Now showing items 251-270 of 1119

    • type-icon

      กิจกรรมการส่งเสริมการรวมกลุ่มสมุนไพร (Cluster) โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs สมุนไพรเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย กลุ่มเป้าหมาย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วิสาหกิจชุมชน จำนวน 4 เครือข่าย 

      กิตติพงศ์ ไชยนอก (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      จากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สู่แนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายใน อุตสาหกรรมสมุนไพร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบทั้งสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ ภูมิปัญญาที่สั่งสมเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคและดูแลสุขภาพของตนเอง ประกอบกับเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นแนวโน้มความต้องการของโลกอนาคต ทางรัฐบาลจึงตั้งเป้าพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นเมืองสมุนไพร โดยมีนโยบายการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเป็นระบบและยั่งยืนตลอดห่วงโซ่ ให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงในด้านสุขภาพและเศรษฐกิจอย่า ...
    • type-icon

      กิจกรรมการเชื่อมโยงระบบ e-commerce และแสดงผลงานผ่านเว็บไซต์ ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ปี 2559 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      สถาบันได้ดำเนินการวิเคราะห์กลุ่มผู้ประกอบการเป้าหมาย และได้ทบทวนหลักสูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) และการเปิดและการจัดการร้านค้าผ่านเว็บไซต์ตลาดสินค้าออนไลน์ (e-market place) คือ lnwshop และ Alibaba ซึ่งเป็นเว็บไซต์ตลาดสินค้าออนไลน์ที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว ในปี 2558 เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านกระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ปี พ.ศ. 2559 รวมระยะเวลา 12 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ...
    • type-icon

      กิจกรรมการเพิ่มศักยภาพธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปสู่ Smart Factory ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เกษตรแปรรูป) 

      ธีร เจียศิริพงษ์กุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-29)

      ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ผลักดันกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปสู่ Smart Factory ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เกษตรแปรรูป) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป โดยการนำเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineering) มาใช้ในการดำเนินธุรกิจและปรับปรุงกระบวนการผลิตสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ได้อย่างเหมาะสม และเพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒน ...
    • type-icon

      กิจกรรมการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น (Value Added) พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ภายใต้โครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวประชารัฐ ประจำปีงบประมาณ 2561 

      คมน์ พันธรักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

      สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินกิจกรรมการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น (Value Added) ให้กับกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ“ปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร)” แก่วิสาหกิจชุมชนและกลุ่มเกษตรกรในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก จำนวน 150 กลุ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตร โดยการแปรรูปและพัฒนาวัตถุดิบ จากผลิตผลทางการเกษตร โดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ...
    • type-icon

      กิจกรรมติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาศูนย์ประสานงาน (Command Center) และนำร่องการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ นอร์ทเทิร์นไทยแลนด์ฟู๊ดวัลเลย์ ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-21)

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรเชิงนวัตกรรม ตลอดจนแผนงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรเชิงนวัตกรรม ตลอดจนแผนงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อสรุปผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา พื้นที่ดำเนินการ คือ จังหวัดในกลุ่มพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ...
    • type-icon

      กิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก (Thailand Food Quality to the World) ประจําปีงบประมาณ 2558 

      พีระ เจริญพร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก (Thailand Food Quality to the World) ปี 2558 มีการดำเนินงานโครงการได้แบ่งออกเป็นกิจกรรมย่อยทั้งหมด 10 กิจกรรม โดยรายงานฉบับนี้เป็นผลการดำเนินงานของกิจกรรมที่ 10 ซึ่งเป็นกระบวนการติดตามและประเมินผลกิจกรรมที่ 1 – 9 ภาพรวมการติดตามและประเมินผลโครงการ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2558 พบว่า กิจกรรมทั้งหมดทั้งหมดดำเนินการได้เสร็จสิ้นตามแผนการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว โดยมีผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของโครงการ คือ 1) ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 190 ผลการติดตามพบว่า มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ...
    • type-icon

      กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักธุรกิจบริการมืออาชีพและนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ โครงการพัฒนาศักยภาพธุรกิจบริการที่มีมูลค่าสูง ภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชนและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจำปี 2562 

      พีระ เจริญพร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-08)

      ธุรกิจบริการมีความสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายพัฒนาขีดความสามารถของธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน สร้างงาน สร้างรายได้ และการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับมอบหมายในการส่งเสริมพัฒนาผลักดันด้านการตลาดของธุรกิจบริการของประเทศ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2562 ได้จัดทำแผนพัฒนาศักยภาพธุรกิจบริการให้มีศักยภาพพร้อมยกระดับผู้ประกอบธุรกิจบริการสู่ความเป็นมืออาชีพ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) นักธุรกิจบริการมืออาชีพ (Smart Professional ...
    • type-icon

      กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยสู่ช่องทางการตลาดออนไลน์ ภายใต้โครงการพัฒนาสินค้าชุมชน Offline 2 Online (B2C) 

      ชัยวัฒน์ อุตตมากร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีความประสงค์ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทย ได้แก่ กลุ่ม OTOP กลุ่ม Organic กลุ่ม Halal กลุ่ม GI กลุ่ม Fairtrade สมาชิก Biz club ของกระทรวงพาณิชย์ และกลุ่มผู้ประกอบการที่ผ่านการพัฒนาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อเข้าสู่ช่องทางการตลาดออนไลน์ ด้วยการว่าจ้างที่ปรึกษาในการดำเนินการประเมินศักยภาพผู้ประกอบการไทย พัฒนาหลักสูตรและเนื้อหาการอบรม และดำเนินการอบรม ผู้ประกอบการในกลุ่มเป้าหมายจำนวนอย่างน้อย 1,800 ราย 45 รุ่น ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดทั่วประเทศในระยะเวลาดำเนินการ 240 วันนับถัดจากวันลงนามในสัญญา ...
    • type-icon

      กิจกรรมยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการร้านค้าส่งค้าปลีกให้สามารถแข่งขันได้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีกไทย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค ปีงบประมาณ 2563 

      วิทวัส รุ่งเรืองผล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-16)

      ธุรกิจค้าส่งค้าปลีกเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศ เพราะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ติดอันดับหนึ่งในสามของจำนวน SMEs ทั้งหมดในประเทศ รวมถึงยังเป็นเครื่องมือสำคัญของภาครัฐในการช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย ปัจจุบันพบว่าร้านค้าส่งค้าปลีกแบบดั้งเดิมต้องเผชิญกับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ การแข่งขันอย่างรุนแรงจากร้านค้าสะดวกซื้อและร้านค้าปลีกสมัยใหม่ พฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบันที่หันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น เป็นต้น ทำให้ร้านค้าส่งค้าปลีกท้องถิ่นที่มีองค์ความรู้จำกัด มีความเสี่ยงที่จะเสียเปรียบทางการแข่งขัน และอาจต้องมีการปิดตัวลง ทำให้ร้านค้าส่งค้าปลีกต้ ...
    • type-icon

      กิจกรรมวิจัยและวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment – SIA) และการประเมินมูลค่าการลงทุนเชิงสังคม (SROI) จากการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง 

      เศรษฐภูมิ บัวทอง (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-01-18)

      องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้ดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism : CBT) เพื่อพัฒนาชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นให้มีศักยภาพมากขึ้นและเกิดความยั่งยืน โดยในปี พ.ศ. 2564 อพท. มีเป้าหมายในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (SIA) และมูลค่าผลตอบแทนจากการลงทุนทางสังคม (SROI) จากการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ โดยเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากการศึกษาวิจัยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อให้เกิดการติดตามประเมินผลที่ต่อเนื่องและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดจำนวน 5 พื้นที่กรณีศึกษา ...
    • type-icon

      กิจกรรมศึกษาพฤติกรรรมผู้บริโภคอาหารไทยในประเทศเบลเยี่ยมและลักเซมเบิร์ก โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก (Thailand Food Quality to the World) ปี 2558 

      แก้วตา โรหิตรัตนะ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      จากการให้ความสำคัญของรัฐบาลในการสนับสนุนให้มีร้านอาหารไทยในต่างประเทศเพื่อเป็นศูนย์กลางการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย สถาบันอาหารและสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมีความร่วมมือในการดำเนินงาน “กิจกรรม ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารไทยในราชอาณาจักรเบลเยี่ยมและลักเซมเบิร์ก ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก” ในการศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยในการเลือก รับประทานอาหารของผู้บริโภคในราชอาณาจักรเบลเยียมและราชรัฐลักเซมเบิร์ก เพื่อเป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์ผลักดันการเติบโตของธุรกิจร้านอ ...
    • type-icon

      กิจกรรมสร้างความเข้มแข็งสมาคมการค้าตามแนวทาง Balanced Scorecard (BSC) ภายใต้โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สมาคมการค้า 

      อภิวัฒน์ มุตตามระ; Muttamara, Apiwat (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      การพัฒนาศักยภาพสมาคมการค้าเป็นอีกหนึ่งบทบาทที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายสมาคมการค้าให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการ โดยการนำแนวคิด Balanced Scorecard มาประยุกต์ใช้เป็นกรอบในการบริหาร ซึ่งประกอบด้วยมุมมอง (Perspectives) 4 ด้าน คือ มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective) มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective) มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective) การพัฒนาศักยภาพสมาคมการค้าและสร้างเครือข่ายสมาคมการค้า โดยมีการดำเนินการ ...
    • type-icon

      กิจกรรมสำรวจและประเมินการดำเนินงานของร้านอาหารไทย งานวิจัยเรื่องการศึกษาคุณค่าตราสินค้า (Brand equity) ร้านอาหารไทยในญี่ปุ่น และการวัดความภักดี ในตราสินค้า (Brand loyalty) ต่อการใช้บริการร้านอาหารไทยแบบบริการเต็มรูปแบบ ภายใต้โครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คุณค่าอาหารของไทย (Thailand Food Forward) 

      แก้วตา โรหิตรัตนะ; ธนวัต ลิมป์พาณิชย์กุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการการศึกษาคุณค่าตราสินค้า ร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นและการวัดความภักดีในตราสินค้าต่อการใช้บริการร้านอาหารไทยแบบบริการเต็มรูปแบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดคุณค่าตราสินค้าร้านอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่นศึกษาการรับรู้ทัศนคติ และปัจจัยส่วนบุคลของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นที่มีผลต่อการใช้บริการร้านอาหารไทย และเสนอแนะกลยุทธ์การส่งเสริมร้านอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงแนวทางการปรับปรุงการให้บริการของร้านอาหารไทย โดยมีขอบเขตงานวิจัย คือ พื้นที่เมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด โดยมีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากการเก็บแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพ จากการศึกษา พบว่า ประเทศญี่ปุ่นมี ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs เข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าระดับโลก (Global Value Chain) ด้วยแพลทฟอร์ม T-GoodTech ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 

      มานิต สาธิตสมิตพงษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs เข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าระดับโลก (Global Value Chain) ด้วยแพลทฟอร์ม T-GoodTech ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพิ่มช่องทางการค้าและการจับคู่ทางธุรกิจผ่านช่องทางเว็บไซต์ T-GoodTech เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มช่องทางการตลาด โดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือระบบ IT มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงวิสาหกิจสู่ห่วงโซ่อุปทานระดับสากลต่อไป ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs ใช้ Social Media เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบ Digital ปีงบประมาณ 2560 

      มานิต สาธิตสมิตพงษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      โครงการส่งเสริม SMEs ใช้ Social Media เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ SMEs ได้มีความรู้ความเข้าใจในการนำ Social Media มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการประยุกต์ใช้ในกิจการ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาดให้เพิ่มมากขึ้น 2) เพื่อให้มี Success Case ในการประยุกต์ใช้ Social Media ในธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาด เผยแพร่ออกสู่สาธารณะเพื่อเป็นต้นแบบการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี โดยได้แบ่งหลักสูตรการถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเป็น 2 หลักสูตรดังนี้ หลักสูตรที่ 1. การถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึ ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs ใช้ระบบ ERP by DIP ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบ Digital 

      สุวรรณ จันทิวาสารกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      กิจกรรม “ส่งเสริม SMEs ใช้ระบบ ERP by DIP” ซึ่งได้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 บรรลุวัตถุประสงค์การดำเนินการ เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อ SMEs ร่วมโครงการ 40 กิจการ จากนำระบบ ERP by DIP ไปใช้งานสามารถช่วยลดต้นการประกอบการเป็นมูลค่าต่อปีถึง 13,241,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 19.70 เพิ่มยอดขายหรือเพิ่มกำไรเป็นมูลค่าต่อปีถึง 28,480,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 16.65 ลดขั้นตอนการทำงานในกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญลงร้อยละ 32.81 ลดเวลาที่ใช้ในการทำงานในกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญลงร้อยละ 31.61 และทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มถึง 3,194,000 บาท สรุปผลความคุ้มค่าของโครงการเป็นอัตราส่วน ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs ใช้ระบบ ERP by DIP และพัฒนาศักยภาพด้วยระบบรายงานผู้บริหาร (BI) ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบ Digital ปีงบประมาณ 2559 

      จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการพัฒนาส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ SME ด้วย ERP by DIP และด้วยระบบรายงานผู้บริหารมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม SMEs ใช้ระบบ ERP by DIP ซึ่งเป็นระบบ ERP ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ย่อขนาดจากระบบ ERP ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน แต่สามารถใช้งานที่เพียงพอต่อความต้องการของ SMEs ขนาดเล็ก (มีข้อจำกัดในการใช้งานในระดับหนึ่ง) และระบบรายงานผู้บริหาร (BI) ที่จะสามารถช่วยธุรกิจในการวิเคราะห์และการวางแผนธุรกิจของผู้บริหารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารและจัดการ โดยเป็นการให้บริการผ่าน Cloud Computing ซึ่ง SMEs สามารถใช้งานซอฟต์แวร์โดยไม่ต้องติดตั้งระบบเซิร์ฟเวอร์ ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบรายงานผู้บริหาร (BI) ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบ Digital ปีงบประมาณ 2560 

      จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ตามนโยบายของรัฐบาลได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โดยมุ่งการวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลให้เริ่มขับเคลื่อนได้อย่าง จริงจังซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ซึ่งหมายรวมถึง การผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัลโดยตรงทั้งฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์อุปกรณ์สื่อสารดิจิทัลอุปกรณ์โทรคมนาคม ดิจิทัลและการใช้ดิจิทัลรองรับการให้บริการของภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจบริการอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างการ ใช้ดิจิทัลรองรับการบริหารจัดการการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรร ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพของ SMEs ด้วยระบบ Visualize ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 

      จักร ชวนอาษา (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

      จากนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในประเทศไทยตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ซึ่งเป็นการประสานความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตเข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นเพื่อให้สอดรับกับประเทศไทย 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนพัฒนา SMEs ให้เข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(DIP e-learning for e-commerce) หลักสูตร e-commerce ในระบบ e-learning 

      ศราวุธ แรมจันทร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

      กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้พัฒนาอีเลิร์นนิงแพลตฟอร์มขึ้นมาส่งเสริมทักษะทางธุรกิจของภาคเอกชน ดังนั้นโครงการนี้จึงได้ทำการพัฒนาเนื้อหาเกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าสู่ระบบการเรียนรู้ดิจิทัลได้ หลังจากที่โครงการเสร็จสมบูรณ์ มีประชาชนจำนวน 345 รายซึ่งลงทะเบียนเป็นนักเรียนของระบบการเรียนรู้ดิจิทัล โดยส่วนมากนักศึกษามาจากภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทยสอดคล้องกับจำนวนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย โดยร้อยละ 17.41 ของนักเรียนสามารถนำทักษะเกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจ ...