งด้านคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีค้ามนุษย์ จำนวน 31 คน จัดสนทนากลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีค้ามนุษย์ สองครั้ง มีผู้เข้าร่วมจำนวนรวม 54 คน การสัมมนาเผยแพร่และระดมความคิดเห็น หนึ่งครั้งมีผู้เข้าร่วมจำนวน 150 คน โดยมีระยะเวลาในการศึกษาระหว่างวันที่ 15 มกราคม 2560 ถึง 14 กันยายน 2560
ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
1. การสอบสวนคดีค้ามนุษย์กับคดีอาญาทั่วไปไม่แตกต่างกัน แต่ในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐมีความแตกต่างจากคดีอาญาโดยทั่วไปเพราะเป็นการดำเนินการในระบบไต่สวน ซึ่งกรณีหลังนี้สอดคล้องกับการพิจารณาคดีของศาลไต่สวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ดังนั้น ในการสอบสวนของพนักงานสวบสวนในคดีค้ามนุษย์ซึ่งใช้การสอบสวนเหมือนกับคดีอาญาทั่วไปจึงน่าจะเป็นอุปสรรคในการรวบรวมพยานหลักฐานให้ครบถ้วนทั้งฝ่ายผู้เสียหายและผู้ต้องหาก่อนที่จะนำเสนอพยานหลักฐานทั้งหมดต่อศาล
2. ข้อสรุปจากการศึกษาภาคสนาม พบว่าในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ควรมีการกระจายอำนาจในการไต่สวนและพัฒนาองค์ความรู้ของเจ้าพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ ในคดีค้ามนุษย์ ควรมีการพัฒนาองค์ความรู้ของเจ้าพนักงานและเพิ่มอำนาจพิเศษเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
3. ข้อสรุปจากกฎหมายต่างประเทศ พบว่าในเยอรมัน ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น มีการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นสอบสวนโดยองค์กรที่ทำหน้าที่สอบสวนคดีอาญาโดยทั่วไป ไม่มีองค์กรพิเศษ แต่ในอังกฤษมีองค์กรพิเศษ เฉพาะแต่ในคดีทุจริต แต่มีและมีการประสานงานระหว่างเจ้าพนักงานในชั้นก่อนฟ้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานที่ครบถ้วนก่อนที่จะยื่นฟ้องต่อศาล โดยเฉพาะระหว่างพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ
4. ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบการสอบสวน แยกออกเป็นสองคดี ดังนี้
4.1 คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ เสนอให้มอบอำนาจการไต่สวนแก่เจ้าพนักงานไต่สวนในระดับภาค โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย และให้ดำเนินการไต่สวนในลักษณะเชิงรุก รวมถึงการให้พนักงานอัยการเข้ามามีส่วนร่วมในชั้นไต่สวนด้วยตั้งแต่ต้น
4.2 คดีค้ามนุษย์ เสนอให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานให้ครบถ้วน รวมถึงข้อมูลใดด้านความเสียหายของผู้เสียหายในสำนวนการสอบสวนด้วย พัฒนาความเข้าในในกฎหมายด้านค้ามนุษย์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการคัดแยกเหยื่อ การตรวจสอบอายุของผู้เสียหาย และการคุ้มครองพยานให้ได้รับความปลอดภัยเพิ่มขึ้น |
|
สอบสวน
ไต่สวน คดีค้ามนุษย์ คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ระบบไต่สวน inquiry inquisitorial human trafficking corruption and malfeasance case inquisitorial system |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานกิจการยุติธรรม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/553 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|